การดูแลและการทำความสะอาดเสื้อผ้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เสื้อผ้าสะอาดมองดูใหม่อยู่เสมอ และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยใช้น้ำและสารซักฟอกเพื่อขจัดเหงื่อไคล ฝุ่นละอองหรือคราบอื่นๆที่เปื้อนเสื้อผ้า นอกจากนั้น การจัดเก็บเสื้อผ้าอย่างเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่ จะช่วยให้เกิดความสะดวกเมื่อต้องการสวมใส่ เสื้อผ้าที่สะอาดมีส่วนช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้แก่ผู้สวมใส่ ดังนั้น จึงควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกวิธี
๑.การดูแลเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจะใช้ได้ทนทานและอยู่ในสภาพดีนั้น ผู้สวมใส่จะต้องรู้จักดูแลรักษาให้ถูกวิธีตามหลักการ ดังนี้
๑.ขณะสวมเสื้อผ้าต้องระมัดระวังไม่ให้เปรอะเปื้อนและการถูกของแหลมคมเกี่ยว
๒.เมื่อถอดเสื้อควรแขวนไว้กับไม้แขวนเสื้อ ไม่ควรแขวนไว้บนตะขอหรือตะปูเพราะจะทำให้เสื้อเสียรูปทรงและฉีกขาดได้ง่าย แต่ถ้าเป็นเสื้อกันหนาวไม่ควรแขวนทิ้งไว้ เพราะว่าจะทำให้เสื้อยืดเสียรูปทรง
๓.ในกระเป๋าเสื้อ ไม่ควรใส่ของที่หนักมาก เพราะจะทำให้กระเป๋าเสื้อเสียรูปทรงและฉีกขาดเร็ว
๔.เมื่อถอดเสื้อผ้าออกจากตัว ควรตรวจดูรอบเปื้อน ถ้าเสื้อถูกรอยเปื้อนให้รีบขจัดรอยเปื้อนในทันที เพราะว่ารอยเปื้อนใหม่จะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าปล่อยทิ้งไว้นาน
๕.หากพบว่าเสื้อผ้ามีส่วนที่ชำรุด ก่อนการนำไปทำความสะอาดควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน
๖.เมื่อประกอบอาหารหรือทำกิจกรรมอื่นๆที่อาจทำให้เสื้อผ้าเปื้อน ควรสวมผ้ากันเปื้อนทุกครั้ง
๗.ก่อนการซักผ้าให้แยกผ้าสีและผ้าขาว เพราะว่าผ้าแต่ล่ะชนิดมีคุณสมบัติต่างกัน ดังนั้นจึงควรแยกผ้าดังนี้
- ผ้าสีประเภทใยธรรมชาติ
- ผ้าสีประเภทใยสังเคราะห์
- ผ้าขาวประเภทใยธรรมชาติ
- ผ้าขาวประเภทใยสังเคราะห์
๘.เสื้อผ้าที่สวมแล้วและเปียกเหงื่อ ควรแขวนไว้ให้หมดเหงื่อ ดีกว่าการนำผ้าที่ใช้แล้วถอดใส่ตระกล้าทันที เพราะจะทำให้มีกลิ่นอับชื้นจากเหงื่อ ควรนำเสื้อผ้าที่ใช้แล้วแขวนในที่ที่ลมโกรก หรือแขวนผึ่งไว้ในที่อากาศปลอดโปร่งเพื่อให้เหงื่อแห้ง
๙.ถุงเท้าเมื่อสวมใส่แล้วต้องทำความสะอาดทุกครั้ง ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะมีกลิ่น ไม่ควรสวมใส่ซ้ำ เพราะว่าจะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้
๑๐.เครื่องประกอบการแต่งกายควรทำความสะอาดอยู่เสมอ เช่นหมั่นซักรองเท้าผ้าใบ รองเท้าหนังควรเช็ดและขัดให้สะอาดสวยงาม เมื่อชำรุดต้องรีบซ่อมแซมเช่นเดียวกัน เพราะรองเท้าที่ชำรุดจะไม่เหมาะกับเสื้อผ้าที่สวยงาม เป็นต้น
๒.การทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
วิธีการทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจะสวยงามคงสภาพได้ยาวนานถ้าเรารู้จักดูแลรักษา รู้จักใช้วัสดุเพื่อการซักฟอกอย่างถูกวิธี ดังนี้
๒.๑.ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลรักษาเสื้อผ้า
ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดมีหลายชนิด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาซักฟอก สารฟอกขาว น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีมากมายหลายยี่ห้อ เมื่อเลือกใช้ควรศึกษาคำอธิบายจากฉลากข้างกล่องให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น ซึ่งในบางครั้งต้องทดลองใช้จึงจะสามารถวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภันฑ์นั้นๆได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ซักฟอกที่นิยมใช้ มีดังนี้
๑).สารซักฟอก สารซักฟอกที่เป็นทั้งผงและเป็นน้ำ ได้แก่ ผงซักฟอกและน้ำยาซักฟอก ใช้สำหรับซักผ้าหรือทำความสะอาดอื่นๆ มีขายอยู่ทั่วไปทั้งชนิดเป็นผงและเป็นน้ำ ก่อนการเลือกใช้ควรศึกษาฉลากข้างกล่องก่อน และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากนั้นอย่างเคร่งครัด เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน และช่วยให้เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่ทำความสะอาดคงสภาพเดิมไม่เสียหาย
๒).สารปรับผ้านุ่ม สารปรับผ้านุ่มเป็นสารที่มีส่วนผสมของน้ำมันช่วยเคลือบผืนผ้า ลดความกระด้างของผ้า และช่วยลดการดูดซึมของน้ำ ควรใช้เมื่อจำเป็นหรือนานๆครั้งหรือหลังจากการซักทุก๒-๓ครั้ง
๓).สารฆ่าเชื้อโรค นิยมนำมาทำความสะอาดเสื้อผ้า เช่น น้ำมันสน สารฟอกขาว คลอรีน นิยมใช้ซักผ้าในห้องน้ำ ซักผ้าผู้ป่วยเป็นต้น
๔).สารเพิ่มความขาวและสดใสของผ้า สารเพิ่มความสดใสของผ้าในสารซักฟอกส่วนมากจะใส่สารนี้ไว้ แต่ถ้าเป็นผ้าที่เราต้องการให้ดูสดใสยิ่งขึ้น ให้ใช้ครามซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มความสดใสของผ้าขาวและมีขายอยู่ทั่วไป โดยนำครามไปผสมกับน้ำสุดท้ายเวลาซัก
๕).สารตกแต่งผ้าให้แข็ง นิยมใช้กับผ้าที่ต้องการความคงรูป เช่นผ้าฝ้าย ผ้าไหม โดยการลงแป้งหรือเยลลี่หลังการซักผ้าน้ำสุดท้าย หรืออาจใช้แป้งสเปรย์สำเร็จรูปฉีดก่อนการรีดผ้า เมื่อรีดเสร็จแล้วนำผ้ามาฉีดด้วยสเปรย์จะแข็งเรียบ สวยงาม เหมือนผ้าที่ลงแป้ง
๖)สารกำจัดร้อยเปื้อน สำหรับสารกำจัดรอยเปื้อนนั้น ไม่มีสารชนิดใดที่สามารถกำจัดรอยเปื้อนได้ทุกชนิด และสารบางชนิดจะทำลายเนื้อผ้า เช่น สารประเภทกรด จะทำลายผ้าที่ท้อจากใยพืช ดังนั้น ในการใช้สารกำจัดรอยเปื้อน ควรรู้จักคุณสมบัติของสารชนิดนั้นเพื่อการเลือกใช้อย่างเหมาะสม
๑.ด่างและกรด เป็นสารกำจัดร้อยเปื้อนที่ควรนำมาใช้ในเฉพาะที่ เป็นสารละลายอย่างอ่อน เช่น น้ำส้มสายชู ด่างอย่างอ่อน เช่น โซดาไบคาร์บอเนต แอมโมเนีย ซึ่งในการทำความสะอาดด้วยกรดและด่างนั้น เมือทำความสะอาดเสร็จแล้วจะต้องนำผ้าไปซักให้สะอาดทุกครั้ง
๒.สารฟอกขาว สารฟอกขาวที่นำมากำจัดรอยเปื้อนมีอยู่หลายชนิด เวลาใช้ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้สารเหล่านี้ทำลายเนื้อผ้า สารฟอกขาวที่ใช้กำจัดรอยเปื้อน มีดังนี้
(๑) สารฟอกขาวคลอรีน หรือโซเดียมไฮเปอร์คลอไรค์ เป็นสารฟอกขาวที่ใช้กันทั่วไปมักใช้กับผ้าฝ้าย ลินิน ไม่ควรใช้กับผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ เมื่อใช้อย่าทิ้งไว้นาน ควรรีบล้างออกด้วยน้ำแล้วหยดกรดออกซาลิกลงไปที่รอยเปื้อน เพื่อทำให้คลอรีนซึ่งเป็นด่างเกิดความเป็นกลางก่อนนำผ้าไปซักทั้งคืน
(๒) โซเดียมเปอร์บอเรตและกรดออกซาลิก เป็นสารที่ใช้กำจัดรอยเปื้อนของสนิมเหล็กและหมึกได้ดี สารฟอกขาวชนิดนี้จัดว่ามีอันตรายน้อยที่สุด แต่ต้องระวังการทำปฎิกิริยากับสีย้อมผ้า และไม่ควรใช้กรดออกซาลิกกับผ้าไหม
(๓) โซเดียมไฮโดรซัลไฟล์ เป็นสารกำจัดรอยเปื้อนของรา หมึก สนิมเหล็ก น้ำผลไม้สีโดยใช้โซเดียมไฮโดรซัลไฟล์ ๑ ช้อนชา ผสมกับน้ำ ๑แก้ว แล้วให้รีบล้างออก และไม่ควรใช้สารนี้กับผ้าไหม
(๔) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นสารฟอกขาวชนิดอ่อน และสารนี้จะใช้ได้ดีเมื้อใช้แอมโมเนียผสม สามารถใช้ได้กับผ้าทุกชนิด
๓.สารละลาย สารกำจัดรอยเปื้อนประเภทสารละลาย ได้แก่ น้ำมันสน เบนซิน อีเทอร์ โรเอทีลีน และแอลกอฮอล์ ใช้สำหรับกำจัดรอยเปื้อนประเภทที่มีส่วนผสมของน้ำมันและไขมันเวลาใช้ควรใช้สำลีชุบและทดลองเช็ดด้านในของผ้าก่อน เช่น ตะเข็บ แนว พับ เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อผ้าจึงค่อยทำการเช็ดรอยเปื้อนนั้น
๒.๒ วิธีการกำจัดรอยเปื้อน
การกำจัดรอยเปื้อนเป็นการทำผ้าให้สะอาดโดยเฉพาะผ้าที่สกปรกหรือเปื้อนเฉพาะที่ให้สะอาดก่อนการซัก สำหรับการลบรอยเปื้อนควรพิจราณาว่ารอยเปื้อนนั้นเป็นรอยเปื้อนที่เกิดจากอะไรและควรเลือกใช้สารให้ถูกต้องตามชนิดของรอยเปื้อนนั้นๆ นอกจากนี้ การลบรอยเปื้อนนั้นควรคำนึงถึงชนิดของผ้าเพราะว่าเสื้อผ้าบางชนิดเมื่อถูกสารเคมี อาจทำให้เนื้อผ้าเสียหายหรือขาดได้ ในขั้นแรกควรทดสอบกับผ้าส่วนที่อยู่ด้านในก่อน เช่น ตะเข็บ รอยพับ เมื่อแน่ใจว่าสารลบรอยเปื้อนที่ใช้ไม่ทำให้ผ้าเสียหาย จงลงมือปฏิบัติลบรอยเปื้อนนั้น โดยการทำอย่างเบาๆ และใช้สารอย่างเจือจางหลายครั้งดีกว่าการทำครั้งเดียว และควรทำอย่างระมัดระวัง รอยเปื้อนที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน มีดังนี้
๑) รอยเปื้อนหมึกดำ ถ้าเป็นรอยเปื้อนใหม่ๆ ให้ขยี้ในน้ำผสมสารซักฟอก ถ้ายังมีรอยเปื้อนตกค้างอยู่ให้ใช้กรดออกซาลิกผสมน้ำ หรือใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยแช่เฉพาะส่วนที่เปื้อน บีบมะนาวลงไปให้ชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ ๒ นาที และนำไปผึ่งแดดประมาณ ๓ ชั่วโมง แล้วจึงนำไปซักตามวิธีปกติ
๒) รอยเปื้อนลิปสติก เช็ดด้วยคาร์บอนเตตราคลอไรด์ โดยกลับเอาด้านในออกด้านล่างรองด้วยผ้าฝ้ายซึมน้ำได้ดี และเช็ดทางด้านผิด แล้วนำไปซัก ด้วยน้ำร้อนผสมผงซักฟอก
๓) รอยเปื้อนชา กาแฟ ถ้ารอยเปื้อนยังไม่แห้ง ให้นำแป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งฝุ่นโรยลงบนรอยเปื้อน เพื่อให้แป้งดูดซับรอยเปื้อนและทิ้งไว้ให้แห้ง ใช้แป้งปัดแป้งออกแล้วนำไปซักด้วยสารซักฟอกตามปกติหรือถ้าเป็นผ้าไหมหรือขนสัตว์ ให้เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ก็ได้
๔) รอยเปื้อนเลือด ถ้าเป็นผ้าฝ้ายหรือลินินให้แช่น้ำ และใช้แอมโมเนียเจือจางเช็ดแล้วนำไปซัก หรือใช้แป้งมันผสมน้ำให้เข้มเหมือนแป้งเปียก ทาตรงส่วนรอยเปื้อน ทิ้งไว้ประมาณ ๔ ชั่วโมง แป้งมันจะทำหน้าที่ดูดซับรอบเปื้อน และนำไปซักตามปกติ
๕) รอยเปื้อนหมากฝรั่ง ให้ใช้น้ำแข็งถูให้หมากฝรั่งจับตัว และใช้สันมีดขูดออก แล้วเช็ดด้วยสารละลายเปอร์คลอโรเอทิลีนหรือคาร์บอนเตตราคลอไรด์ หรือสารละลายอื่น
๖) รอยเปื้อนน้ำผลไม้ กำจัดรอยเปื้อนด้วยสารฟอกขาวไฮเปอร์คลอไรด์หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือแช่ในน้ำร้อนแล้วซักด้วยสารซักฟอกตามปกติ
๗) รอยเปื้อนน้ำมัน เช็ดออกด้วยเปอร์คลอโรเอทิลีนและซักในน้ำสบู่ หรือสารละลายอื่น หรือใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าฝ้ายที่ดูดซึมน้ำได้ดีรองด้านล่าง แล้วเทคาร์บอนเตตราคลอไรด์ลงไปที่รอยเปื้อนแล้วเช็ดด้วยสำลีหรือผ้าแห้ง และนำไปซักกับน้ำอุ่นที่ผมสารซักฟอก
๘) รอยเปื้อนไอศกครีม ให้เช็ดออกด้วยแอลกอฮอล์หรือต้มในน้ำผสมสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟต หรือนำไปซักในน้ำอุ่นผสมด้วยผงซักฟอก ถ้ายังเช็ดไม่หมดให้ใช้คาร์บอนเตตราคลอไรด์
๙) รา ใช้ผงชอล์กละลายน้ำทิ้งไว้ แล้วนำไปซักโดยวิธีปกติ หรือเช็ดออกด้วยสารฟอกขาวไฮเปอร์คลอไรด์
๑๐) นม ครีม เช็ดออกด้วยสารฟอกขาวไฮเปอร์คลอไรด์ และซักในน้ำอุ่นผสมสารซักฟอก
๑๑) ยางผลไม้ ให้ใช้สารส้มถูบริเวณรอยเปื้อน และนำไปซักด้วยสารซักฟอก
๒.๓) การซักผ้า
การซักเป็นการทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้า สำหรับการซักผ้าให้ถูกวิธีควรปฎิบัติตามดังนี้
๑. ก่อนการซักผ้า ให้ล้วงกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกงทุกตัว หากมีวัตถุสิ่งของตกค้างอยู่ให้เอาออกจากกระเป๋า หากมีเสื้อที่ชำรุดให้แยกออก และทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนนำไปซัก
๒. แยกผ้าขาว ผ้าสี ออกจากกัน เสื้อเด็กและเสื้อผู้ใหญ่ควรแยกซัก เพราะเสื้อเด็กสกปรกมากกว่าเสื้อผู้ใหญ่
๓. นำน้ำเปล่าผสมสารซักฟอกอย่างอ่อนใส่กะละมัง แช่ผ้าทิ้งไว้ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที โดยแยกระหว่างผ้าสีและผ้าขาว เพื่อให้น้ำผสมสารซักฟอกซึมเข้าไปในเนื้อผ้าและใยผ้าคายความสกปรกออกมา ในการแช่ผ้าไม่ควรนำกางเกงใน ถุงเท้า แช่ปนกับเสื้อ
๔. ขยี้หรือแปรงเสื้อผ้าให้ทั่ว ส่วนที่สกปรกมากได้แก่ ปกเสื้อ ส่วนพับปลายแขน ขอบกางเกง ปากกระเป๋าให้แปรงขยี้จนสะอาด
๕. บีบผ้าเอาน้ำสารซักฟอกออกมาควรบิดผ้าแรงๆ
๖. ซักผ้าที่แปรงแล้ว ๓-๔ ครั้ง จนหมดน้ำสารซักฟอก
ในปัจจุบันการซักผ้าสามารถทำได้ ๒ วิธี คือ ซักด้วยมือและซักด้วยเครื่องซักผ้า โดยมีวิธีการซักที่แตกต่างกันดังนี้
๑)การซักผ้าด้วยมือ เป็นการซักผ้าที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม เป็นวิธีซักผ้าที่ต้องออกแรงขยี้หรือแปรงผ้าที่ซัก เหมาะสำหรับผ้าที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษหรือผ้าที่สกปรกมาก แต่วิธีนี้ใช้เวลา แรงงานมากกว่าซักด้วยเครื่องซักผ้าซึ่งข้อดีของการซักผ้าด้วยมือ คือ สามารถทำความสะอาดเฉพาะส่วนได้ดี สำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซักผ้าโดยทั่วไปแล้วในการซักผ้าด้วมือจะใช้เครื่องมืออุปกรณ์ดังนี้
๑.ถังหรืออ่างสำหรับแช่และซักผ้าอย่างน้อย ๒ ใบ
๒.แปรงซักผ้า ใช้แปรงผ้าในส่วนที่สกปรกมาก เช่น ปกเสื้อ ขอบแขน เป็นต้น
๓.กระดานแปรงผ้า ให้ใช้คู่กับแปรงสำหรับรองผ้าขณะแปรงผ้า
๔.สารซักฟอก ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ และสารฟอกขาวใช้ซักผ้าโดยสารฟอกขาวจะใช้ในกรณีซักผ้าขาว หรือผ้าสกปรกที่ต้องการฟอกเฉพาะส่วน
๕.สารแต่งผ้า ได้แก่ คราม แป้งลงผ้า เยลลี่
- คราม ใช้สำหรับแต่งสีผ้าขาวให้สดใส ทำได้โดยนำครามละลายกับน้ำ และนำผ้าที่ซักสะอาดแล้วไปแช่และขยำในน้ำครามให้ทั่ว บิดและนำไปตาก
- แป้งลงผ้า ใช้สำหรับลงผ้าให้มีความคงรูป ใช้ได้ทั้งผ้าสีและผ้าขาวโดยทั่วไปแล้วจะใช้กับผ้าฝ้าย ผ้าไหม โดยใช้แป้งมันสำปะหลังต้มกับน้ำ พอน้ำแป้งสุกจะมีลักษณะข้นใส และก่อนที่จะนำไปลงผ้าควรกรองน้ำแป้งด้วยผ้าขาวบาง เพื่อนำเศษฝุ่นละอองและแป้งที่จับเป็นลูกออกจากน้ำแป้ง น้ำแป้งไม่ควรให้ข้นมาก พอแป้งสุกให้นำมาผสมน้ำคนให้ทั่ว แล้วนำผ้าลงแช่ให้ทั่ว จึงบิดและนำไปตาก
- เยลลี่ลงผ้า ใช้สำหรับตกแต่งผ้าให้คงรูปเช่นกัน มีขายอยู่ทั่วไปมีบักลักษณะเป็นแผ่นบางเป็นเส้น วิธีการแต่งผ้าให้นำไปต้มผสมกับน้ำและกรองเช่นเดียวกับแป้งลงผ้า
๒) การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าในปัจจุบันนิยมกันมาก เพราะว่าช่วยประหยัดเวลาและพลังงาน มีอยู่หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับผ้าที่ไม่พิถีพิถันในการซักหรือผ้าที่สกปรกมาก แต่ถ้าต้องการซักผ้าที่สกปรกมากให้สะอาด ก่อนการใช้เครื่องซักผ้าควรแปรงหรือขยี้ผ้าด้วยมือ หรือทาด้วยน้ำยาขจัดรอยเปื้อน เฉพาะส่วนที่สกปรกมาก เช่น ปก ปลายแขน เป็นต้น การใช้เครื่องซักผ้าต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาด และจะต้องปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อยืดอายุการใช้งานของเสื้อผ้าได้ยาวนาน สำหรับวิธีการในการซักผ้าควรปฎิบัติดังนี้
๑. ก่อนการซักผ้า ให้ตรวจดูกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกงทุกตัว หากมีวัตถุสิ่งของตกค้างอยู่ให้เอาออก
๒. กลับเสื้อผ้าทุกตัวโดยเอาด้านในออกก่อนการซักผ้า
๓. เพื่อให้ผ้าสะอาดอย่างทั่วถึงควรทำความสะอาดด้วยมือ หรือผสมสารซักฟอกเฉพาะที่ก่อนการซักด้วยเครื่อง เช่น ปกเสื้อ ขอบปลายแขนเสื้อ เป็นต้น
๔. นำผ้าใส่ลงในเครื่องซักผ้าตามขนาดละความจุ หรือน้ำหนักที่บอกรายละเอียดไว้
๕. นำสารซักฟอกและสารอื่นๆ ใส่ในเครื่องซักผ้า ตามข้อแนะนำของเครื่องซักผ้าแต่ละชนิด
๖. เพื่อให้เสื้อผ้าสะอาดยิ่งขึ้น ควรแช่ผ้าทิ้งไว้ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที เช่นเดียวกันกับการซักด้วยมือ
๗. ตั้งรายการซักผ้าตามคำแนะนำของเครื่องซักผ้า
๘. เมื่อซักเสร็จแล้ว ให้นำผ้าออกจากเครื่องซักผ้า
๓)การซักผ้าขาว ในการซักผ้าขาวควรแยกซักแบบผ้าสีเพราะว่าถ้าซักรวมกันกับผ้าสีจะทำให้ผ้าขาวสีหมองคล้ำ หรือมีสีด่างดำจากสีของผ้าสีได้ ซึ่งในการซักควรปฎิบัติดังนี้
๑. นำน้ำเปล่าหรือน้ำผสมผงซักฟอกอ่อนๆใส่กะละมัง แช่ทิ้งไว้ประมาณ๑๕-๒๐ นาที
๒. ศึกษาคุณสมบัติของผ้าก่อนทำการซัก ผ้าบางชนิดผสมใยสังเคราะห์ เมื่อถูกสารฟอกขาวจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ผ้าบางชนิดเมื่อขยี้แรงๆหรือถูไปมาแรงๆเนื้อผ้าจะเสียรูปทรงดังนั้น ควรทดลองโดยใส่เศษผ้าหรือหากไม่มีก็ทดลองโดยใช้เสื้อผ้าส่วนที่มองเห็นไม่ชัดเจนเมื่อสวมใส่เช่นใต้วงแขน สาบเสื้อด้านใน เป็นต้น
๓. สำหรับเสื้อผ้าที่สามารถแปรงได้ ให้ใช้แปรงเบาๆหลายครั้งในส่วนที่สกปรกมากให้ทั่ว ถ้าเป็นเสื้อเชิ้ตผู้ชายควรใช้วิธีแปรง ถ้าใช้วิธีขยี้จะทำให้ปกเสื้อเสียรูปทรง และในการแปรงผ้าถ้าแปรงแรงมากจะทำให้ผ้าขาดง่ายและเสียรูปทรง ส่วนผ้าที่เนื้อบางให้ใช้วิธีขยำ ถ้าจำเป็นต้องขยี้จะต้องขยี้ให้เบามือที่สุด
๔. เมื่อซักสะอาดโดยการซักให้หมดสารซักฟอกแล้ว จึงลงสารแต่งผ้าตามต้องการและนำไปตากแดดโดยกลับเอาด้านในออก
๔)การซักผ้าสี ควรปฏิบัติดังนี้
๑. เพื่อป้องกันสีตกและทำให้ผ้ามีสีสดใสขึ้น ให้นำน้ำเปล่าผสมเกลือ คนให้เกลือละลาย และนำผ้าลงแช่ประมาณ๑ชั่วโมงโดยใช้น้ำประมาณ๔ลิตร ต่อเกลือ๑ช้อนโต๊ะ
๒. นำผ้าไปแช่ในน้ำผสมสารซักฟอกอ่อนๆในกะละมัง แช่ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที
๓. ซักวิธีเดียวกันกับการซักผ้าขาว แต่ไม่ต้องลงคราม ส่วนการตกแต่งผ้าให้แข็งก็สามารถทำได้ตามต้องการ
๔. การตากผ้าสี ไม่ควรตากแดดจัด เพราะจะทำให้ผ้าสีซีดเร็ว ควรตากในที่ลมโกรกหรือที่มีแดดรำไร และกลับเอาผ้าด้านในออกเช่นเดียวกัน
๓. แขวนเสื้อผ้าหรือกางเกงที่ต้องการ และใช้มือจัดรูปทรงดึงผ้าตึงเบาๆ เพื่อให้มีรอยยับน้อยที่สุดซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาในการรีด ส่วนผ้าที่ซักด้วยเครื่องซักผ้าเมื่อซักเสร็จแล้ว สามารถนำไปตากได้ทันที โดยผ้าจะมีลักษณะหมาดๆไม่อุ้มน้ำ เพราะว่าผ่านกรรมวิธีเอาน้ำออกจากผ้ามาแล้ว
๔. เสื้อผ้าที่เป็นผ้าสี ควรตากในที่ล่มโกรก หรือแดดรำไร ไม่ควรตากแดดจัดเพราะว่าจะทำให้สีของผ้าเสื่อมสภาพ
๕. การตากเสื้อยืด ถุงน่อง ไม่ควรตากโดยวิธีแขวน สำหรับเสื้อยืดควรวางพาดบนราวหลายเส้นเพราะว่าจะทำให้เสื้อไม่เสียรูปทรง
๖.การตากผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัว ควรตากแดดและให้มีลมโกรก โดยวางพาดบนราวตากผ้าและให้ใช้ไม้หนีบไว้เพื่อกันการตกพื้น ซึ่งจะทำให้ผ้าไม่เหม็นอับชื้นและปราศจากเชื้อรา
๗.รองเท้าผ้าใบสีขาว เพื่อป้องกันรอยด่างที่จะเกิดบนรองท้า เมื่อซักเสร็จแล้วก่อนตากควรนำกระดาษชำระสีขาววางปิดบนรองเท้า
๓.๒ การอบผ้า
การอบผ้าเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้ผ้าแห้งด้วยเครื่องอบไฟฟ้า แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในครัวเรือน โดยทั่วไปจะมีไว้บริการตามร้านซักอบรีดในโรงแรมและพยาบาล เป็นต้น
๔ การรีดผ้า
การรีดผ้าเป็นการทำผ้าให้เรียบโดยใช้ความร้อนจากเตารีด โดยทั่วไป มี ๒ วิธี คือ การรีดทับ ซึ่งเป็นวิธีการรีดโดยใช้เตารีดยกทับผ้าที่ละส่วน วิธีการนี้จะทำให้ผ้าเรียบ เหมาะสำหรับผ้าที่พิถีพิถันและเสียรูปทรงได้ง่าย ส่วนวิธีไถ เป็นวิธีรีดผ้าโดยใช้มือไถไปมาส่วนบริเวณที่ต้องการรีด วิธีนี้จะทำให้รีดได้รวดเร็ว ถ้ารีดด้วยไฟแรงหรือรีดแรงๆ พื้นผิวของผ้าอาจเสียหายหรือเกิดรอยตำหนิได้ หรือทำให้ผ้าเป็นมันเฉพาะส่วนที่เป็นรอยพับ เช่น ปลายแขน ชายกระโปรง เป็นต้น
การรีดผ้าให้เรียบและมีอายุการใช้งานยาวนาน ควรยึดหลักการดังนี้
๑. ในการรีดผ้า ควรรีดผ้าที่มีความชื้น ซึ่งจะทำให้ผ้าที่เรียบกว่าการรีดผ้าแห้ง เพราะว่าความชื้นจะทำให้เส้นใยอ่อนตัว เมื่อถูกความร้อนจึงทำให้ผ้าเรียบ
๒. เตรียมผ้าให้พร้อม เสื้อผ้าใดที่ต้องพรมน้ำก่อนการรีดให้พรมน้ำและม้วนไว้ เพื่อจะได้สะดวกในการรีด และไม่เสียเวลาขณะการรีดผ้า
๓. เตรียมอุปกรณ์ในการรีดผ้าให้พร้อม เช่น ไม้แขวนสำหรับแขวนเสื้อที่รีดแล้ว ที่รองแขนเสื้อ กระบอกฉีดน้ำ สเปรย์เพิ่มความแข็งของผ้าเป็นต้น
๔. เมื่อเสียบเตาไฟฟ้าใหม่ๆ อุณหภูมิเตรีดยังไม่ร้อนมาก เราสามารถรีดผ้าบางๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้าก่อนได้ เป็นต้น
๕. อย่าวางเตารีดที่มีความร้อนทิ้งไว้บนผ้ารองรีด หรือบนเสื้อที่กำลังรีด เพราะจะทำให้ผ้าเกิดรอยไหม้ได้
๖. ก่อนการีดผ้าควรปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับชนิดของผ้า เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าลินิน ซึ่งมีเนื้อหนาปานกลางให้รีดด้วยความร้อนปานกลาง หรือผ้าใยสังเคราะห์ควรรีดด้วยความร้อนต่ำ เป็นต้น
๗. ในการรีดผ้าสีควรรีดด้านใน เพื่อป้องกันสีซีดหรือเก่าเร็ว ผ้าชนิดใดที่รีดด้านในแล้วผ้านั้นเรียบถึงด้านนอกก็ควรรีดด้านใน เพราะจะทำให้เนื้อผ้าไม่สึกหรอ สีผ้าไม่ซีดเร็ว ผ้าบางชนิดเมื่อรีดด้านนอกบ่อยๆความร้อนจากเตารีดจะทำให้เกิดความมันเป็นแนวตามรอยตะเข็บ มองดูแล้วไม่สวยงาม
๘. ก่อนการรีดผ้าขนสัตว์ ผ้าสักราด หรือเสื้อที่ทำด้วยไหมพรม ควรใช้ผ้าขาวปิดทับ เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าสาลู ถ้าใช้เตาไฟฟ้าแบบธรรมดาที่ไม่ใช้เตารีดไอน้ำ ให้ชุบผ้าขาวที่บิดหมาดปิดทับด้านบนแล้วใช้เตารีดที่มีควมร้อนรีดโดยวิธีกดทับ ถ้ารีดโดยวิธีไถไปมาจะทำให้ผ้าเสียรูปทรง แต่ถ้าเป็นเตารีดไอน้ำให้ใช้ผ้าขาวปิดทับโดยไม่ต้องชุบน้ำ และเมื่อทำการรีดให้พ่นไอน้ำผ่านน้ำจะทำให้ผ้าเรียบโดยไม่ต้องชุบน้ำ
๙. เมื่อรีดผ้า ควรรีดส่วนปรกอบทีละส่วนตามลำดับ ดังนี้
- เมื่อรีดผ้า ควรรีดปก รีดตะเข็บ รีดตัว เสื้อด้านหน้า เสื้อด้านหลัง และแขนเสื้อ
- การรีดกางเกง ควรรีดขอบเอว กระเป๋าขา และตัวด้านหน้าและหลัง
- การรีดกระโปรง ควรรีดซับใน ขอบตะเข็บ และตัวระโปรงด้านหน้าและด้านหลัง
๑๐.รีดผ้าครั้งเดียวหลายชิ้นหรือรีดครั้งละมากๆจะช่วยประหยัดกระแสไฟฟ้ามากกว่าการรีดครั้งละตัวหรือน้อยชิ้น
๑๑.ถอดปลั๊กเตารีดเมื่อเสร็จแล้วทุกครั้ง โดยหลังจากถอดปลั๊กซึ่งเตารีดยังมีความร้อนอยู่ควรรีดผ้าที่ไม่ต้องการความประณีตมากนัก และสามารถรีดได้ประมาณ ๑-๒ ตัว เช่น ผ้าใส่อยู่กับบ้าน ชุดนอน เสื้อเด็กอ่อน เป็นต้น
๑.)การรีดผ้าด้วยเตารีดไฟฟ้าธรรมดา เตารีดไฟฟ้าธรรมดาเป็นเตารีดไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปราคาไม่แพง วิธีการรีดด้วยเตาไฟฟ้าธรรมดาที่รีดโดยการพรมน้ำและม้วนไว้ เพื่อให้ผ้าชื้นและรีดให้เรียบได้ง่าย
๒.)การรีดผ้าด้วยเตารีดไฟฟ้าแบบพ่นไอน้ำ เตารีดไฟฟ้าแบบพ่นไอน้ำ เป็นเตารีดสมัยใหม่มีขายอยู่ทั่วไป แต่มีราคาแพงกว่าเตารีดไฟฟ้าแบบธรรมดา บางชนิดเมื่อต้องการรีดผ้าสามารถกดปุ่ม และมีไอน้ำพุ่งออกมาขณะรีดทำให้ผ้าเรียบ เตารีดไอน้ำบางยี่ห้อพัฒนาก้าวไกล สามารถรีดผ้าด้านเดียว แต่ผ้าเรียบทั้ง ๒ ด้าน เพราะไอน้ำที่พ่นจากเตาผ่านไปถึงผ้าชั้นล่างและผ่านลงไปยังที่รองรีด ซึ่งเป็นตะแกรงเหล็กไอน้ำสามารถผ่านได้เตารีดชนิดนี้นับว่าเป็นเตารีดที่มีประสิทธิภาพที่ดีมาก นอกจากนั้น ยังมีเตารีดไอน้ำบางชนิด สามารถพ่นไอน้ำสู่ผ้าที่แขวนไว้ให้เรียบได้ วึ่งนิยมใช้กันตามร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเหมาะสำหรับรีดผ้าที่ยับจากการแขวน
๕.การดูแลรักษาเครื่องประกอบการแต่งกาย
เครื่องประกอบการแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสวมใส่เสื้อผ้าได้สวยงามยิ่งขึ้น จึงควรดูแลรักษาเพื่อช่วยให้อายุการใช้งานยาวนาน เครื่องประกอบการแต่งกายมีอยู่หลายชนิด ที่นิยมใช้กันทั่วไป มีดังนี้
๑)รองเท้าหนัง มีวิธีการดูแลรักษาดังนี้
๑.ทำความสะอาดรองเท้าที่สวมใส่ โดยปัดฝุ่นหลังการใช้งานทุกครั้ง และวางผึ่งลมไว้ให้กลิ่นเหงื่อแห้งและจัดเก็บเข้าที่
๒.ถ้ารองเท้าเปื้อนโคลนต้องทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจึงค่อยแกะออก และเช็ดด้วยผ้าชื้น ทิ้งไว้ให้แห้ง
๓.ระวังอย่าให้รองเท้าเปียกน้ำ เพราะว่าจะทำให้หนังเสื่อมคุณภาพ ถ้าเป็นรองเท้าหุ้มส้นควรระมัดระวังส้นเสียรูป ไม่ควรเหยียบทับส้น
๔.ขัดรองเท้าด้วยน้ำยาขัดและนำไปตากแดดทุกสัปดาห์
๒)รองเท้าผ้าใบ เป็นรองเท้าที่นิยมใช้กันทั่วไป มีหลายรูปแบบและมีหลากสีให้เลือกใช้ เช่นรองเท้าเล่นกีฬา รองเท้าใส่ไปเที่ยว รองเท้านักเรียน เป็นต้น มีหลักการดูแลรักษา ดังนี้
๑.เมื่อใช้แล้ววางผึ่งไว้ให้กลิ่นเหงื่อแห้ง ไม่จักเก็บในขณะชื้น เพราะจะทำให้มีกลิ่นอับ
๒.ถ้ารองเท้าเปื้อนโคลน ควรทิ้งไว้ให้แห้ง แกะโคลนออกแล้วนำไปซักในน้ำผสมสารซักฟอก ขัดด้วยแปรง
๓.ทำความสะอาดทุกสัปดาห์ด้วยน้ำผสมสารซักฟอกและใช้แปรงขนอ่อนขัดให้ทั่ว
๔.นำรองเท้าที่ซักไปตากแดด โดยใช้กระดาษทิชชูสีขาวปิดทับรองเท้าให้ทั่ว เพื่อป้องกันการเป็นรอยด่าง
๓)เข็มขัด มีวิธีการดูแลรักษาดังนี้
๑. เมื่อใช้แล้วให้เก็บโดยแขวนตรงส่วนหัวเข็มขัดกับตะขอแขวนไม่ควรวางสายเข็มขัดพาดกับราว หรือเกี่ยวสายเข็มขัดกับตะขอ ซึ่งจะทำให้เข็มขัดเสียรูปทรง
๒. ถ้าเป็นเข็มขัดหนัง ให้ใช้แปรงปัดฝุ่น และขัดด้วยน้ำยาขัดเป็นครั้งคราว
๓. ถ้าเป็นเข็มขัดผ้าใบ ควรนำไปซักและตากให้แห้ง ม้วนเก็บในถุงพลาสติก จะทำให้สีไม่ซีด ไม่เก่าเร็ว
๔. ถ้าเป็นเข็มขัดเงินควรทำความสะอาดเป็นครั้งคราวด้วยน้ำสบู่หรือขัดด้วยน้ำมะนาว หรือแช่ในน้ำสบู่กรดเมื่อใช้เสร็จแล้วจะต้องเก็บในถุงพลาสติกเพื่อป้องกันการเปลี่ยนสี
๔) เครื่องประดับ ได้แก่สร้อยคอ เข็มกลัด ตุ้มหู ซึ่งทำจากวัสดุหลายชนิดควรทำการดูแลรักษาจัดเก็บดังนี้
๑.การใส่กล่องเป็นหมวดหมู่ เช่น กล่องตุ้มหู กล่องเข็มกลัด เป็นต้น
๒. ไม่วางทับกันโดยไม่มีวัสดุหรือผ้าห่อหุ้ม เพราะว่าจะทำให้เป็นรอยขีดข่วนได้
๓. เครื่องประดับที่เป็นเครื่องเงินควรจัดเก็บโดยห่อด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับอากาศ ส่วนวิธีการทำความสะอาดให้ใช้วิธีเดียวกันกับเข็มขัดเงิน
๔. ตุ้มหู ควรจัดเก็บเป็นคู่ไว้ด้วยกัน อาจจะห่อด้วยสำลี ผ้านุ่ม หรือบรรจุกล่องเฉพาะ
๕. สร้อยคอควรจัดเก็บบรรจุกล่อง
๖. ทำความสะอาดโดยใช้ผ้านุ่มเช็ดเบาๆ
๖. สรุป
เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจะใช้ได้อย่างคุ้มค่าและยาวนานนั้น ผู้สวมใส่จะต้องรู้จักดูแลรักษาและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เริ่มตั้งแต่รู้จักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดได้อย่างเหมาะสม รู้จักกำจัดรอยเปื้อน รวมถึงสามารถซักรีดเสื้อผ้า ตากผ้าได้อย่างถูกวิธี อันจะส่งผลให้สามารถเลือกใช้เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายได้อย่างคุ้มค่าและยาวนาน
ข้อมูลจาก
http://www.weloveshopping.com/template/e5/show_article.php?shopid=886&qid=19702