การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)

1 ธ.ค. 2567 เวลา 08:49 | อ่าน 122
 
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,670 ล้านบาท โดยปีที่ 1 (5 เดือน) จํานวน 830 ล้านบาท และปีที่ 2 (12 เดือน) จํานวน 1,840 ล้านบาท (ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568) โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการเป็นลําดับแรก หากไม่เพียงพอให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ตามที่ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) เสนอ


สาระสำคัญ


เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เกี่ยวกับการปรับอัตราเงินคุมข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่สํานักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับ เงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์และหลักการเพื่อปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการ โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี ทั้งนี้ อัตราเงินเดือนของผู้ที่รับราชการอยู่ก่อนจะต้องไม่น้อยกว่าผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ โดยใช้คุณวุฒิระดับเดียวกัน และอัตราเงินเดือนหลังการปรับจะต้องไม่ทําให้ผู้ซึ่งเคยได้รับเงินเดือนสูงกว่ากลายเป็น ผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ดํารงตําแหน่งประเภทและระดับเดียวกันที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน และเพื่อปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่มีผลใช้บังคับ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1.1 การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ

(1) ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดยทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) ในอัตราร้อยละ 10 ภายใน 2 ปี โดยปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 (เช่น คุณวุฒิระดับปริญญาตรี จากเดิม 15,000 บาท เป็น 16,500 บาท ในปีที่ 1 และปรับเป็น 18,150 บาท ในปีที่ 2)

(2) การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จํานวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปี ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่ อัตราแรกบรรจุที่กําหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี

1.2 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เป็นการปรับเพดาน เงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือน รวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท และปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญขั้นต่ำ จากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท ซึ่งการปรับเพดานเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวนี้ จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยข้าราชการ ลูกจ้างประจํา ทหารกองประจําการ และผู้รับบํานาญ และคาดว่าจะใช้งบประมาณ เพิ่มขึ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการ เป็นลําดับแรก หากไม่เพียงพอให้ขอทําความตกลงกับสํานักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ หรือรายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นแล้วแต่กรณี ตามลำดับ

2. มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ. ร่วมกับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการแต่ละประเภท รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดําเนินการมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและสอดคล้องตามหลักการดังกล่าวต่อไป

3. มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ. ประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง (กค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับหลักการและแนวทางดําเนินการในเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดําเนินการในส่วนของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นและพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป

คพร. ได้จัดทําข้อเสนอการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบรวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ ของมติคณะรัฐมนตรี (28 พฤศจิกายน 2566) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์
1.1 ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุของพนักงานราชการตามคุณวุฒิการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการ
1.2 ปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบซึ่งได้รับการว่าจ้างอยู่ก่อนวันที่อัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุใหม่ที่นําเสนอในครั้งนี้มีผลใช้บังคับ

2. หลักการ 2.1 ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิแตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา
2.2 อัตราค่าตอบแทนของผู้ที่ได้รับการว่าจ้างอยู่ก่อน จะต้องไม่น้อยกว่าผู้ที่ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการใหม่โดยใช้คุณวุฒิระดับเดียวกัน
2.3 อัตราค่าตอบแทนหลังการปรับจะต้องไม่ทําให้ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ากลายเป็นผู้ได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าผู้ที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน ทั้งนี้ โดยไม่เป็นภาระงบประมาณมากจนเกินควร

3. แนวทางดําเนินการ
3.1 การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ โดยทยอยปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) แตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิ การศึกษา ภายใน 2 ปี คือ ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ซึ่งสอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี (28 พฤศจิกายน 2566) และหลักการกําหนดค่าตอบแทนพนักงานราชการตามมติ คพร. ที่กําหนดค่าตอบแทนแรกบรรจุของพนักงานราชการโดยนําบัญชีอัตราแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นฐานในการคํานวณ โดย (1) พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค และกลุ่มงานบริหารทั่วไป บวกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 จากอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อเป็นค่าชดเชยบําเหน็จ สวัสดิการอื่น ๆ และสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และ (2) พนักงานราชการกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ บวกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 30 เพื่อชดเชยลักษณะงานวิชาชีพ บําเหน็จ สวัสดิการอื่น ๆ และสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม

3.2 การปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจํานวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับค่าตอบอัตราการที่ได้รับผลกระทบก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กําาหนดใหม่มีผลใช้บังคับ โดยมีอัตราชดเชยเท่ากับ 0.84 ของผลต่างอัตราค่าตอบแทนได้รับในปัจจุบันกับอัตราแรกบรรจุเดิม ซึ่งมีหลักการ แนวคิด และสมมติฐาน ดังนี้

(1) กําหนดกลุ่มเป้าหมาย ชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ ในแต่ละปีโดยครอบคลุมผู้ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการอยู่ก่อนวันที่อัตราค่าตอบแทน แรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี

(2) กําหนดอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการชดเชย โดยแปลงจํานวนปีของผู้ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการเป็นอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชย โดยมีสมมติฐานว่าเป็นผู้ซึ่งมีผลงานดีเด่นตลอด 10 ปี และได้รับการเลื่อนค่าตอบแทนเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี (ปีละ 1 ครั้ง) ดังนั้น ผู้ที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชย คือ ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนระหว่างค่าตอบแทนแรกบรรจุ (ปัจจุบัน) กับอัตราค่าตอบแทนที่ผ่านการเลื่อนเงินเดือนตามรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานมาแล้วประมาณ 10 ครั้ง จากนั้นน่าอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชยแล้วมาคํานวณหาอัตรา การชดเชยที่เหมาะสม โดยทําการจําลองในทุกกลุ่มงานและจําแนกตามคุณวุฒิต่าง ๆ ซึ่งได้อัตราการชดเชยที่เหมาะสมและเป็นไปตามหลักการที่กําหนดไว้ เท่ากับ 0.84

3.3 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ปรับเพดานอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิมค่าตอบแทนไม่ถึง เดือนละ 13,285 บาท เป็นค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของค่าตอบแทนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น 11,000 บาทให้แก่พนักงานราชการ ทั้งนี้ การให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพและวันที่มีผลใช้บังคับให้เป็นไป ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ซึ่ง กค. โดยกรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างดําเนินการ ปรับปรุงระเบียบดังกล่าว

3.4 การปรับปรุงประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงบัญชีกําหนดอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ของพนักงานราชการและการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยยกเลิกประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีก 3 ฉบับ ได้แก่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561 และ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2565 และจัดทําประกาศฉบับใหม่โดยจะเป็นการรวมประกาศไว้เป็นฉบับเดียว เพื่อให้สะดวกในการนําไปใช้

ประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินการ


1. ประโยชน์ : อัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับตลาดแรงงานและค่าครองชีพในปัจจุบัน สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการตลอดจนรักษา คนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพระบบราชการต่อไปได้

2. ผลกระทบ : การดําเนินการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,670 ล้านบาท โดย
ปีที่ 1 (5 เดือน) จํานวน 830 ล้านบาท (12 เดือน) จํานวน 1,840 ล้านบาท

1 ธ.ค. 2567 เวลา 08:49 | อ่าน 122
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
57 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
26 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
122 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
251 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
281 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
59 25 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
321 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
42 23 พ.ย. 2567
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยถูก
101 22 พ.ย. 2567
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2568
431 21 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...