อาหารแสลง ที่ไม่ควรกินตอนเป็นโรค

1 ต.ค. 2556 เวลา 21:19 | อ่าน 7,698
แชร์ไปยัง
L
 
เคยไหมที่เวลาเราไม่สบาย บางทีจะได้ยินคุณยายหรือคุณแม่บอกว่าห้ามรับประทานโน่นห้ามรับประทานนี่ เพราะว่ามันเป็นของแสลง

ของแสลง ก็คือบรรดาอาหารที่ไม่ถูกกับโรคทั้งหลายแหล่ แต่บางทีก็ทำให้เรางงเหมือนกันว่าเกี่ยวกันยังไง แต่ของอย่างนี้ อย่าลบหลู่ เพราะขึ้นชื่อว่าภูมิปัญญาชาวบ้านแล้วไซร้ ฟังหูไว้หูก็ดีเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 โรคที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

เป็นไข้หวัด มีไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารไม่สุก อาหารที่เย็นมากๆ อาหารทอด อาหารมัน ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยยาก จะทำให้เกิดความร้อนสะสม เปรียบเสมือนอาหารเชื้อเพลิงหรือเป็นการเติมน้ำมันเข้าไปในกองไฟ

โรคกระเพาะ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชาแก่ๆ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ ทำให้เกิดความร้อนสะสม ทำให้โรคหายยาก ทางที่ดีควรจะรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย

โรคความดันเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกายและความชื้นก็มีผลก็ทำให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนทุกระบบในร่างกายและความร้อนก็จะไปกระตุ้นทำให้ความดันสูง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรืออาหารหวานมาก รวมทั้งผลไม้อย่างลำไย ขนุน ทุเรียน

โรคตับและถุงน้ำดี หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารมัน เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารหวานจัด เพราะแพทย์จีนถือว่าตับและถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอลงและเกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง

โรคหัวใจและโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดเพราะจะทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้า ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ส่วนอาหารรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้กระตุ้นการไหลเวียนสูญเสียพลังงานและหัวใจก็ทำงานหนักขึ้นเช่นกัน


โรคเบาหวาน หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานหรือแป้งที่มีแคลอรี่สูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ควรรับประทานอาหารพวกถั่ว เช่นเต้าหู้ นมวัว เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด


นอนไม่หลับ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ รวมทั้งการสูบบุหรี่ เพราะอาหารเหล่านี้ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอนหรือนอนไม่หลับสนิท
โรคริดสีดวงทวาร หรือท้องผูก หลีกเลี่ยงอาหารประเภทหอม กระเทียม ขิงสด พริกไทย พริก เพราะอาหารเหล่านี้อาจทะให้ท้องผูก หลอดเลือดแตก และอาการริดสีดวงทวารกำเริบ
ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ หรือโรคหอบหืด ควรหลีกเลี่ยงเนื้อแพะ เนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ นม และอาหารรสเผ็ด เพราะจะไปกระตุ้นและทำให้อาหารผิวหนังกำเริบ
สิว หรือ ต่อมไขมันอักเสบ งดอาหารเผ็ดและมันเพราะทำให้เกิดการสะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้าม มีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด ควบคุมผิวหนัง ขนตามร่างกาย ทำให้เกิดสิว
ที่มา http://www.nurse.cmu.ac.th/hf/nutrition1/ten.htm
ข้อมูลจาก sanook.com


1 ต.ค. 2556 เวลา 21:19 | อ่าน 7,698


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รองนายกฯสมศักดิ์-กฤษฎา-อนุชา ถก คณะทำงานโครงการโคแสนล้าน ได้ข้อยุติ ธ.ก.ส.ให้อัตราดอกเบี้ย 4.5% ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ชี้ วัวเป็นหลักประกันได้ เตรียมนำข้อสรุปชงคณะรัฐมนตรี
59 27 มี.ค. 2567
ครม.เห็นชอบ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 98 วัน
101 27 มี.ค. 2567
สมศักดิ์ เผย ยกเลิกประกาศ-คำสั่ง คสช. คืบหน้าแล้ว ล็อตแรกนำร่อง 20 ฉบับ จ่อชงคณะรัฐมนตรี เคาะ เม.ย.นี้ ย้ำ หากหน่วยงานมีความเห็นให้ยกเลิกเพิ่ม ก็จะตามไปในล็อตสอง
15 26 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาลเชื่อมั่นรายได้ชาวนาปีนี้เพิ่มแน่ เป็นไปตามความตั้งใจรัฐบาลสร้างรอยยิ้มให้ชาวนา
9 26 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 มีนาคม 2567
309 24 มี.ค. 2567
สธ.จ่อหารือ ก.พ.เพิ่มความก้าวหน้า “เภสัชกร” เลื่อนไหลเป็น “ชำนาญการพิเศษ” ได้ทุกตำแหน่ง
610 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย ขั้นตอนแก้ไข หากโทรศัพท์มือถือโดนรีโมตควบคุมจากระยะไกล แนะห้ามกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน APP Store หรือ Play Store
718 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย สำนักงานสลากฯ เพิ่มช่องทางจำหน่ายสลาก อำนวยความสะดวกผู้ขายและผู้ซื้อ ผ่านเว็บไซต์
445 23 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2567
861 17 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาล เผย ผลงานนายกฯ ดันราคายางสูงขึ้นทะลุ 90 บาท สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 7 ปี
46 13 มี.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน