ป้องกันตัวท่านจากสารตะกั่ว
สารตะกั่วเป็นโลหะหนักสีน้ำเงิน มันมีคุณสมบัติที่อ่อนตัวสามารถดัดเป็นรูปร่างต่างๆได้ทำให้มันถูกใช้ประโยชน์มากมาย เนื่องจากอันตรายของตะกั่ว จึงมีการลดการใช้สารชนิดนี้ลงที่เห็นได้ชัดคือสีทาบ้านและน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ายังมีวัสดุที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบอีกมากมาย เช่นเครื่องปั่นดินเผา แบตเตอร์รี่ หมึก สี ตัวเชื่อม ท่อน้ำ สารตะกั่วนี้สามารถอยู่ในอากาศ น้ำ ดิน
แม้ว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะลดสารตะกั่วออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่นการใช้น้ำมันที่ปราศจากสารตะกั่ว การใช้ท่อประปาที่ทำจาก pvc แต่ก็ยังพบสารตะกั่วได้ในสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นจากการตรวจเลือดเด็กในเมืองก็ยังพบสารตะกั่วในเลือดมากกว่าเด็กในชนบท จากเหตุผลดังกล่าวข้องต้นท่านผู้อ่านโดยเฉพาะผู้ปกครองควรจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารตะกั่ว เพื่อป้องกันบุตรหลานของท่านมิให้รับสารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อม
การดูดซึมของสารตะกั่ว
สารตะกั่วสามรถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธีทั้งทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารตะกั่วจากทางเดินอาหารได้ร้อยละ 11 ในผู้ใหญ่แต่สำหรับเด็กจะดูดซึมได้ร้อยละ 30-75 จะเห็นได้ว่าหากมีสารตะกั่วในอาหารทางเดินอาหารของเด็กจะดูดซึมได้ดีมาก เด็กที่ขาดอาหาร ขาดธาตุเหล็ก ขาดธาตุแคลเซียม หรืออาหารมันๆจะเพิ่มการดูดซึมสารตะกั่ว ส่วนทางเดินหายใจร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ร้อยละ 50 ทางผิวหนังจะดูดซึมสารตะกั่วได้น้อย
ผลเสียของสารตะกั่วต่อสุขภาพ
สารตะกั่วเป็นพิษจะพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมักจะเกิดในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน-6 ปีโดยมากมักเกิดในเด็กที่พ่อแม่มีฐานะไม่ดีโดยได้สารนี้จากเศษสีที่หล่น หรือจากอากาศ น้ำ หรืออาหาร อาการเป็นพิษจะเกิดเมื่อมีการสะสมของตะกั่วในร่างกายสูงพอ
สารตะกั่วจะมีผลเสียต่อสมองและการติดต่อของเซลล์ประสาท โดยสารตะกั่วจะไปจับกับเซลล์แทนที่แคลเซียม พบว่าหากมีสารตะกั่วในเลือดเพิ่มขึ้นทุก 10 mcg/dLจะทำให้ IQ ลดลง 1-3 จุด
ผลต่อเม็ดเลือดแดงจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเป็นโรคโลหิตจาง และมีผลต่อการทำงานของไต
ผลต่อการตั้งครรภ์และทารก สารตะกั่วสามารถก่อปัญหาให้แก่ทารกในครรภ์หากมีสารตะกั่วเป็นปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดแท้ง คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การทำงานของสมองจะพัฒนาช้า ปัญญาอ่อน ชัก
อาการของสารตะกั่วเป็นพิษ
อาการของสารตะกั่วเป็นไม่มีลักษณะเฉพาะอาการจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นกับ อายุ ปริมาณของสารตะกั่วที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับสารตะกั่ว เด็กบางคนไม่มีอาการ บางคนก็มาด้วยมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ปวดท้อง ปวดศีรษะ สำหรับเด็กที่ได้รับสารตะกั่วเป็นเวลานานและมีสารตะกั่วในเลือดสูงจะมีชัก โคม่าและเสียชีวิต
สำหรับผู้ใหญ่อาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและทำลายระบบอวัยวะสืบพันธ์ ทักษะในการทำงานลดลง ไม่กระตือรือร้น พฤติกรรมแปลกๆ อาเจียน และชักได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร ปวดท้องท้องผูก และอาเจียนเป็นพักๆ
ใครที่เสี่ยงต่อพิษของสารตะกั่ว
* เด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน- 6 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อสารตะกั่วเนื่องจากเด็กต้องการแร่ธาตุมากว่าผู้ใหญ่ และเด็กมักจะหยิบของจากพื้นรับประทาน นอกจากนั้นสารตะกั่วยังสามารถผ่านจะรกแม่สู่ทารกตัวน้อยในครรภ์ เด็กที่อาศัยในกลางเมืองที่มีจราจรแออัดจะเสี่ยงต่อการเกิดพิษมากกว่าเด็กชนบท
* ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสรตะกั่วเช่น โรงงานแบตเตอร์รี่ ช่างซ่อมรถ ช่างบัดกรี ช่างสี กรรมกร คนเหล่านี้จะเสี่ยงการเป็นพิษต่อสารตะกั่ว
สารตะกั่วมาจากไหนบ้าง
แหล่งใหญ่ของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมคือจากสีโดยเฉพาะอาคารที่ทาสีที่มีสารตะกั่วผสมอยู่ เนื่องจากอาคารเก่ามักจะมีสะเก็ดสีหลุดออกมาเด็กเอามือหรือเอาของที่ปนสีเข้าปาก นอกจากนั้นการลอกสีที่ไม่ถูกวิธีก็จะทำให้มีสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมเพิ่ม เช่นการพ่นทราย การแคะสี การใช้ความร้อนลอกซึ่งทำให้ตะกั่วกลายเป็นฝุ่นลอยไปในอากาศ
ฝุ่นผงตะกั่วเกาะติดกับเสื้อผ้าของผู้ที่ทำอาชีพสัมผัสกับสารตะกั่ว เช่น ช่างสี ช่างถลุงแร่ ช่างเครื่องยนต์ ช่างเชื่อม กรมมกรก่อสร้างท่อ สะพาน
การป้องกันสารตะกั่ว
พบว่าเด็กอเมริกาทุก 1 คนใน 11 คนจะมีระดับสารตะกั่วในเลือดสูง ท่านผู้อ่านจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันสารตะกั่วเนื่องจากสารตะกั่วสามารถมาสู่ตัวท่านโดยที่ไม่รู้ตัวเพราะสารตะกั่วมาโดยไม่มีรูรส กลิ่นหรือเสียง
1. ทำความสะอาดบ้าน ฝุ่นในบ้านอาจจะมีสารตะกั่วผสมอยู่ เด็กอาจจะกลืนโดยการดูดนิ้ว เลียของเล่นหรือรับประทานอาหารโดยที่ไม่ล้างมือ หรือสูดเอาสารตะกั่วเข้าไป
* ให้ทำความสะอาดบริเวณที่เด็กเล่นให้สะอาดเท่าที่จะทำได้
* ล้างแก้วหรือขวดนมให้สะอาดด้วยมือโดยเฉพาะหากอุปกรณ์นั้นตกใส่พื้น
* เช็ดพื้น ขอบหน้าต่าง ขอบเตียงที่เด็กอาจจะเลียด้วยน้ำยาล้างจานอุ่นๆ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง(เนื่องจากน้ำยาล้างจานจะมีสารฟอสเฟตสูง)
* ล้างของเล่นหรือตุ๊กตาเป็นประจำ
* ให้เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหารและก่อนนอน
2. หลีกเลี่ยงสารตะกั่ว
บ้านสมัยเก่าที่ทาสีมีสารตะกั่วผสม เมื่อเก่าจะทำให้เกิดสะเก็ดสีตามผาผนัง ขอบหน้าต่าง และจะพบมากบริเวณที่มีการเสียดสี เช่นหน้าต่างซึ่งจะทำให้เกิดสะเก็ดสี หากเด็กรับประทานเข้าไปจะเกิดอันตรายต่อเด็กได้
* เช็ดพื้นให้สะอาดเพื่อป้องกันเด็กรับประทานสะเก็ดสี
* อย่าเผาไม้ที่ทาสีเพราะอาจจะทำให้เกิดฝุ่นสารตะกั่ว
* อย่าทำการลอกสีหรือขูดสีด้วยตัวเองเพราะจะทำให้เกิดสารตะกั่ว และสารตะกั่วก็จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อีกนาน
* ให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการลอกสีหรือทาสีใหม่
* เด็กและคนท้องไม่ควรอยู่บ้านขณะลอกสีหรือทาสีใหม่ ให้ทำความสะอาดให้เรียบร้อยจึงกลับเข้ามาอยู่
3. อย่านำสารตะกั่วเข้าบ้าน
สำหรับท่านที่ทำงานก่อสร้าง การรื้อทำลาย ทาสี แบตเตอร์รี่ ร้านซ่อมเครื่องยนต์ ท่านอาจจะนำฝุ่นตะกั่วเข้าบ้านและอยู่ในสิ่งแวดล้อมอีกนาน
* ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับบ้าน
* ให้เด็กเล่นในพื้นที่สะอาดและให้เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
4. ทำน้ำดื่มให้ปราศจากสารตะกั่ว
น้ำประปาทั่วๆไปจะไม่มีสารตะกั่ว แต่สารตะกั่วที่มีในน้ำประปามาจากอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน การต้มน้ำไม่ทำให้สารตะกั่วลดลง หากท่านสงสัยว่าจะมีสารตะกั่วในน้ำ ท่านอาจจะนำน้ำไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาสารตะกั่ว ระดับตะกั่วในน้ำจะสูงถ้าน้ำนั้นอยู่ในท่อนาน น้ำนั้นร้อน หรือมีความเป็นกรดสูงวิธีป้องกันสารตะกั่วในน้ำคือ
* อย่าดื่ม หรือผสมนมจากเครื่องทำน้ำร้อนจากท่อประปา
* หากท่านไม่ได้ใช้ก๊อกน้ำเป็นเวลามากกว่า 2 ชั่วโมงให้ปล่อยน้ำทิ้ง 30-60 วินาทีก่อนจะนำน้ำนั้นไปดื่ม
* ใช้เครื่องกรองน้ำที่สามารถกรองสารตะกั่วได้
5. ป้องกันสารตะกั่วจากการกิน อย่าเก็บอาหารไว้ในถ้วยที่มีสารตะกั่ว หากใช้ถุงที่มีสีก็ให้สีอยู่นอกถุง
6. เลือกใช้ถ้วยชามเซรามิค ถ้วยชามเซรามิคจะเป็นแหล่งของสารตะกั่ว ท่านสามารถป้องกันได้โดย
* ท่านสามารถทดสอบถ้วยชามเซรามิคว่ามีสารตะกั่วหรือไม่โดยซื้อชุดทดสอบ(ยังไม่ทราบว่าในประเทศไทยจะมีหรือไม่)
* หากถ้วยชามนั้นมีสารตะกั่ว ท่านก็ใช้เป็นเครื่องประดับบ้าน
* อย่าใช้ถ้วยชามที่มีสารตะกั่วเก็บอาหาร
7. การป้องกันสารตะกั่วจากสีภายนอกบ้าน
บ้านที่ทาด้วยสีที่ผสมตะกั่วซึ่งอาจจะอยู่บนผนัง ผ้า พื้น หน้าต่าง เด็กมักจะได้รับสารตะกั่วจากสะเก็ดสีที่หลุดออกมา หากว่าบ้านของท่านทาด้วยสีที่มีสารตะกั่วผสมและต้องการเปลี่ยนสีท่านต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาทำการลอกสีและเปลี่ยนสี ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำในการป้องกันสารตะกั่ว
* หากต้องการเปลี่ยนสี ควรจะเปลี่ยนทั้งหลัง
* ควรจะหาดินที่อื่นมาถมทับดินเก่าและปลูกหญ้าทับ
* ไม่ควรปลูกพืชสวนครัวไว้รอบบ้าน
* ไม่ควรให้เด็กเล่นรอบตัวบ้านเพราะอาจจะมีสะเก็ดสี และเด็กอาจจะรับประทานโดยที่ไม่รู้ตัว ควรจะหาที่เล่นที่ห่างจากตัวบ้าน
* เมื่อจะขุดดินรอบบ้าน ให้พรมน้ำให้ชุ่มชื้นเพื่อป้องกันฝุ่น
* ไม่ควรกวาดหรือใช้เครื่องดูดฝุ่นเพราะจะทำให้ฝุ่นสารตะกั่วแพร่กระจาย
* ใช้ผ้าชุมน้ำยาเช็ดบริเวณที่มีสะเก็ดสี
8. ป้องกันบ้านท่านจากสารตะกั่ว
สีแดงคือบริเวณที่พบสารตะกั่วบ่อยมาก สีเหลืองคือบริเวณที่พบสารตะกั่วบ่อยสีเขียวพบสารตะกั่วไม่บ่อย
พื้นที่ในบริเวณบ้านหลายแห่งจะเป็นบริเวณซึ่งมีสารตะกั่วมาก การดูแลบริเวณดังกล่าวจะช่วยลดการเกิดพิษต่อสารตะกั่วบริเวณดังกล่าวได้แก่
* บัวบริเวณพื้น สะเก็ดสีอาจจะเกิดจากสีเก่าของผนัง หรือสีจากบัว หรืออาจจะเกิดจากการกระแทกของเฟอร์นิเจอร์ ไม่ควรให้เด็กเล่นใกล้บัว และเช็ดบริเวณดังกล่าวด้วยน้ำยา
* พื้น ปกติบริเวณพื้นมักจะไม่ค่อยพบสารตะกั่วแต่ก็อาจจะเกิดสะเก็ดสีหล่นมายังพื้น วิธีป้องกันอย่าใช้เครื่องดูดฝุ่น ให้ใช้น้ำชุบน้ำยาเช็ดพื้น ควรทำความสะอาดพรมด้วยน้ำยา และหากสกปรกมากให้เปลี่ยนเป็นสาร vinyl
* ฝาผนังบ้าน บ้านทั้งหลังไม่ควรใช้สีที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว หากเป็นสีที่มีสารตะกั่ว ท่านต้องหมั่นตรวจสอบว่าสียังคงสภาพดีอยู่หรือไม่ หากเริ่มมีสีแตกสะเก็ดต้องใช้ผ้าชุมน้ำยาเช็ดสะเก็ดสี และห้ามเด็กเล่นบริเวณดังกล่าว
* บอบหน้าต่างเป็นบริเวณที่สะสมสารตะกั่วจากสะเก็ดสีที่หลุดออกมาเนื่องจากสีที่ทาไม้ หรือการเสื่อมของสีที่ทาผนัง วิธีป้องกันคืออย่าใช้สีที่ผสมสารตะกั่ว หากพบว่าสีเริ่มเสื่อมให้รีบแจ้งช่างแก้ไขโดยด่วนและระหว่างแก้ไขไม่ควรให้คนท้องและเด็กอยู่ใกล้เคียง
* สำหรับท่านที่มีบ้านติดถนน หรืออยู่ในบริเวณที่มีสารตะกั่วไม่ควรปลูกผักหรือผลไม้เนื่องจากสารตะกั่วในน้ำมันจะกลายเป็นฝุ่นเกาะตามผิวดินอาจจะไปสะสมในพืช นอกจากนั้นก็ควรจะล้างผักให้สะอาด
* สำหรับท่านที่มีบ้านอยู่ใกล้ถนนที่มีจราจรแออัด ที่ดินรอบๆบ้านท่านจะมีสารตะกั่วมากวิธีที่ดีคือตรวจดินว่ามีสารตะกั่วหรือไม่หากพบสารตะกั่วมากแนะนำให้เปลี่ยนดิน เวลาจะกวาดฝุ่นก็ฉีดน้ำให้ชื้นเพื่อป้องกันฝุ่นกระจาย
การเจาะเลือดตรวจหาสารตะกั่ว
เด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงอาจจะมีสารตะกั่วในเลือดสูงก็ได้ The Centers for Disease Control ของประเทศอเมริกาแนะนำว่าเด็กเมื่ออายุ 1 ขวบหรือ 6เดือนในกรณีที่คิดว่ามีสารตะกั่วในบ้าน ควรได้รับการเจาะเลือดหาสารตะกั่ว
เด็กอายุมากกว่า 1 ขวบควรจะได้รับการเจาะเลือดหาสารตะกั่วทุก 1-2 ปีหากคิดว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารตะกั่วเช่นบ้านที่ทาด้วยสีที่มีสารตะกั่วผสม หรือทำงานเกี่ยวกับสารตะกั่ว
ค่าปกติของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม
ค่าสารตะกั่วในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 15 ppb [parts per billion ]
ค่าสารตะกั่วในดินไม่ควรเกิน 5 ppm [parts per million ]
ค่าสารตะกั่วในอากาศไม่เกิน 1.5 ug/cubic meter (micrograms per cubic meter) per quarter
เรียบเรียง 29/02/04
ข้อมูลจาก
http://www.siamhealth.net/public_html/environment/lead.htm#.UnG8jnCnqIg