โรคหลับได้ทุกที่ Narcolepsy.... ลองสำรวจตัวเองและคนใกล้เคียง

11 มี.ค. 2557 เวลา 09:16 | อ่าน 3,958
 
โรค Narcolepsy หลับได้ทุกที่

อาการนี้ไม่ควรปล่อยไว้ รีบปรึกษาหมอทันที !!

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง เกิดขึ้นเนื่องจากสมองส่วนที่ควบคุมกลไกการหลับตื่นมีความแปรปรวน สภาวะการหลับและการตื่นไม่แยกจากกันชัดเจน ทำให้การนอนหลับแทรกเข้ามาขณะที่กำลังตื่นอยู่ สาเหตุของโรคนี้ไม่รู้แน่ชัด คาดว่าเกิดจากกลุ่มเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮัยโปทาลามัสที่สร้างสารออเรกซิน (Orexin) มีการเสื่อมสลายลง ซึ่งหน้าที่ของสารออเรกซินจะหลั่งออกมาในช่วงตื่นและไปกระตุ้นสมองส่วนอื่นที่ใช้ในการคงสภาพของการตื่นและยับยั้งสมองส่วนหลับโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลับฝันที่เรียกว่า REM แทรกเข้ามาในขณะที่ตื่นอยู่

อาการที่พบบ่อย
1.ง่วงนอนฉับพลันเป็นวันละหลายครั้ง โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถจะฝืนให้ตื่นอยู่ได้ บางคนเป็นติดๆกันวันละ 10 ครั้ง สังเกตง่ายๆมักจะเป็นตอนที่ไม่ควรจะหลับ เช่น กำลังพูด กำลังกินอาหาร หรือขณะขับรถ

2.มีอาการกล้ามเนื้อของร่างกายอ่อนแรงทั้ง 2 ข้างเป็นระยะเวลาสั้นๆ เกิดเนื่องจากช่วงหลับฝันแทรกเข้ามาในช่วงการตื่น อาการนี้เรียกว่า CATAPLEXY เป็นตั้งแต่รุนแรงคือ อ่อนแรงทั่วทั้งตัวทำให้ล้มลง หรือเป็นเพียงเล็กน้อยบางส่วนของร่างกาย เช่น ศีรษะตก เข่าอ่อน หรือเคี้ยวไม่ถนัด อาการอ่อนแรงเหล่านี้มักถูกกระตุ้นโดยอารมณ์ที่รุนแรง เช่น หัวเราะ ตื่นเต้นหรือโกรธ อาการมักไม่นานแค่ 1-2 นาที โดยที่ความรู้สึกตัวขณะมีอาการอ่อนแรงยังเป็นปกติ


3.มีอาการคล้ายคลึงกับที่คนไทยเรียกว่า “ผีอำ” ผู้ป่วยจะมีอาการไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ในช่วง 1-2 นาทีแรกขณะตื่นนอนเหมือนเป็นอัมพาต ทั้งๆที่บางครั้งรู้ตัวอยู่ แต่ก็พูดและเคลื่อนไหวไม่ได้ มักมีอาการเห็นภาพหลอน คล้ายหายใจไม่ออกร่วมด้วย อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่า Sleep paralysis

4.มีอาการเห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงหรือรู้สึกแปลกๆตามตัวเกิดขึ้นในช่วงขณะจะเข้านอน บางครั้งอาจมีความรู้สึกเหมือนฝันแบบเป็นเรื่องราวร่วมด้วย เรียกว่า Hypnagogic hallucination อาการเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีครบทั้ง 4 ข้อ ส่วนใหญ่มีร่วมกัน 2 ข้อก็ถือว่าเข้าข่ายแล้ว โรคนี้พบมากในสหรัฐในอเมริกา ประมาณ 2-18 คน ต่อ 1 แสนคน ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีรายงานไว้แต่คิดว่าถ้าดูสถิติจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นชาวเอเชียเหมือนกันก็น่าจะใกล้เคียงกันที่ 16-18 คน ต่อ 1 แสนคน โรคนี้พบในอัตราชายและหญิงเท่ากัน มักเริ่มในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น อาการของโรคมักเป็นมากรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีแรกของการดำเนินโรค แล้วคงที่อยู่เช่นนั้นไปตลอด


ความทุกข์ทรมานที่ได้รับ

1.เนื่องจากผู้ป่วยสามารถหลับได้ไม่เป็นเวลาทุกสถานการณ์ มักจะทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน โดนเพ่งเล็ง ถูกหาว่าขี้เกียจ เลยทำงานไม่เจริญก้าวหน้า ทั้งๆ ที่สติปัญญาของคนกลุ่มนี้ก็เหมือนปกติทุกประการ
2.ผู้ป่วยมักมีหรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นร้ายแรงต่อตนเองและผู้อื่นได้โดยง่าย เช่นตกเก้าอี้ หรือหลับในขณะขับรถจนตกข้างทางการรักษา

จากภาวะข้างต้น การรักษาจึงมุ่งเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของผู้ที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่แล้วการรักษามักเริ่มต้นด้วยการวินิจฉัยยืนยันว่าเป็นโรคนี้แน่นอนก่อน ซึ่งวิธีการวินิจฉัยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง

ช่วงแรกแพทย์จะซักถามอาการและการดำเนินโรคเหมือนโรคนี้หรือไม่แล้วจะนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ (Sleep Study) โดยจะนัดผู้ป่วยมานอนหลับตอนกลางคืนในห้องตรวจที่เหมือนห้องนอน 1 คืน ขณะตรวจก็จะมีสายติดตามตัวเพื่อบันทึกคลื่นสมอง การหายใจ ท่านอน การเคลื่อนไหวของลูกตา การหายใจ คลื่นไฟพ้าหัวใจ การขยับของแขนขา ระดับออกซิเจนในเลือด รวมกับบันทึกวิดีโอผู้ป่วยขณะหลับ การตรวจนี้ก็เพื่อยืนยันและแยกสาเหตุของโรคอื่นที่พบบ่อยกว่าและอาจเป็นสาเหตุของการง่วงนอนผิดปกติในช่วงกลางวันได้บ่อยกว่าเช่น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับ (obstructive sleep apnea) จากกระบวนการนี้ถ้าผลแน่นอนชัดเจนว่าเป็น แพทย์ก็มักจะทำการตรวจการนอนหลับตอนกลางวันในเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคเป็นช่วงที่สอง การตรวจส่วนนี้เรียกว่า Multiple Sleep Latency Test (MSLT) โดยจะติดเครื่องมือตามตัวแบบเดียวกัน แต่จะให้ผู้ป่วยนอนหลับช่วงสั้นๆสัก 4-5 ครั้ง แล้วดูว่าผู้ป่วยหลับเร็วกว่าปกติร่วมกับมีภาวะหลับฝันเกิดขึ้นบ่อยหรือไม่ ถ้าเข้าเกณฑ์ก็แสดงว่าคนนั้นเป็นโรคนี้ แล้วจึงเริ่มการรักษา

การรักษาแบ่งออกเป็น 2 หลักใหญ่ คือ
1.ด้านพฤติกรรม เพื่อลดความถี่ในการเกิดการง่วงนอนแบบฉับพลันในเวลากลางวันและเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยมีหลักคือ ให้นอนอย่างน้อย 7.5-8 ชั่วโมงต่อคืน เข้าและตื่นนอนให้ตรงเวลา ให้มีการงีบหลับระหว่างวันประมาณ 20 นาที ลดการใช้ยาหรืออาหารบางอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง อาหารมื้อหนัก ให้ความมั่นใจผู้ป่วย ครอบครัวและสังคมในการทำกิจกรรม เข้าสังคม เล่นกีฬาเป็นต้น

2.ส่วนการรักษาด้วยยา ก็เพื่อลดความง่วงนอนลง ส่วนใหญ่มักเป็นยากระตุ้นประสาท ในประเทศไทยมีใช้เพียง methylphenidate เท่านั้น ซึ่งยานี้ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ตาม โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติด้านการนอนหลับ ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย ถึงแม้จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ที่เรียกว่า Sleep Specialist พอสมควร แต่ก็ยังมีน้อยอยู่ ซึ่งโดยธรรมชาติ โรคนี้ป้องกันไม่ได้ ไม่มีการติดต่อ ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นถ้าท่านสงสัยว่าตัวท่านหรือบุคคลใกล้ชิดเป็น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ด้านนี้จะเหมาะสมกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ

ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=643910


11 มี.ค. 2557 เวลา 09:16 | อ่าน 3,958
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 12-18 มกราคม 2568
22 14 ม.ค. 2568
เช็กเลย.. 30 บาทรักษาทุกที่ยุคใหม่..เข้าถึงการรักษาง่ายกว่าที่คิด..ทั้งประเทศ แค่ใช้บัตรประชาชน ใบเดียวสังเกตสัญลักษณ์ 30 บาทรักษาทุกที่
52 6 ม.ค. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 5-11มกราคม 2568
57 5 ม.ค. 2568
สอบภาค ก พิเศษ 2568 สำหรับส่วนราชการต่าง ๆ ประจำปี 2568
485 3 ม.ค. 2568
ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2567 ยื่นได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 68 - 8 เม.ย. 68
205 2 ม.ค. 2568
ปีใหม่แล้ว..วัยรุ่น.. รัฐบาลชวนเปลี่ยนเงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเงินออม สร้างรากฐานที่มั่นคงของครอบครัวในอนาคต
42 2 ม.ค. 2568
ประกาศสำนักงาน ก.พ. เรื่อง รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2568 (e-Exam)
288 25 ธ.ค. 2567
ช้อปดีมีคืน กรมสรรพากรเดินหน้าต่อ Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น เริ่ม 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
373 24 ธ.ค. 2567
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
107 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
278 17 ธ.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...