สวัสดิการข้าราชการและประโยชน์เกื้อกูลข้าราชการ

28 ก.ค. 2557 เวลา 00:02 | อ่าน 248,788 | อัพเดทล่าสุด 22 ธ.ค. 2561 เวลา 22:55
แชร์ไปยัง
L
 
สวัสดิการข้าราชการ

ค่าเล่าเรียนบุตร
1. ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการค่าเล่าเรียนบุตร ให้ข้าราชการเบิกค่าเล่าเรียนบุตรสำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคนที่ 1 ถึง
คนที่ 3 ตามลำดับก่อนหลัง และอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี
(ไม่รวมบุตรบุญธรรม) ในกรณีที่ผู้ใดมีบุตรมากกว่า 3 คน หากบุตรคนใดคนหนึ่งในจำนวน
3 คน ที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ตาย กายพิการจนไม่สามารถ
เล่าเรียนได้ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงิน
สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนอายุครบ
25 ปีบริบูรณ์ ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นเท่าจำนวน
บุตรที่ตาย กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือ
จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบนั้น โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ลำดับถัดไปก่อน
2 ประเภทและอัตราค่าเล่าเรียน สิทธิการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรให้เป็นไปตามประเภท
และอัตรา ดังนี้

1) สถานศึกษาของทางราชการ
• หลักสูตรระดับไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยก
ต่างหากจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง
• หลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้
จ่ายไปจริง

2) สถานศึกษาของเอกชน
• หลักสูตรระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับ
เงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง

• หลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแต่ไม่สูงกว่า
อนุปริญญาหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง
• หลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวน

ที่ได้จ่ายไปจริง
ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
สำหรับบุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการหรือเอกชนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
ต้องเป็นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรกเท่านั้น
อ้างอิงสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ
สวัสดิการข้าราชการ
ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารักษาพยาบาล ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเอง บิดาและ
มารดา คู่สมรส และบุตร กรณีบุตรนั้นให้ไม่เกิน 3 คน เรียงลำดับก่อนหลัง โดยต้องเป็น
บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะแต่เป็นผู้ไร้
ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถที่อยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของข้าราชการ (ไม่รวมบุตร
บุญธรรมและบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่น) หากบุตรคนใดตายลงก่อนบรรลุนิติภาวะให้
สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรคนถัดไปแทนได้ (กรณีบุตรมากกว่า 3 คน)
1 ค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ (1) ค่ายา ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนค่าน้ำยา หรือ
อาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน
(2) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม
(3) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค
(4) ค่าห้อง ค่าอาหาร
(5) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี
2 อัตราค่ารักษาพยาบาล (1) ค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ เบิกได้เต็มตามที่จ่ายจริงทั้ง
คนไข้ในและคนไข้นอก สำหรับในสถานพยาบาลของเอกชน เบิกได้เฉพาะกรณีที่มีอุบัติเหตุ
อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็น
อันตรายต่อชีวิต โดยให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 3,000 บาท
(2) ค่ายา เบิกได้ไม่เกินที่ใบเสร็จรับเงินระบุว่าเป็น “ค่ายาที่เบิกได้” หรือ
“ค่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ” หรือ “ค่ายาในบัญชียาของสถานพยาบาล” หรือ “ค่ายานอก
บัญชียา” แต่สถานพยาบาลออกหนังสือรับรองให้ว่าจำเป็นต้องใช้ยานั้น
(3) ค่าอวัยวะเทียม ค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษา และค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียม
เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
(4) กรณีคนไข้ใน ค่าเตียงสามัญ และค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 200
บาท กรณีอื่นเบิกได้ไม่เกินวันละ 600 บาท และไม่เกิน 13 วัน
(5) การตรวจสุขภาพประจำ ปีให้สำ หรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือ
ผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่เข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการมีสิทธิเบิก

อัตราตรวจสุขภาพประจำปีสำนักงาน ก.พ. อ้างอิงสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ
ค่าเช่าบ้าน
1 ผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ได้แก่ ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำ สำนักงานต่างท้องที่เว้นแต่
1.1 ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้แล้ว
1.2 มีเคหะสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง หรือของคู่สมรสในท้องที่ที่ไป
ประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน
1.3 ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่เริ่มรับราชการ
ครั้งแรก หรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่
1.4 ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอ
ของตนเอง
1.5 สำนักงานที่ปฏิบัติราชการอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการใหม่ไปอยู่
ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
2 อัตราค่าเช่าบ้าน ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่าเช่าเท่าที่จ่ายจริงตามที่สมควร แก่สภาพแห่งบ้าน ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้าน ท้ายพระราช
กฤษฎีกาค่าเช่าบ้านราชการดังนี้

ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ

โครงการที่อยู่อาศัยข้าราชการ

โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ
โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการจัดตั้งขึ้น มีวัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำให้สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยให้
ข้าราชการและลูกจ้างประจำมีสิทธิกู้เงินจากโครงการดังกล่าวไปเฉพาะเพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร
หรือห้องชุด เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเอง
เท่านั้น และได้ตรงพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 ขึ้น เพื่อวาง
หลักเกณฑ์ในการดำเนินการซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1 ให้นำเงินงบประมาณทั้งหมดที่ได้รับตามโครงการฯ ฝากไว้กับธนาคารอาคาร
สงเคราะห์

2 ให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินงบประมาณที่ได้รับตามโครงการ ให้แก่
ส่วนราชการต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

3 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้เงินตามโครงการ
3.1 เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ซึ่งรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
3.2 ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิของตนเอง เว้นแต่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระ
เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกและทำสัญญาเงินกู้นั้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่รับโอน
กรรมสิทธิ์หรือวันเข้าอยู่อาศัยแล้วแต่กรณี
3.3 ได้รับการคัดเลือกจากส่วนราชการเจ้าสังกัดนั้นเห็นสมควรกำหนด
3.4 ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยใช้สิทธิกู้เงินตามโครงการไปแล้ว

4 การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้มีสิทธิกู้เงินตามโครงการให้ส่วนราชการ
ต่างๆ พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกข้าราชการในสังกัด ให้เป็นผู้มีสิทธิกู้เงินตาม
โครงการ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเดือดร้อนของข้าราชการผู้นั้น ประโยชน์ที่
ข้าราชการผู้นั้นกระทำไว้แก่ทางราชการและการใช้จ่ายเงินจากโครงการนี้ให้เกิดประโยชน์แก่
ข้าราชการและส่วนราชการนั้นมากที่สุด

5 วงเงินกู้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์กำหนด และต้องไม่เกิน
วงเงินดังต่อไปนี้

บัญชีวงเงินกู้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ข้าราชการ
6 อัตราดอกเบี้ย ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารอาคารสงเคราะห์
ร่วมกันกำหนด

7 ระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์กำหนด
โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง


เดินทางไปราชการ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร
1 การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้ง
สำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา การไปสอบคัดเลือกหรือรับการ
คัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง
หรือไปรักษาราชการแทน เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
1. เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
2. ค่าเช่าที่พัก
3. ค่าพาหนะ
4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น
1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
(1) อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ข้าราชการเดินทางไปราชการจะมีสิทธิ
เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในลักษณะเหมาจ่ายดังตารางต่อไปนี้

บัญชีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางข้าราชการพลเรือน อ้างอิงสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา
อัตราค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลา อ้างอิงสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ

สวัสดิการข้าราชการ
บำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จบำนาญ (กรณีเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
1 ความหมาย บำเหน็จ คือ เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก โดยจ่ายให้ครั้งเดียว เมื่อสมาชิกภาพ
ของสมาชิกสิ้นสุดลง

บำนาญ คือ เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่สมาชิกภาพ
ของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย

เงินสะสม คือ เงินที่สมาชิกส่งเข้ากองทุนเป็นรายเดือน ขณะนี้กำหนดไว้
ร้อยละ 3 ของเงินเดือน

เงินสมทบ คือ เงินที่รัฐจ่ายสมทบเงินสะสม โดยส่วนราชการส่งเงินสมทบ
เข้ากองทุนเท่ากับเงินสะสมรายเดือน ขณะนี้กำหนดไว้ร้อยละ 3 ของเงินเดือน

เงินประเดิม คือ เงินที่รัฐจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่
บทบัญญัติใช้บังคับและเลือกรับบำนาญในอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยคำนวณ
ระยะเวลาจากวันที่เริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนและนำส่งเข้ากองทุน

เงินชดเชย คือ เงินที่รัฐจ่ายเพิ่มตามอัตราที่กำหนดตั้งแต่วันที่เป็นสมาชิก
จนถึงวันที่ออกจากราชการเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ

ผลประโยชน์ตอบแทน คือ ผลประโยชน์ที่ได้รับตอบแทนเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชยที่กองทุนได้นำไปลงทุน

บำเหน็จตกทอดคือ เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคล ซึ่งสมาชิกผู้ตาย
แสดงเจตนาไว้ โดยจ่ายให้ครั้งเดียว เมื่อสมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย

บำเหน็จดำรงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพ
โดยจ่ายให้ครั้งเดียว โดยผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่
กำหนดในกฎกระทรวงการคลังแต่ต้องไม่เกิน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่อยู่นั้นได้รับ
2 สิทธิในการได้รับบำเหน็จบำนาญ (1) สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปี
บริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ

(2) สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับ
บำนาญ

(3) นอกจากกรณีข้างต้น สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- เหตุทุพพลภาพ
- เหตุทดแทน
- เหตุสูงอายุ
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
ข้างต้นมีหลักเกณฑ์ในการได้รับบำเหน็จบำนาญ ดังนี้
- เวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี มีสิทธิ
ได้รับบำเหน็จ
- เวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิได้รับบำนาญ

3 เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญและเงินประเภทอื่นๆ แล้วแต่กรณี ดังนี้

3.1 กรณีรับบำเหน็จ
(1) บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
(2) เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน
3.2 กรณีรับบำนาญ
สูตรการคิดบำนาญ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
(2) เงินชดเชยเท่าจำนวนที่ส่วนราชการจ่ายให้กองทุนตั้งแต่วันที่เป็น
สมาชิก
(3) เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน
(4) มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการศึกษาบุตร

4 การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ
4.1 ให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย (กรณีการนับเวลาราชการเพื่อให้
เกิดสิทธิในการได้รับบำเหน็จบำนาญ ให้นับเป็นปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี)หมวดเงินเดือนเท่านั้น
4.2 ให้นับเฉพาะวันราชการที่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายใน

4.3 หากมีเวลาป่วย หรือลา หรือพักราชการ หากได้รับเงินเดือน
เต็มให้นับเต็ม
ครึ่งหนึ่งให้นับครึ่งหนึ่ง
ไม่ได้รับเงินเดือนเลย มิให้นำมานับเป็นเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ

5 บำเหน็จตกทอด
5.1 กรณีข้าราชการเสียชีวิต
= เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
5.2 ผู้รับบำนาญเสียชีวิต
= 30 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน - บำเหน็จดำรงชีพ (ถ้ามี)

6 การจ่ายบำเหน็จตกทอด
ให้แบ่งจ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาท ดังนี้
6.1 ทายาทตามกฎหมาย มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด ดังนี้
(1) บุตรได้รับ 2 ส่วน โดยเฉลี่ยจ่ายคนละเท่าๆ กัน หากมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
ให้บุตรได้รับ 3 ส่วน
(2) สามีหรือภริยาให้ได้รับ 1 ส่วน
(3) บิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ 1 ส่วน แบ่งจ่ายให้คนละเท่ากัน
6.2 บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดให้เป็นผู้รับ
บำเหน็จตกทอด โดยให้ได้รับตามส่วนที่ผู้ตายกำหนดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลัง
กำหนด
กรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทตามกฎหมายและไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาระบุ
ตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติลง
อ้างอิงสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ
ระเบียบเพิ่มเติมใหม่ การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลข้าราชการ

28 ก.ค. 2557 เวลา 00:02 | อ่าน 248,788 | อัพเดทล่าสุด 22 ธ.ค. 2561 เวลา 22:55


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
51 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
89 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
89 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
312 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
315 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
634 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,353 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
710 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน