ยาเลื่อนประจำเดือน ที่นี้มีคำตอบโดย บทความรู้เผยแพร่สู่ประชาชนของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

14 ส.ค. 2557 เวลา 10:35 | อ่าน 8,039
 
การมีประจำเดือนในช่วงเวลาที่ไม่ต้องการให้มี คงเป็นเรื่องกวนใจสาวๆ หลายคน เช่น บางคนกำลังจะไปเที่ยวทะเลและดำน้ำกับเพื่อนๆ หรือ บางคนวางแผนว่าจะไปเล่นสาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์ แต่นึกขึ้นได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นช่วงที่มีประจำเดือนพอดี ประกอบกับปัจจุบัน มีการกล่าวถึงยาเลื่อนประจำเดือนกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น หรือจากคำแนะนำของเพื่อน จึงมีแนวโน้มทำให้หลายๆ คนเลือกที่จะพึ่งยาเลื่อนประจำเดือนมากขึ้น ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับยาเลื่อนประจำเดือนกันดูว่าจริงๆ แล้วทุกคนจะสามารถใช้ยาเลื่อนประจำเดือนนี้ได้ตามความต้องการหรือไม่ และใช้อย่างไร

ยาเลื่อนประจำเดือนที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เป็นยาเม็ดที่มีตัวยาสำคัญ คือ นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน (Norethisterone) ในขนาด 5 มิลลิกรัม ซึ่งชื่อการค้าที่คุ้นเคย คือ ปรี-โม-ลุท-เอ็น (Primolut® N) ยานี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน และมีข้อบ่งใช้ในการรักษาความผิดปกติของรอบเดือนหลายชนิด เช่น กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือเรียกย่อๆ ว่า พี-เอ็ม-เอส (premenstrual syndromes: PMS) ซึ่งมักมีอาการปวดศีรษะหรืออารมณ์หงุดหงิดก่อนมีประจำเดือน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) และเนื่องจากยามีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน (จนกว่าจะหยุดยา) จึงมีข้อบ่งใช้ในการเลื่อนประจำเดือนด้วย อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาชนิดนี้ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย ซึ่งขออธิบายโดยการตอบข้อสงสัยที่รวบรวมจากคำถามตามหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้

1. ผู้หญิงทุกคน สามารถรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่?
ยา นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน โดยห้ามใช้ยานี้ในคน 5 กลุ่ม ต่อไปนี้

* กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากยาอาจทำให้ทารกในครรภ์ที่เป็นเพศหญิงมีการพัฒนาอวัยวะเพศภายนอกคล้ายกับเพศชายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุครรภ์เดือนครึ่งเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาของอวัยวะเพศ

* กำลังให้นมลูกด้วยน้ำนมตัวเอง เนื่องจากยาสามารถปนออกมากับน้ำนมของแม่ จึงอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อลูกได้

* มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีประวัติการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน เนื่องจากการใช้ยาในกลุ่มคนเหล่านี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน (ตัวอย่างผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น)

* เคยเป็นหรือกำลังเป็นโรคตับขั้นรุนแรง เนื่องจากยาถูกกำจัดที่ตับ หากตับทำงานไม่ดีอาจทำให้ยาสะสมในร่างกายได้ นอกจากนี้ มีรายงานการเกิดตับอักเสบจากการใช้ยานี้

* เคยเป็นหรือกำลังเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งที่อวัยวะเพศ ชนิดที่ไวต่อฮอร์โมน เนื่องจากยาอาจส่งเสริมการโตของเนื้อร้ายเหล่านี้

2. เริ่มรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน ก่อนประจำเดือนมาแค่ 1 วัน หรือตอนที่กำลังมีประจำเดือนได้หรือไม่?
คำแนะนำในการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน คือ ควรเริ่มรับประทานอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง (เช้าและเย็น) หรือวันละ 3 ครั้ง (เช้า กลางวัน และเย็น) ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ยานานเกิน 2 สัปดาห์ และจะมีประจำเดือนภายใน 2-3 วันหลังจากหยุดยา ดังนั้น การรับประทานยาก่อนประจำเดือนมาแค่ 1 วัน หรือตอนที่กำลังมีประจำเดือน ซึ่งเยื่อบุโพรงมดลูกได้หลุดลอกออกมาแล้ว ยาจึงอาจมีผลเพียงช่วยลดปริมาณและจำนวนวันของการมีประจำเดือนให้น้อยลง แต่หลังจากหยุดยา จะทำให้มีประจำเดือนซ้ำอีกในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน

3. การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน จะส่งผลต่อการมาของประจำเดือนในรอบถัดไปหรือไม่?
แน่นอนว่าการเลื่อนประจำเดือนออกไป เปรียบเสมือนเป็นการตั้งรอบเดือนใหม่ นั่นคือ หากมีประจำเดือนหลังจากหยุดยานี้ในวันไหน ประจำเดือนรอบถัดไปก็จะมาประมาณช่วงนั้น ถ้าไม่มีความผิดปกติอื่นใด

4. หยุดรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนหลายวันแล้ว แต่ประจำเดือนยังไม่มา ควรทำอย่างไร?
อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้จากยา นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน คือ อาจทำให้ประจำเดือนไม่มาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากหยุดใช้ยาเกิน 1 สัปดาห์แล้วประจำเดือนยังไม่มา ควรตรวจการตั้งครรภ์ (ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนใช้ยานี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิดในเดือนนั้นๆ) อีกทั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสม

5. ระหว่างที่รับประทานยาเลื่อนประจำเดือนอยู่ แล้วมีเพศสัมพันธ์ จะตั้งครรภ์หรือไม่?
เนื่องจากการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน จะเริ่มใช้อย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงปลายของรอบเดือน (ผ่านช่วงไข่ตกมาแล้ว) โอกาสการตั้งครรภ์จึงอาจพบน้อย อย่างไรก็ตาม มีโอกาสน้อยไม่ได้หมายความว่าไม่มีโอกาส ดังนั้น ควรใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิดร่วมด้วย

6. ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ แต่รับประทานยาเลื่อนประจำเดือน จะมีผลเสียอย่างไรหรือไม่?
ตามที่ระบุในข้อ 1 ว่ายาอาจมีผลต่อการพัฒนาอวัยวะเพศภายนอกของทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้พบเหตุการณ์ดังกล่าวในทุกกรณี อีกทั้งยังไม่มีรายงานว่ายาทำให้ทารกพิการด้านอื่นๆ ดังนั้น หากพบว่าตั้งครรภ์ อย่าเพิ่งตกใจ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อติดตามพัฒนาการพร้อมทั้งวางแผนการดูแลทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เช่น ไม่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือถุงยางอนามัย เป็นต้น ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนที่จะใช้ยาเลื่อนประจำเดือน

7. รับประทานยาคุมกำเนิดอยู่ แล้วจะใช้ยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่?
ในผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอยู่ หากจำเป็นต้องเลื่อนประจำเดือน สามารถใช้ยาคุมกำเนิดในการเลื่อนประจำเดือนได้ (มีผลทั้งคุมกำเนิดและเลื่อนประจำเดือน) ทั้งนี้ ใช้หลักการเดียวกับยา นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน คือ ให้รับประทานเฉพาะเม็ดที่ประกอบด้วยตัวยาต่อไป (ไม่ใช่เม็ดยาหลอกที่บางคนเรียกว่าเม็ดแป้ง) เพื่อไม่ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมา ซึ่งวิธีการใช้ยาขึ้นกับตำรับยาคุมกำเนิดแต่ละชนิด ดังตัวอย่างที่แสดงในตารางด้านล่าง นอกจากนี้ ยังมีตำรับแบบอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งหากมีข้อสงสัยว่ายาคุมกำเนิดที่ท่านรับประทานอยู่จะสามารถใช้เลื่อนประจำเดือนได้อย่างไร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้

ยาเลื่อนประจำเดือน 1 ยาเลื่อนประจำเดือน 2

8. รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในช่วงเวลาใกล้ๆกับยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่?
เนื่องจากทั้งยาคุมกำเนิดฉุกเฉินและยาเลื่อนประจำเดือน มีตัวยาอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน ซึ่งเมื่อหยุดยาจะทำให้มีเลือดออกมาเหมือนกัน ดังนั้นการใช้ยาทั้งสองชนิดในเวลาใกล้เคียงกัน เช่น ในเดือนเดียวกัน เป็นต้น นอกจากจะทำให้เสียเลือดบ่อยกว่าคนอื่น ยังมีผลให้รอบเดือนผิดปกติได้ ทั้งนี้ หากมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งและไม่พร้อมตั้งครรภ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง หรือเปลี่ยนมาใช้ยาคุมกำเนิดแบบปกติจะเหมาะสมกว่า (และหากจำเป็นต้องเลื่อนประจำเดือน สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำในข้อ 7)

9. รับประทานยาเลื่อนประจำเดือนบ่อยๆ จะมีผลเสียหรือไม่?
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยจากการใช้ยา นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน คือ ประจำเดือนผิดปกติ เช่น รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาถี่แต่มาแบบกะปริบกะปรอย หรือบางรายอาจประจำเดือนไม่มาเลย ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ยาเพื่อเลื่อนประจำเดือนบ่อยๆ นอกจากนี้ อาการอื่นที่อาจพบ ได้แก่ ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม คลื่นไส้และเวียนศีรษะ เป็นต้น ส่วนอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงต่างๆ ตามที่ระบุเป็นข้อห้ามใช้ในข้อ 1. อาจพบได้น้อย
โดยสรุปแล้ว การใช้ยาเลื่อนประจำเดือนนั้น ควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่ามีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ (ไม่ใช่เพียงตามความต้องการ) และต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียจากการใช้ยานี้

เอกสารอ้างอิง Primolut N [Bayer]. c2014 [updated 2013 Apr 8; cited 2014 May 29]. Available from http://www.bayerresources.com.au/resources/uploads/PI/file9462.pdf Pigarelli DL, Kraus CK, Potter BE. Pregnancy and lactation: Therapeutic considerations. In: Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach, 7th ed. Dipiro JT, Talbert RL, Yee GC, et al., eds. New York: McGraw-Hill; 2008:1297-1311.
Dickerson LM, Shrader SP, Diaz VA. Contraception. In: Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach, 7th ed. Dipiro JT, Talbert RL, Yee GC, et al., eds. New York: McGraw-Hill; 2008:1313-1327.
Greenblatt RB, Jungck EC. Delay of menstruation with norethindrone, an orally given progestational compound. J Am Med Assoc. 1958;166(12):1461-1463.
James AH, Kouides PA, Abdul-Kadir R, et al. Evaluation and management of acute menorrhagia in women with and without underlying bleeding disorders: consensus from an international expert panel. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2011;158(2):124-134.
Anand V, Gorard DA. Norethisterone-induced cholestasis. QJM. 2005;98(3):232-234.
de Voogd WS. Postponement of withdrawal bleeding with a monophasic oral contraceptive containing desogestrel and ethinylestradiol. Contraception. 1991;44(2):107-112.
Hamerlynck JV, Vollebregt JA, Doornebos CM, Muntendam P. Postponement of withdrawal bleeding in women using low-dose combined oral contraceptives. Contraception. 1987;35(3):199-205.
Oilezz [MIMS Thailand]. c2014 [cited 2014 May 29]. Available from https://www.mims.com.tw/Thailand/drug/info/Oilezz/?type=full#Indications Information on Yaz [Bayer]. c2014 [cited 2014 May 29]. Available from www.bayerpharma.se/ebbsc/cms/sv/_galleries/download/bestallning/YAZ_patientinfo_ENG.pdf
อ้างอิงเนื้อหาจากเว็บ


14 ส.ค. 2557 เวลา 10:35 | อ่าน 8,039
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
23 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
90 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
659 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
623 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
132 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
73 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
183 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
652 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
850 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
120 25 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...