ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในวัยต่างๆ...

22 ต.ค. 2557 เวลา 19:14 | อ่าน 9,392
 
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกาย โดยร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน หน้าที่สำคัญ เช่น พัฒนาและสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาท การปลดปล่อยฮอร์โมน เป็นต้น1,2 ร่างกายจะมีกลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้สมดุล หากในเลือดมีระดับแคลเซียมต่ำ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกเพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด ปกติร่างกายจะไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้เอง จึงต้องรับประทานเข้าไปเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ถูกนำไปใช้หรือถูกขับทิ้งออกจากร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้1,3 โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบางและมีโอกาสหักได้ง่าย โดยคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้น และอัตราการสูญเสียจะเพิ่มขึ้นทุกปี
โรคความดันโลหิตสูง มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทานแคลเซียมน้อยกว่าคนปกติ และระดับแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง เพราะแคลเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการก่อนมีประจำเดือน เช่น ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อยากอาหาร เป็นต้น โดยมีการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่รับประทานแคลเซียมขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน จะลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ร้อยละ 50

กระทรวงสาธารณสุขกำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันสำหรับกลุ่มอายุต่างๆ4 ดังต่อไปนี้

อายุ : 0-5 เดือน
ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 210
เด็กอายุระหว่าง 0-5 เดือน

อายุ : 6-11 เดือน
ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 270
เด็กอายุระหว่าง 6-11 เดือน

อายุ : 1-3 ปี
ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 500
เด็กอายุระหว่าง 1-3 ปี

อายุ : 9-18 ปี
ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 1,000
เด็กอายุระหว่าง 9-18 ปี

อายุ : 19-50 ปี
ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 800
อายุระหว่าง 19-50 ปี

อายุ : 50 ปีขึ้นไป
ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 1,000
อายุ 50 ปี ขึ้นไป

หญิงตั้งครรภ์ ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 800
หญิงตั้งครรภ์

หญิงให้นมบุตร ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม) : 800
หญิงให้นมบุตร


แหล่งของแคลเซียมที่ได้รับ อาจมาจากการรับประทานอาหาร เช่น นม ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งกระดูก กุ้งฝอย กุ้งแห้ง กะปิ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ (ยกเว้นเต้าหู้ไข่) เป็นต้น หรือรับประทานยาเม็ดแคลเซียม แต่ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมจะมีความแตกต่างกันที่รูปเกลือ ซึ่งจะให้ปริมาณแคลเซียมที่ไม่เท่ากัน5 ดังต่อไปนี้
ปริมาณแคลเซียมในรูปเกลือต่างๆ/>
ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นแคลเซียมในรูปเกลือคาร์บอเนต ซึ่งให้แคลเซียมได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 40 ดังนั้นในผู้สูงอายุ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,000 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 800 มิลลิกรัมตามความต้องการ หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ จะต้องรับประทานผลิตภัณฑ์ยาแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 2,500 มิลลิกรัม จึงจะได้แคลเซียม 1000 มิลลิกรัมตามความต้องการ นอกจากรูปเกลือที่ต่างกันแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดแคลเซียมยังมีหลายรูปแบบ คือ ยาเม็ดแข็ง ยาเม็ดฟู่ และยาแคปซูล หากต้องการรับประทานยาเม็ดแคลเซียมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อมูลจาก บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์
พิชญ์ภิญญาณ์ แก้วปานันท์
นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เอกสารอ้างอิง Calcium [Internet]. Baltimore: University of Maryland Medical Center (UMMC); 2013. Available from: http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/calcium. Accessed 2014 May 23.
Calcium dietary supplement fact sheet [Internet]. Bethesda: National institutes of health (NIH); 2013. Available from: http://ods.od.nih.gov/factsheets/CalciumHealthProfessional/. Accessed 2014 May 23.
Standing committee on the scientific evaluation of dietary reference intakes, food and nutrition board, Institute of medicine. Dietary reference intakes for calcium, phosphorus, magnesium, vitamin D and fluoride [Internet]. Washington, DC: National Academy Press; 1997. Available from: http://books.nap.edu/openbook.php?record_id=5776&page=90. Accessed 2014 May 25.
แนวทางเวชปฏิบัติเรื่อง โรคกระดูกพรุน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548. ที่มา: http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2548/15.pdf. วันที่อ้างถึง 23 พ.ค. 2557.
บุษบา จินดาวิจักษณ์. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน: ยารักษาโรคกระดูกพรุน ใช้อย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553. ที่มา:http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=30 วันที่อ้างถึง 25 พ.ค. 2557.


22 ต.ค. 2557 เวลา 19:14 | อ่าน 9,392
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
10 23 พ.ย. 2567
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยถูก
67 22 พ.ย. 2567
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2568
90 21 พ.ย. 2567
นายกฯ แพทองธารนั่งหัวโต้ะ คกก.ศก.ชุดใหญ่ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตใหญ่ครบวงจรเน้น “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้หนี้ปชช. กระตุ้นลงทุน” มั่นใจปีหน้าศก. ไทยกลับคึกคัก
33 19 พ.ย. 2567
มติยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เปลี่ยนเป็นช่วยชาวนาไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ พร้อมชง 2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิต เสนอ นบข.
31 19 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2567
60 17 พ.ย. 2567
มติคณะรัฐมนตรี การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 และภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2568
218 12 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2567
46 10 พ.ย. 2567
ไทยแลนด์ น่าท่องเที่ยวหลังเว็บดังยกขึ้นเบอร์หนึ่งที่มีการจองบินมาในระดับโลก
42 9 พ.ย. 2567
ธอส. เปิดให้ผู้ประกันตนโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 ยื่นขอสินเชื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นี้ พร้อมเพิ่มความสะดวก เปิดบริการในวันเสาร์ - อาทิตย์นี้ทุกสาขา
70 7 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...