เช็ก คำถาม 14 ข้อ คุณเข้าข่าย อัลไซเมอร์ หรือไม่ รีบประเมินก่อนสมองเสื่อม

5 พ.ย. 2557 เวลา 10:16 | อ่าน 9,446
 
"อัลไซเมอร์" โรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่ปัจจุบันเป็นภาวะที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ รุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมก็ควรทำความเข้าใจด้วยว่า ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะหลงลืม ก้าวร้าว หรือหงุดหงิดเช่นพฤติกรรมที่แสดงออกมา
รูปหมอการ์ตูน

แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่า การดูแลคนสมองเสื่อมเป็นเรื่องยาก การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่ทุก ๆ คนต้องร่วมกัน เพียงแค่การพูดคุยกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ มีการถามข่าวคราวบ้าง หากบางทีเขามีอาการน้อยใจต้องรีบคุย หาทางแก้ปัญหา นั่นก็เป็นวิธีหนึ่งแล้ว หรือจะพาผู้ป่วยออกมาเจอสังคม จะทำให้เขารู้สึกสดชื่นขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม คำว่า "กันไว้ย่อมดีกว่าแก้" ยังคงใช้ได้เสมอ การรู้เท่าทันต้นสายปลายเหตุของโรคก็ถือเป็นการป้องกันโรคได้อีกทางหนึ่ง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมของอาการแรกเริ่มก็เป็นเรื่องที่ควรกระทำเช่นกัน

โดยระยะแรกจะดูได้จากการหลงลืมในเรื่องง่ายๆ ต่อมาจะเริ่มเรียกชื่อสิ่งของไม่ค่อยถูก เช่น ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เรียกว่า "ปากกา" รู้แต่ว่ามันสามารถใช้ขีดเขียนได้ ต่อมาจะพูดรู้เรื่องน้อยลง และท้ายสุดอาจถึงขั้นที่ว่าจะไม่สามารถพูดได้เลย

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยมักจะไม่สามารถแยกแยะทิศทางด้านซ้ายหรือด้านขวาได้ ไม่สามารถเขียนแผนที่ หรืออธิบายเส้นทางอย่างชัดเจนได้ เนื่องจากจินตนาการความคิดจะเริ่มหายไป อีกกรณีหนึ่งคือการเล่าเรื่องซ้ำ ๆ ถามอะไรซ้ำ ๆ ซึ่งผู้อยู่รอบข้างอาจรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญกับพฤติกรรมดังกล่าว อาการที่ถือว่าหนักสุด คือการที่ไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นใคร จำชื่อ-นามสกุลไม่ได้ และคนไข้จะรู้สึกว่าตัวเองมีอายุน้อยลง แล้วท้ายสุดจะจำใครไม่ได้เลย แต่จะมีความรู้สึกคุ้น ๆ ว่าเป็นลูกหลานคนใกล้ตัว หรือคนรู้จักกัน

หรือสามารถเทสต์แบบทดสอบ "อัลไซเมอร์ เช็ก" ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ www.thaimemorytest.com ที่แนะนำโดยบริษัท เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เป็นแบบทดสอบซึ่งแปลจากบทความใน British Medical Association ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีคำถามทั้งหมด 14 ข้อเกี่ยวกับสิ่งที่พบเจอได้บ่อยในกิจวัตรประจำวัน เกณฑ์การให้คะแนนอยู่ที่ความถี่ต่อพฤติกรรมนั้น ๆ เมื่อรวมคะแนนแล้วจะมีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 56 คะแนน หากทดสอบได้ 40 คะแนนขึ้นไปควรพบแพทย์ เพราะมีแนวโน้มสูงที่จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์

งานนี้ใครที่หลงลืม อยู่บ่อย ๆ รีบเข้าเว็บไซต์ไปเช็กให้ชัวร์ !

(ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1414843517


5 พ.ย. 2557 เวลา 10:16 | อ่าน 9,446
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 เมษายน 2568
91 20 เม.ย. 2568
เตือน!!! หลังเล่นน้ำสงกรานต์ เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต แนะนำหากมีอาการรีบพบแพทย์
136 19 เม.ย. 2568
เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นทท.ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตรตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.
26 19 เม.ย. 2568
เตือนคุณครู..!! เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะ ครูรีบต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
124 19 เม.ย. 2568
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อจริงๆ แล้วควรหยุดพักจริงไหม?
38 17 เม.ย. 2568
ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 2568 ใช้ในปัจจุบัน
458 17 เม.ย. 2568
สงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% รัฐบาลยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
127 16 เม.ย. 2568
สงกรานต์ไป-กลับต้องปลอดภัย! รัฐบาลสั่งเข้มดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยวเสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
166 16 เม.ย. 2568
เตือน! นักดื่ม มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี แนะทานยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง รับบริการได้ที่ รพ.สังกัด สธ.
192 16 เม.ย. 2568
ปลัด สธ. แถลงอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 211 ครั้ง ส่วนใหญ่จากขับรถเร็วเกิน เตือนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้ง่วงและเกิดอุบัติเหตุได้
60 12 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...