"ศิริราช"สุดเจ๋ง! คิดค้นวิธีแยก"สเต็มเซลล์บริสุทธิ์"ในน้ำคร่ำ ได้ครั้งแรกของโลก เพื่อรักษาโรคในอนาคต

19 ต.ค. 2555 เวลา 08:38 | อ่าน 4,352
 
images by free.in.th เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 ตุลาคม ที่โรงพยาบาลศิริราช ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว "ครั้งแรกของโลก ศิริราชคิดค้นการแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำ เพื่อใช้รักษาโรคในอนาคต" โดยมี ศ.คลินิก.นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าว


รศ.นพ.สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาทางการแพทย์ กล่าวว่า หน่วยวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษาทางการแพทย์ ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาวิจัยพัฒนาสเต็มเซลล์ต้นกำเนิดในการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้จริง ซึ่งสเต็มเซลล์ถือเป็นความหวังทางการแพทย์ที่จะนำมารักษาโรคที่มีสาเหตุจากการเสื่อมถอยของเซลล์ เพราะสเต็มเซลล์มีคุณสมบัติพิเศษคือแบ่งตัวได้ไม่จำกัด สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ในร่างกายได้ นำมาปลูกถ่ายอวัยวะทดแทนได้ อาทิ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์คินสัน โรคเบาหวาน และโรคเลือด เป็นต้น


"ในปี 2547 ได้มีรายงานการค้นพบสเต็มเซลล์ชนิดเซนไคม์ในน้ำคร่ำระหว่างที่มารดามีอายุครรภ์เพียง 3-4 เดือน ซึ่งในระยะนั้นน้ำคร่ำจะประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมากที่มาจากตัวทารกในครรภ์ หรือเยื่อหุ้มรก ทำให้สเต็มเซลล์ในน้ำคร่ำมีความอ่อนวัยกว่าและมีศักยภาพที่ดีกว่าสเต็มเซลล์ตัวเต็มวัย ซึ่งถือได้ว่าสเต็มเซลล์ในน้ำคร่ำมีคุณสมบัติที่อยู่ตรงกลางระหว่างสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนและจากตัวเต็มวัย คือสามารถมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ได้ ปลูกถ่ายแล้วไม่เป็นเนื้องอก และไม่มีข้อโต้แย้งทางจริยธรรม" รศ.นพ.สุภักดีกล่าว


ด้าน ดร.ทัศนีย์ เพิ่มไทย หัวหน้าโครงการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดฯ ภาควิชาสูติศาสตร์ -นรีเวชวิทยา ผู้คิดค้นผลงานวิธีการแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำ กล่าวว่า สเต็มเซลล์ในน้ำคร่ำมีศักยภาพที่อยู่ระหว่างสเต็มเซลล์ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย มีคุณสมบัติเด่นคือที่เหมือนสเต็มเซลล์ตัวอ่อนแต่ไม่พบในตัวเต็มวัยชนิดใดๆ คือ สามารถแบ่งเซลล์จากหนึ่งเซลล์เป็นหลายแสนล้านเซลล์ได้ แต่สเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำยังเป็นเซลล์ที่อ่อนวัย จึงยังไม่แสดงลักษณะเฉพาะของภูมิคุ้มกันที่ชัดเจน ทำให้ไม่มีปัญหาการต่อต้านและปฏิเสธเซลล์ เมื่อนำไปใช้ปลูกถ่ายโรคให้แก่ผู้อื่น สำหรับน้ำคร่ำที่นำมาใช้ศึกษามาจากหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 4 เดือน หากอายุครรภ์น้อยกว่านี้ยังมีน้ำคร่ำน้อย และยังพบว่าอายุครรภ์ที่ครบกำหนดก็มีสเต็มเซลล์อยู่เช่นกัน


ดร.ทัศนีย์กล่าวอีกว่า ปัญหาของสเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำคือ มีอัตราส่วนร้อยละ 0.1 ของเซลล์ที่ลอยปะปนในน้ำคร่ำ หรือ 1 ใน 1,000 เซลล์ การวิจัยในครั้งนี้จึงได้ติดค้นกรรมวิธีที่เรียกว่า Starter Cell หรือการใช้เซลล์เริ่มต้น เพื่อแยกสเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำ มีหลักการคือให้สเต็มเซลล์ทั้งหมดในน้ำคร่ำแบ่งตัวเพิ่มจำนวนออกมาจากสเต็มเซลล์เริ่มต้นเพียง 1 เซลล์ ให้ได้ประชากรสเต็มเซลล์ในศักยภาพเดียวกันทั้งหมด จากนั้นควบคุมศักยภาพสเต็มเซลล์โดยการป้องกันไม่ให้ถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เพื่อคัดเลือกและแยกสเต็มเซลล์ที่มีคุณภาพดีเพียงหนึ่งเซลล์ออกมา ใช้เป็นเซลล์เริ่มต้น ที่มีความหนาแน่นดี มีการเพิ่มปริมาณขององค์ประกอบภายในเซลล์และโปรตีน ซึ่งได้ออกแบบวิธีการสังเกตคุณลักษณะดังกล่าวได้จากระยะเวลาที่เซลล์ลงเกาะภาชนะเพาะเลี้ยง พบว่าเซลล์เริ่มต้นเพียงหนึ่งเซลล์จะถูกเพาะเลี้ยงให้เพิ่มจำนวนขึ้นจากหนึ่งเซลล์ได้เป็นหลายแสนล้านเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเป็นประชากรสเต็มเซลล์ที่มีความบริสุทธิ์สูงและเพื่อจะควบคุมศักยภาพของสเต็มเซลล์จากน้ำคร่ำไว้ให้อยู่ในคุณภาพเดียวกับ “เซลล์เริ่มต้น” จึงต้องนำเซลล์อื่นที่ปะปนอยู่ในน้ำคร่ำออกทันที



ลักษณะเด่นของสเต็มเซลล์ที่ได้คือสามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วคงที่ยาวนาน และให้ผลผลิตเร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 5 เท่า คือ หนึ่งเซลล์ใช้เวลาผลิตให้ได้หนึ่งแสนล้านเซลล์ ภายใน 2 สัปดาห์ จึงทันต่อการรักษา จากวิธีเดิมที่ต้องใช้วลา 2-3 เดือน อีกทั้งสเต็มเซลล์ที่ได้ไม่มีการปนเปื้อนและตกค้างของวัสดุหรือสารแปลกปลอม ทำให้เกิดโอกาสการรักษาแนวใหม่ในทารกระยะก่อนคลอด ด้วยการใช้สเต็มเซลล์ของตัวทารกเองในน้ำคร่ำมาแก้ไขความผิดปกติและปลูกถ่ายกลับให้แก่ทารกเอง


ศ.คลินิก.นพ.อุดมกล่าวว่า การวิจัยในครั้งนี้จึงถือว่าเป็นการคิดค้นวิธีการคัดแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำให้เป็นสเต็มเซลล์บริสุทธิ์ ครั้งแรกของโลก ซึ่งยังไม่ใครคิดค้นได้มาก่อน ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ได้รับการยอมรับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ และได้จดสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยมหิดลไว้แล้ว พร้อมทั้งได้รับรางวัลผลงานการประดิษฐ์คิดค้นจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปี 2555 ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแสดงและนำเสนอในเวทีระดับโลกในงานแสดงผลงานประดิษฐ์คิดค้นนานาชาติ ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ปลายเดือนพฤศจิกายน ขณะนี้การศึกษาสเต็มเซลล์ในน้ำคร่ำอยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ หากได้ผลดีจะเริ่มทดลองในคนต่อไป คาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่กี่ปีจะสามารถนำมาใช้รักษาโรคกับคนได้ นอกจากนี้ทางศิริราชจะจัดตั้งธนาคารสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ได้จากการตั้งครรภ์ เช่น น้ำคร่ำ รก และสายสะดือเป็นแห่งแรกในไทย ให้เป็นแหล่งสำรองไว้ใช้ในอนาคต


ข้อมูลจาก www.matichon.co.th วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 21:02:12 น.


19 ต.ค. 2555 เวลา 08:38 | อ่าน 4,352
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
23 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
90 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
652 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
614 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
132 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
73 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
182 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
645 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
845 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
120 25 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...