หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการเสียภาษีของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษีบุคคลธรรมดา
ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ แต่มีภาษีอยู่เรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและกำลัง
จะถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการในไม่ช้านี้ นั่นก็คือร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. .... โดย
ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดหลักเกณฑ์การเสียภาษีของกฎหมายฉบับนี้เพื่อทำความเข้าใจก่อนที่
จะถึงวันบังคับใช้จริง
กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้
บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีดังนี้
(1) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(2) บุคคล
ธรรมดาที่มิได้มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(3) บุคคลผู้มิได้มี
สัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินอยู่ในไทย อย่างไรก็ดี ผู้ที่ได้รับมรดกเป็นบุคคลตาม (1) (2)
ต้องเสียภาษีจากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งที่อยู่ในไทยและต่างประเทศ แต่ถ้าเป็นบุคคลตาม (3)
เสียเฉพาะทรัพย์สินที่อยู่ในไทยเท่านั้น อย่างไรก็ดี บุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษียังให้รวมถึงในกรณีที่ผู้รับมรดก
เป็นนิติบุคคลด้วย โดยหากนิติบุคคลดังกล่าวจดทะเบียนในไทยหรือจัดตั้งตามกฎหมายไทย หรือมีมีสัญชาติ
ไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือมีผู้มีสัญชาติไทยมีอำนาจบริหารเกินกึ่งหนึ่งของกิจการ
ให้ถือเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตาม (1)
สำหรับ
ทรัพย์มรดกที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนั้น ให้รวมถึงทรัพย์มรดกอันได้แก่
อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินฝากหรือเงินอื่นใด
ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ นอกจากนี้ ยังให้รวมถึง
ยานพาหนะทุกชนิดที่มีหลักฐานทางทะเบียน และทรัพย์สินทางการเงินที่กฎหมายอาจมีการกำหนดเพิ่มเติม
ในอนาคต โดยทรัพย์มรดกที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ต้องนำมาคำนวณรวมกันเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ชีวิต
ในส่วนของ
อัตราการจัดเก็บนั้น กฎหมายได้ก าหนดว่าผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกไม่ว่าจะรับมา
ในคราวเดียวหรือหลายคราวแต่ถ้ารวมกันแล้วมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีร้อยละ 10 เฉพาะ
ส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานให้
เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกส่วนที่เกิน โดยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
และช าระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดก อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถ
ผ่อนชำระภาษีภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีได้ และเมื่อได้ชำระภาษีครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้วจะได้รับ
ยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม แต่ในกรณีที่ผ่อนชำระภาษีเกิน 2 ปี ต้องเสียเงินเพิ่มบางส่วนตามที่กฎหมาย
กำหนด
อย่างไรก็ดีกฎหมายได้
ยกเว้นการเก็บภาษีมรดกโดยไม่ใช้บังคับแก่เจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่
กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ และมรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดกด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อยกเว้น
ที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกในกรณีที่
(ก) มรดกที่เจ้ามรดกมีความประสงค์ให้ใช้มรดกเพื่อกิจการศาสนา
การศึกษา หรือสาธารณประโยชน์
(ข) หน่วยงานรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับ (ก) และ
(ค) บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ไทยมีต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมาย
ระหว่างประเทศ
เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. .... จึงได้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ภาษีการรับให้) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ได้รับโอนมีหน้าที่เสียภาษีจากการรับทรัพย์นั้น ในอัตราร้อยละ 5 ตั้งแต่บาทแรกของมูลค่าทรัพย์ โดยให้
ยกเว้นใน 4 กรณีดังต่อไปนี้
กรณีที่หนึ่ง การให้อสังหาริมทรัพย์กับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่มีมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท
กรณีที่สอง เงินที่ได้รับจากการอุปการะหรือการให้จากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสที่มีจ านวนไม่เกิน 20 ล้านบาท
กรณีที่สาม เงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือการให้เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม
ประเพณีที่ไม่ใช่จากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส จ านวนไม่เกิน 10 ล้านบาท
กรณีที่สี่ เงินที่ได้มีความประสงค์เพื่อศาสนา การศึกษา สาธารณประโยชน์
โดยถ้าเงินได้ที่ได้รับเกิน 4 กรณีดังกล่าว จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของส่วนที่เกินมูลค่าหรือจำนวนดังกล่าว
ดังนั้น จากกรณีข้างต้น หากผู้รับได้รับเงินเกินจำนวนที่กฎหมายก าหนดจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของส่วนที่เกิน
นั่นเอง
... เมื่อรู้อย่างนี้แล้วใครมีเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
การรับมรดกและภาษีการรับให้ก็ทำหน้าที่ของตนเอง
ด้วยนะจ๊ะจะได้ช่วยกันลดความเลื่อมล้ำ และกระจาย
ทรัพยากรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมต่อไป ...
บทความกฏหมายน่ารู้จาก สศค. โดย นางธัญลักษณ์ สะตางาม