ส่วนประกอบและสรรพคุณยาอมแก้ไอ ยาอมแก้เจ็บคอ

22 มิ.ย. 2558 เวลา 13:46 | อ่าน 9,962
 
เมื่อมีอาการเจ็บคอ หรือมีอาการไอ หลายคนเดินเข้ามาร้านยาเพื่อที่จะหาซื้อยาอมบรรเทาอาการดังกล่าว ซึ่งร้านยาบางร้านมักวางไว้บนชั้นรวมกับสินค้าอื่นๆที่สามารถเลือกหยิบได้ง่ายตามใจชอบ เช่น วางใกล้กับลูกอม เป็นต้น แต่ก่อนที่จะหยิบซื้อยาอมแต่ละครั้ง ท่านเคยอ่านฉลากยาบนซองยาอมเหล่านั้นบ้างหรือไม่? บางคนต้องการซื้อครั้งละหลายแผง เพื่อจะเก็บไว้ให้คนในบ้านใช้ด้วย หรือซื้อไปฝากคนอื่นที่มีอาการคล้ายกับตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น บางคนเล่าว่าจะซื้อไปอมเล่น เพราะรสชาติอร่อย เป็นต้น แต่จริงๆแล้ว ยาอมเหล่านี้ สามารถใช้ได้ตามความต้องการหรือไม่? เรามาดูกันว่ายาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ เป็นยาประเภทใด และต้องคำนึงถึงอะไรบ้างเมื่อใช้ยาเหล่านี้ ทั้งนี้ ในบทความนี้ไม่ได้หมายรวมถึงยาอมสมุนไพร

1. ส่วนประกอบในยาอมแก้เจ็บคอ มีอะไรบ้าง
ยาอมแก้เจ็บคอ ส่วนใหญ่จะมียาผสมกันอยู่หลายชนิด (ดังแสดงในตาราง) ซึ่งแบ่งออกเป็น
ยาอมแก้เจ็บคอ

● ยาบรรเทาความรู้สึกเจ็บในลำคอ เช่น ยาชาเฉพาะที่ หรือยาแก้ปวด ลดการอักเสบ

● สารฆ่าเชื้อ/ทำให้ปราศจากเชื้อ เพื่อรักษาความสะอาดในช่องปากและลำคอ

● ยาปฏิชีวนะ (หรือเรียกง่ายๆว่า ยาฆ่าเชื้อ) การผสมยาปฏิชีวนะในยาอมมีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาน้อยมาก อีกทั้ง อาการเจ็บคอสามารถเกิดได้จากทั้งการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ โดยกรณีติดเชื้อส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส เช่น เจ็บคอจากโรคหวัด เป็นต้น ซึ่งสามารถหายได้เอง (ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ) แต่หากสาเหตุของการเจ็บคอมาจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น คอหอยอักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กรุ๊ปเอ ซึ่งมักมีไข้สูงร่วมกับอาการเจ็บคอมาก เป็นต้น ยาหลักในการรักษาที่มีงานวิจัยสนับสนุนชัดเจน ได้แก่ ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานบางชนิด เท่านั้น

● อื่นๆ เช่น วิตามินซี เป็นต้น

2. ส่วนประกอบในยาอมแก้ไอ มีอะไรบ้าง
ปัจจุบันมียา 2 ชนิด ที่ผลิตเป็นยาอมแก้ไอ ได้แก่ ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) สำหรับอาการไอแห้ง และยาแอมบรอกซอล (ambroxol) สำหรับไอมีเสมหะ แต่ปริมาณยาในยาอม 1 เม็ดจะมีน้อยกว่ายาเม็ดสำหรับรับประทาน

3. ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ใช้อย่างไร
ยาอมเป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ หรืออาการไอ โดยยาบางชนิดถูกจัดเป็นยาอันตราย ซึ่งต้องจ่ายและให้คำแนะนำการใช้จากแพทย์หรือเภสัชกร ขณะที่บางชนิดจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งผู้ป่วยสามารถหยิบเลือกซื้อได้เอง (ดังแสดงในรูปภาพ)
ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ

นอกจากนี้ บนฉลากยายังระบุสรรพคุณ ชื่อยา ปริมาณ และวิธีใช้ไว้อย่างชัดเจน ไม่ใช่อมเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ เพราะอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ เช่น

● ยาเฟอร์บิโพรเฟน (flurbiprofen) ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หากใช้ขนาดสูงเกินไป อาจทำให้เกิดแผลและมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหารอยู่แล้ว

● การใช้ยาแก้ไอเดกซ์โทรเมทอร์แฟนขนาดสูง อาจทำให้ง่วงซึม ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากยานยนต์หรือจากการใช้เครื่องจักรกลต่างๆ

● พบรายงานการเกิดภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด จากการใช้ยาอมที่มีส่วนประกอบของยาชาเฉพาะที่ คือ เบนโซเคน (benzocaine) ซึ่งส่งผลให้เม็ดเลือดแดงขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้น้อยลง เป็นต้น
นอกจากนี้ หากใช้ยาอมติดต่อกัน 2-3 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

4. มีอะไรที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการใช้ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ อีกบ้าง
นอกจากวิธีใช้ยาที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีคำเตือนต่างๆ ที่ระบุไว้บนฉลากยา เช่น การแพ้ยา การใช้ยาในเด็กเล็กซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักเข้าทางเดินหายใจ หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมลูก หรือผู้ที่มีโรคบางชนิดที่ไม่ควรใช้ยา เป็นต้น

5. มีวิธีบรรเทาอาการเจ็บคอ อาการไอ ที่สามารถทำได้เองที่บ้านหรือไม่
วิธีการง่ายๆ คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ เลี่ยงอาหารรสจัด ดื่มน้ำอุ่นเยอะๆ หากไม่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ หรือกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ทำได้บ่อยๆ) ซึ่งสามารถเตรียมได้เอง โดยนำเกลือ 1 ช้อนชา ละลายในน้ำอุ่น 1 แก้ว (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) หรือหาซื้อน้ำเกลือที่เตรียมสำเร็จได้ตามร้านยา เป็นตัน

จากข้อมูลทั้งหมด ผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่า แม้แต่ยาอมก็ควรใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สำหรับบางคนที่คิดว่าเคยใช้ยานี้มาตลอด ไม่เห็นเป็นอะไร แต่อย่าลืมว่า ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อาจมีโรคหรือปัจจัยบางอย่างเกิดขึ้นมาภายหลัง โดยที่เราคิดไม่ถึงว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายจากยาได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรอ่านฉลากยาให้ละเอียด และสอบถามเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาเหล่านี้


บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย
เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


22 มิ.ย. 2558 เวลา 13:46 | อ่าน 9,962
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ประกาศสำนักงาน ก.พ. เรื่อง รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2568 (e-Exam)
104 25 ธ.ค. 2567
ช้อปดีมีคืน กรมสรรพากรเดินหน้าต่อ Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น เริ่ม 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
152 24 ธ.ค. 2567
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
49 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
139 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
823 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
769 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
148 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
85 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
216 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
744 28 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...