ข้อควรระวัง ! ในการใช้สมุนไพร

1 ก.ค. 2558 เวลา 09:45 | อ่าน 11,556
 
ปัจจุบันสมุนไพรเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมากขึ้นในการใช้รักษาโรคหรือการใช้เป็นอาหารเสริม เนื่องจากสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพร แต่หากมีการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี สมุนไพรก็อาจจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ใช้ได้ ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันเริ่มมีรายงานทางคลินิกเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้สมุนไพรมากขึ้น สมุนไพรที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกาศเตือนให้ระวังถึงความปลอดภัยจากการใช้ 9 ชนิดในปี ค.ศ.1993 ได้แก่ Chaparral, Comfrey, Yohimbe, Lobelia, Germander, Willow Bark, Ma huang, Jin Bu Huan (ตำรับสมุนไพรจีน),ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสมุนไพรกลุ่ม Stephania และ Magnolia species

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สมุนไพร สามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม สมุนไพร 1 ชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่า 1 กลุ่ม โดยข้อมูลบางส่วนมีหลักฐานยืนยันแน่นอน บางส่วนอิงข้อมูลจากการทดลอง (สัตว์ทดลอง และ/หรือ หลอดทดลอง) และบางส่วนก็มีเพียงกรณีศึกษาเท่านั้น อันตรายจากการใช้สมุนไพรจำแนกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)

2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions)

3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)

4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions)

5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี (Mistaken plants, Mistaken preparation)

6. การปนเปื้อนในสมุนไพร (Contamination)

7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน (Adulterants)



1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)
จากการสำรวจการใช้ “นมผึ้ง” ปี พ.ศ. 2536-2540 พบการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองไวเกิน จากการได้รับนมผึ้งเกือบ 40 ราย มีอาการคือ อาการหืด อาการหลอดลมหดเกร็ง หลอดเลือดบวม ความดันโลหิตต่ำ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นคัน และเมื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง (skin test) พบว่าเกิดปฏิกิริยาเป็นบวกกับนมผึ้ง สรุปได้ว่าอาจเกิดจากโปรตีนในนมผึ้งไปกระตุ้นแอนติบอดี (antibody) ชนิด IgE และในปี พ.ศ.2537 มีรายงานจากประเทศออสเตรเลียว่านมผึ้งทำให้ตายได้เนื่องจากอาการหืดในเด็กหญิงอายุ 11 ปี หลังจากได้รับนมผึ้ง 500 มก. เพื่อรักษาต่อมทอมซิลอักเสบ เมื่อสืบประวัติพบว่าก่อนหน้านี้ผู้ป่วยรายนี้เคยมีอาการหายใจดังวี้ดหลังการได้รับนมผึ้ง และเมื่อได้รับอีกครั้งหนึ่งในครั้งนี้จึงเกิดอาการหืดเร็วมากและอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากการไปกระตุ้น IgE ทำให้เกิดปฏิกิริยาไวเกินขึ้น

2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions) สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ

ในประเทศไทยเคยมีรายงานในปี พ.ศ. 2542 ว่าใบขี้เหล็กซึ่งผลิตและจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด ทำให้การเกิดตับอักเสบเฉียบพลันอย่างน้อยในผู้ป่วย 9 รายที่รับประทาน ซึ่งระดับความรุนแรงของภาวะตับอักเสบมีตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนและมีตัวเหลืองตาเหลือง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงมีมติให้ระงับการผลิตและเก็บยาสมุนไพรขี้เหล็กซึ่งเป็นสูตรยาเดี่ยวออกจากตลาด

นอกจากนี้ คาวา (kava) สมุนไพรที่นิยมใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ มีรายงานหลายรายงานว่ามีผลทำลายตับเช่นกัน
สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อไต

มีรายงานการเกิดความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักที่มี aristolochic acid มีมากกว่าร้อยรายจากหลายประเทศ เช่น เบลเยียม สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สเปน และญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ระบุชื่อบนฉลากว่าผลิตจากสมุนไพรที่มีชื่อว่า Stephania tetrandra แต่จากการพิสูจน์เอกลักษณ์หลายผลิตภัณฑ์พบว่ามี Aristolochia fangchi ผสมอยู่ และวิเคราะห์พบ aristolochic acid ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดความผิดปกติที่ไต พยาธิสภาพที่พบจากการวิเคราะห์ชิ้นเนื้อเยื่อ คือ เนื้อไตมีสภาพเป็นพังผืด ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะไตวายในระยะสุดท้ายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยโรคไตควรระวังการใช้ ชะเอมเทศ และ มะขามแขก เพราะอาจมีผลทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมต่ำในเลือด และ น้ำลูกยออาจให้เกิดภาวะโปแตสเซียมสูงในเลือด และมีรายงานว่า Juniper Berries ในปริมาณสูงทำให้ไตเกิดการถูกทำลายได้( kidney irritation and damage) ส่วนมะเฟืองมีรายงานว่าทำให้ไตเกิดความเป็นพิษจากออกซาเลท( oxalate nephropathy) ได้

3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)

การใช้สมุนไพร อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรือฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ได้ อาการไม่พึงประสงค์ซึ่งสัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการ หรือไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการ ดังตารางข้างล่างนี้

ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร


4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions)
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร สามารถอธิบายได้ 2 รูปแบบ คือ ปฏิกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic interactions) โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการดูดซึม การกระจายตัว เมแทบอลิซึม (Metabolism) และการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้ปริมาณของยาหรือสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือลดลง และ ปฏิกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamic interactions) โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะเป้าหมาย ทำให้ยาหรือสมุนไพรแสดงฤทธิ์เพิ่มขึ้น (Synergistic effects) หรือลดลง (Antagonist effects)

จากรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าสมุนไพรบางชนิด มีผลการศึกษารายงานว่าเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร ส่งผลกระทบต่อการรักษาอย่างแน่นอน เช่น เซนต์จอห์นเวิร์ท (St.John’s Wort; Hypericum perforatum Linn) หรือ เกรปฟรุต (Grapefruit; Citrus paradisi Macfad)



บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย
รองศาสตราจารย์ ภญ. ยุวดี วงษ์กระจ่าง และ
เภสัชกร วสุ ศุภรัตนสิทธิ
ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


1 ก.ค. 2558 เวลา 09:45 | อ่าน 11,556
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ประกาศสำนักงาน ก.พ. เรื่อง รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2568 (e-Exam)
135 25 ธ.ค. 2567
ช้อปดีมีคืน กรมสรรพากรเดินหน้าต่อ Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น เริ่ม 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
173 24 ธ.ค. 2567
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
52 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
155 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
827 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
773 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
150 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
93 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
219 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
747 28 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...