ยาหอม..มรดกทางภูมิปัญญา

3 ต.ค. 2558 เวลา 20:16 | อ่าน 5,562
 
ยาหอม


คำนำ
ปัจจุบันคนไทยรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จัก หรือคุ้นเคยกับยาหอม ทั้งๆที่ยาหอมมีประวัติการใช้คู่กับคนไทยมานานมากกว่า 100 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แล้วยาหอมคืออะไร ชื่อของตำรับยาก็บ่งบอกว่าตำรับยานี้ต้องมีกลิ่นหอม นั่นคือส่วนประกอบของตัวยาจะต้องเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ใช้แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดท้อง เป็นลมในท้อง ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยได้บันทึกถึงตำรับยาหอมซึ่งมีมากกว่า 300 ตำรับ ใช้รักษาโรคต่างๆ แพทย์ไทยสมัยโบราณจะมียาหอมพกติดตัวไว้ในล่วมยาสำหรับรักษาโรคยามฉุกเฉิน แล้วค่อยจ่ายยาต้มตามมาภายหลัง ถือได้ว่ายาหอมเป็นตำรับยาสำคัญทีเดียวในการแพทย์แผนไทย และยาหอมคือ มรดกทางภูมิปัญญาที่อยู่คู่ประเทศไทยมานาน

กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศบัญชียาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2542 ด้วยจุดมุ่งหมายที่ให้ประชาชนได้มียาสมุนไพรที่ดี ปลอดภัยไว้ใช้ในบ้าน โดยยาประเภทนี้สามารถวางขายในที่ใดก็ได้ ไม่ต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับอนุญาตขายยา หรือสถานการแพทย์ ด้วยต้องการให้มีการกระจายยาอย่างทั่วถึง ประชาชนเข้าถึงยาสมุนไพรได้ ในประกาศนั้นมียาตำรับแผนโบราณ 27 ตำรับ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดี และใช้กันมายาวนาน

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของยาหอม
การวิจัยยาหอม

ถึงแม้ว่ายาหอมมีคู่ประเทศไทยมานานนับร้อยปี แต่ยาหอมก็ไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์สรรพคุณหรือความเป็นพิษ จนกระทั่งในปี 25547 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้สนับสนุนทุนวิจัยให้นักวิทยาศาสตร์หลายสถาบันร่วมกันศึกษาวิจัยพิสูจน์สรรพคุณของยาหอมอย่างเป็นระบบ ซึ่งงานวิจัยได้ทำการศึกษายาหอม 2 ตำรับ คือ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทรจักร์

ตำรับยาหอมนวโกฐและยาหอมอินทจักร์ เป็นตำรับยาในยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ และ บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2554 กลุ่มบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม โดยเป็นยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม)

ตำรับยาหอมนวโกฐ ประกอบด้วยเครื่องยา 55 ชนิด เป็นพืชวัตถุ 54 ชนิด ธาตุวัตถุ 1 ชนิด

รูปแบบยา ยาผง ยาเม็ด (200 มิลลิกรัม/เม็ด)

ข้อบ่งใช้ แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการเช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย)

ขนาดและวิธีใช้
ชนิดผง ครั้งละ 1-2 ช้อนชา ละลายน้ำกระสาย 2-4 ช้อนโต๊ะ ทุก 3 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ วันละไม่เกิน 3 ครั้ง

ชนิดเม็ด ครั้งละ 5-10 เม็ด ละลายน้ำกระสาย 2-4 ช้อนโต๊ะ ทุก 3 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ วันละไม่เกิน 3 ครั้ง

ข้อควรระวัง ระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้ และการใช้ในหญิงมีครรภ์ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 5 วัน

ตำรับยาหอมอินทจักร์ ประกอบเครื่องยา 49 ชนิด เป็นพืชวัตถุ 44 ชนิด สัตว์วัตถุ 4 ชนิด ธาตุวัตถุ 1 ชนิด

รูปแบบยา ยาผง ยาเม็ด (200 มิลลิกรัม/เม็ด)

ข้อบ่งใช้ แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

ขนาดและวิธีใช้
ชนิดผง ครั้งละ 1/2-1 ช้อนชา ละลายน้ำกระสาย 2-4 ช้อนโต๊ะ ทุก 3 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ วันละไม่เกิน 3 ครั้ง

ชนิดเม็ด ครั้งละ 5-10 เม็ด ละลายน้ำกระสาย 2-4 ช้อนโต๊ะ ทุก 3 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ วันละไม่เกิน 3 ครั้ง


ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องยา
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องยาที่เป็นส่วนประกอบในตำรับยาหอมทั้งสองตำรับ พบว่าเครื่องยาเหล่านี้มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทส่วนกลาง

เครื่องยาที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
● ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ได้แก่ กระเทียม กฤษณา ชะเอมเทศ เปราะหอม ย่านาง เกสรบัวหลวง ฝาง หญ้าฝรั่น อบเชยเทศ ขอนดอก เทียนข้าวเปลือก เทียนดำ เทียนแดง เทียนเยาวพาณี

● ฤทธิ์เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ได้แก่ บอระเพ็ด ฝาง เทียนแดง ขิง

● ฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ได้แก่ ชะเอมเทศ เทียนดำ

● ฤทธิ์ที่มีผลทำให้หัวใจที่เต้นผิดปกติ มีการเต้นได้ปกติ ได้แก่ เกสรบัวหลวง โกฐสอ ผักชีล้อมหรือทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ได้แก่ แห้วหมู

● เครื่องยาที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร

● ฤทธิ์ลดการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ ได้แก่ กระเทียม ช้าพลู ลูกผักชี อบเชยเทศ โกฐเชียง โกฐกระดูก โกฐหัวบัว กานพลู เทียนแดง ขิง ลูกจันทน์

● ฤทธิ์ลดการหลั่งน้ำย่อย และกรด ได้แก่ โกฐกระดูก ชะเอมเทศ และ ลูกจันทน์

● ฤทธิ์เพิ่มการหลั่งเมือกในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ชะเอมเทศ เปราะหอม
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ โกฐกระดูก ชะเอมเทศ เปราะหอม ดีปลี ฝาง อบเชยเทศ โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง ขอนดอก เทียนข้าวเปลือก เทียนดำ เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุศย์

● ฤทธิ์ต้านการอาเจียน ได้แก่ แห้วหมู กานพลู ขิง

เครื่องยาที่มีฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง
● ฤทธิ์เสริมระยะเวลาหลับของยา pentobarbitone ยาวนานขึ้น ได้แก่ ดอกบุนนาค

● ฤทธิ์คลายความกังวล ทำให้สงบ ได้แก่ ลูกผักชี โกฐเชียง จันทน์เทศ กานพลู โกฐสอ หญ้าฝรั่น ลูกจันทน์ พิกุล

● ฤทธิ์ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองดีขึ้น ได้แก่ หญ้าฝรั่น


ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสารสกัดตำรับยาหอม
การวิจัยยาหอม

1. ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐมีฤทธิ์เพิ่มความดันช่วงหัวใจบีบ (systolic) ได้มากและนานกว่าตำรับยาหอมอินทจักร์ สารสกัดทั้งสองตำรับมีผลต่อความดันช่วงหัวใจคลาย (diastolic) ได้ใกล้เคียงกัน และมีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจเล็กน้อยในช่วงเวลา 45-90 นาที สารสกัดตำรับยาหอมทั้งสองมีฤทธิ์เพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือดที่สมองหนู โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กของสมอง จึงมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ และภาวะเป็นลมหมดสติ การศึกษาฤทธิ์ต่อการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตของสารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐ และอินทจักร์ ในขนาด 1, 2, 4 กรัมผงสารสกัด/กิโลกรัม เปรียบเทียบกับสาร phenylephrine 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (สารมาตรฐานที่มีผลเพิ่มความดันโลหิต), 5% tween 20 และ สารช่วยระเหยแห้ง (เฉพาะตำรับยาหอมอินทจักร์ ในขนาดที่เป็นส่วนประกอบของการเตรียมสารสกัด 4 กรัมผงยา/กิโลกรัม) ต่อความดันช่วงหัวใจบีบ และความดันช่วงหัวใจคลาย และอัตราการเต้นหัวใจในหนูขาวที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ยาสลบ ก่อนและทุก 15 นาทีหลังป้อน เป็นเวลา 90 นาที ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดตำรับยาหอมทั้งสองตำรับมีผลเพิ่มความดันเลือด โดยเฉพาะในขนาด 4 กรัมผงสารสกัด/กิโลกรัม สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐมีผลเพิ่มความดัน ช่วงหัวใจบีบได้มากและนานกว่าตำรับยาหอมอินทจักร์ สารสกัดทั้งสองตำรับมีผลต่อความดันช่วงหัวใจคลายได้ใกล้เคียงกัน และมีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจเล็กน้อยในช่วงเวลา 45-90 นาที

การศึกษาอัตราการไหลเวียนเลือดในสมอง เป็นการทดสอบผลของสารสกัดตำรับยาหอมทั้งสองตำรับ ในขนาด 2, 4 กรัมผงสารสกัด/กิโลกรัม เปรียบเทียบกับตัวทำละลาย 5% tween 20 ต่ออัตราการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดที่ผิวสมองในหนูขาว ภายใต้ยาสลบ ที่เวลา 5, 15, 30, 45, 60, 90 และ 120 นาที และศึกษาผลการหดและคลายตัวของหลอดเลือดผิวที่สมอง หลังจากหยดสารที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว (norepinephrine) ของสารสกัดขนาด 4 กรัมผงสารสกัด/กิโลกรัม ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดตำรับยาหอมทั้งสองตำรับมีฤทธิ์เพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือดที่สมองหนูขาว ทั้งในขนาด 2, 4 กรัมผงสารสกัด/กิโลกรัม โดยขนาด 4 กรัมผงสารสกัด/กิโลกรัม จะให้ผลการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่า และพบว่าสารสกัดทั้งสองตำรับมีผลเพิ่มความดันเลือดแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การเพิ่มขึ้นของความดันเลือดไม่เกิน 15% และพบว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการไหลเวียนเลือดที่สมองและความดันเลือดแดงไม่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ สารสกัดยาหอมนวโกฐ จะมีความดันเลือดเริ่มเพิ่มขึ้นที่ 5 นาที และเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 45 นาที ส่วนสารสกัดยาหอมอินทจักร์จะเริ่มที่ 15 นาที เพิ่มสูงสุดที่ 90 นาที ในขณะที่อัตราการไหลเวียนเลือดที่สมองจะเริ่มเพิ่มขึ้นที่ 5 นาที และเพิ่มสูงสุดที่ 30 นาที หลังจากได้รับยาหอมทั้งสองตำรับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอัตราการไหลเวียนเลือดที่สมองหลังได้รับยาหอมมิได้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความดันเลือดแดง แต่เกิดจากผลโดยตรงต่อขนาดหลอดเลือดแดงเล็กที่ผิวสมอง ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยสารสกัดยาหอมนวโกฐจะเพิ่มขนาดได้ 50% ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่ายาหอมสามารถเพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือดที่สมองโดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กของสมอง ซึ่งเป็นฤทธิ์เด่นในการนำยาหอมไปใช้ในภาวะของคนใกล้เป็นลมหมดสติ ซึ่งเกิดจากภาวะที่สมองมีเลือดไปเลี้ยงลดลงชั่วขณะ

2. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐ มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรด และมีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กได้มากกว่าสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดเกร็งของลำไส้ได้ การศึกษาฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารของสารสกัดตำรับยาหอมทั้งสอง ในขนาด 1.25-10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตรของสารสกัด เปรียบเทียบ ตัวทำละลาย 5% tween 20 และสารช่วยระเหยแห้ง โดยศึกษาผลต่อการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารหนูถีบจักรที่แยกจากตัว โดยกระตุ้นให้กรดหลั่งด้วยฮีสตามีน ขนาด 5 ไมโครโมล ทำการเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์หาปริมาณกรดโดยการไตเตรทกับ 0.002 N NaOH จนถึงจุดสิ้นสุดที่ pH 5.0 เก็บตัวอย่างทุก 10 นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง 20 นาที ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐขนาด 2.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรด ส่วนสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์ไม่สามารถประเมินผลได้เนื่องจากการรบกวนผลของสารช่วยระเหยแห้ง

การศึกษาฤทธิ์ต่อการหดตัวของลำไส้เล็กของหนูตะเภา โดยทดสอบฤทธิ์ของสารละลายสารสกัดตำรับยาหอม ขนาด 0.02, 0.04, 0.06, 0.08 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตัวทำละลาย (5% Tween 20), สารช่วยระเหยแห้ง โดยเปรียบเทียบกับสาร atropine ขนาด 4 นาโนโมล ให้สารสกัดที่ต้องการทดสอบ 5 นาที ก่อนการกระตุ้นด้วย acetylcholine ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐขนาด 0.2 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็ก (19.77%) ได้มากกว่าสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์ (11.77%)

3. ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางมากกว่าสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์ สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐและอินทจักร์มีฤทธิ์ทำให้ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยานอนหลับ pentobarbital ยาวนานขึ้น ซึ่งสารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐขนาด 100, 300, 1,000 และ 3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยมีฤทธิ์กดการเคลื่อนไหวของสัตว์ทดลอง ในการทดสอบโดยวิธี Locomoter activity test ส่วนสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์ไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว แสดงว่าสารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางมากกว่าสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์

4. การศึกษาความเป็นพิษ
การศึกษาความเป็นพิษเบื้องต้นของสารสกัดตำรับยาหอม ต่อหนูถีบจักรและหนูขาวทั้งสองเพศ และทดสอบผลต่อค่าเคมีของเลือดและเนื้อเยื่อ โดยป้อนสารสกัดขนาด 1, 2.5 และ 5 กรัม/กิโลกรัม ครั้งเดียว สังเกตพฤติกรรมของสัตว์ทดลองตลอด 7 วัน เก็บเลือด และอวัยวะภายในเพื่อตรวจพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดตำรับยาหอมทั้งสองตำรับไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต และค่าเคมีของเลือด การทำงานของระบบตับและไต แต่พบว่าสารสกัดยาหอมมีแนวโน้มที่จะมีพิษต่อตับและไตในหนูขาวเพศเมีย เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาขั้นเบื้องต้น ฉะนั้นจะต้องทำการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม


สรุป จะเห็นได้ว่า ยาหอม มรดกทางภูมิปัญญาของประเทศไทย ที่มีการใช้กันอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีตสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบัน ได้มีงานวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์สรรพคุณตามภูมิปัญญา ซึ่งพบว่า ยาหอมมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทส่วนกลาง ที่สามารถใช้บำบัดอาการเป็นลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน ท้องอืด แก้ลมจุกเสียด และงานวิจัยนี้ถือได้ว่าเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่พิสูจน์ผลของยาหอมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งข้อมูลนี้สามารถที่จะนำไปศึกษาต่อยอดในคนต่อไป เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ยาหอม และเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของประเทศชาติสืบต่อไป



ข้อมูลจาก บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
ภาพจาก physical26.wordpress.com
ภาพจาก blog.eduzones.com


3 ต.ค. 2558 เวลา 20:16 | อ่าน 5,562
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ช้อปดีมีคืน กรมสรรพากรเดินหน้าต่อ Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น เริ่ม 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
68 24 ธ.ค. 2567
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
45 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
123 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
745 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
723 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
140 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
81 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
212 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
699 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
912 28 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...