สแกนมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ซื้อบ้านไม่เกิน3ล้านตอนนี้ คุ้มสุดๆ

18 ต.ค. 2558 เวลา 09:22 | อ่าน 4,022
แชร์ไปยัง
L
 
มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์


มนุษย์เงินเดือนมีเฮกับเขาแล้วค่ะ
สำหรับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ยุครัฐบาลคสช.

ในอดีต รัฐบาลเคยออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ มาหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระ แต่เป้าหมายหลักจะเน้นดูแลผู้มีรายได้น้อย สำหรับรอบนี้พูดให้ยาวขึ้นว่าช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง โดยมติคณะรัฐมนตรี หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า มติ ครม. เมื่อวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558 มี 4 แพคเกจสำคัญ ดังนี้

1. "ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์" ปกติจะต้องทำและจ่ายที่กรมที่ดินหรือสำนักงานสาขา มีค่าธรรมเนียมโอนอยู่ที่ 2% ลดเหลือ 0.01% อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า ราคาอสังหาฯ 1 ล้านบาท จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน 2 หมื่นบาท ภายใต้มาตรการพิเศษนี้จะมีการจ่ายจริงแค่ 100 บาท

สมมุติ ราคาอสังหาฯ 2 ล้านบาท เดิมเสียค่าโอน 40,000 บาท หรือราคา 3 ล้านบาท จะต้องเสียค่าโอน 60,000 บาท ในขณะที่ภายใต้มาตรการรัฐจ่ายค่าโอนจริงเพียง 400 และ 600 บาท เป็นต้น
2."ลดค่าธรรมเนียมการจดจำนอง" อัตราปกติอยู่ที่ 1% หรือ 1 ล้านบาทต่อ 1 หมื่นบาท ลดเหลือ 0.01% หลักการคำนวณก็เหมือนกันคือภายใต้มาตรการครั้งนี้ ค่าจดจำนองจะเหลือ 1 ล้านบาทต่อ 100 บาท

ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การซื้อขาย อสังหาฯ หากเป็นการซื้อด้วยเงินสดคุณก็ไม่มีค่าใช้จ่ายตัวนี้ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง มีผู้ซื้อด้วยเงินสดเพียงกลุ่มน้อยนิด 5-10% เท่านั้น

นั่นหมายความว่าส่วนใหญ่ที่ซื้อโครงการจัดสรรไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม สัดส่วน 90-95% ซื้อด้วยวิธีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้น มักจะต้องแบกรับภาระค่าจดจำนองด้วยเสมอ

ทั้งนี้ การยกเว้นค่าโอนและจดจำนองดังกล่าว มีอายุให้เพียง 6 เดือน หรือภายใน 30 เมษายน 2559 (อาจจะ 31 มีนาคม 2559 ก็ได้) เงื่อนไขเวลาจะช้าหรือเร็วขึ้นกับทางกระทรวงมหาดไทยสามารถเร่งรัดการบังคับใช้ได้เร็วหรือช้า เพราะต้องนำมติ ครม.ไปแปลงสู่การปฏิบัติ โดยนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกฎหมายของกระทรวงก่อนออกมาบังคับใช้ และเริ่มนับเวลา 6 เดือน (ประเมินกันว่าเร็วที่สุดขั้นตอนน่าจะเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ นับจากมีมติ ครม.)

3."ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ"

เจ้าภาพหนีไม่พ้น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ รอบนี้แหวกแนวออกไปเล็กน้อย เนื่องจากไปเพ่งเล็งการช่วยเหลือในกลุ่มผู้ที่เคยถูกปฏิเสธสินเชื่อหรือรีเจ็กต์เรตมาแล้ว ซึ่งรัฐบาลเตรียมวงเงินสนับสนุน 10,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ได้สูงสุดสำหรับราคาอสังหาฯ ไม่เกิน 3 ล้านบาท หรือผู้กู้มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท เห็นข่าวแวบๆ ทางรัฐมนตรีกระทรวงคลังบอกว่ามียอดรีเจ็กต์เรต 5,000-6,000 ราย ทั่นให้เหตุผลว่า เป็นกลุ่มที่แสดงเจตนารมณ์อยากซื้ออสังหาฯ แต่ซื้อไม่ได้เพราะกู้ไม่ผ่าน

เรื่องนี้ปรากฏว่าทาง ธอส. ทำงานได้รวดเร็วฉับไว ด้วยการประกาศให้ดอกเบี้ยปีแรก 3.50% ปีที่สอง 4.25% อายุสินเชื่อที่เหลือเป็นไปตามเรตปกติคือ MRR (ลูกค้ารายย่อยชั้นดี) ส่วนจะบวกหรือลบเท่าไหร่เป็นไปตามกลไกเดิมๆ เช่น สินเชื่อสวัสดิการ ฯลฯ โดยสินเชื่อก้อนนี้มีเวลาทำสัญญาเงินกู้ภายใน 1 ปี เริ่มต้นนับเวลาตั้งแต่ 19 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

อีกเรื่องหนึ่งที่ถือว่าจบก็คือ "ระยะเวลาการผ่อน" เกณฑ์คำนวณของแบงก์มีหลายตัว หนึ่งในนั้นคือ "อายุตัว" เช่น ผู้กู้มีอายุสูงสุดคือ 60 ปี สัญญาสินเชื่อยาวสุดอยู่ที่ 30 ปี ต่อมาพอมีการแข่งขันดุเดือดแบงก์หลายแห่งก็เลยขยายงวดผ่อน โดยยืดอายุผู้กู้ออกไปอีก เช่น ผู้กู้อายุได้ถึง 65-70 ปี ซึ่งมีผลทำให้สินเชื่อผ่อนได้ยาว 35-40 ปี โดยมติ ครม.ให้แนวทาง ธอส. ทำสินเชื่อยาวสุด 30 ปีเท่าเดิม

4."ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" มติ ครม.เขียนไว้ว่า เป็นมาตรการที่ให้สำหรับผู้ซื้อบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยลดหย่อน 20% ของมูลค่าบ้านที่ซื้อระยะเวลา 5 ปี
อธิบายได้อย่างนี้ค่ะ สมมุติ ซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท (ราคาแพงกว่านี้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์) ลดหย่อน 20% คำนวณออกมาแล้วเท่ากับ 6 แสนบาท ให้นำ 5 ปีมาหารเฉลี่ยจะได้ปีละ 1.2 แสนบาท เท่ากับอัตราที่จะนำไปหักลดหย่อนได้คือปีละ 1.2 แสนบาท เป็นต้น
ถ้าเปรียบเทียบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ผ่านๆ มา อย่างน้อยถือว่าหน้าตาดีขึ้น พอกล้อมแกล้มกับสถานการณ์จริง เพราะมีทั้งการโฟกัสกลุ่มที่เคยถูกปฎิเสธสินเชื่อมาก่อน มีทั้งเรื่องการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา

นาทีทองเริ่มต้นแล้วนะคะ โปรโมชั่นอสังหาฯ ที่มีรัฐบาลร่วมเป็นเจ้าภาพไม่ได้มีมาบ่อยๆ ของแถม-ส่วนลดเดิมๆ ที่เอกชนเขามีให้ อย่าลืมต่อรองให้เยอะ เรียกให้หนัก ให้สมกับที่ผู้ประกอบการชอบพูดว่า ยุคนี้เป็นยุคทองของผู้บริโภค

คอลัมน์ ฟรีสไตล์เรื่องบ้าน-บ้าน
โดย เมตตา ทับทิม [email protected]
ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1445057915


18 ต.ค. 2558 เวลา 09:22 | อ่าน 4,022


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
76 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
124 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
134 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
321 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
329 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
646 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,358 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
733 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน