ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

25 เม.ย. 2559 เวลา 17:23 | อ่าน 8,751
แชร์ไปยัง
L
 
ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอาย แยกตัวจากสังคม ไม่อยากออกจากบ้าน เพราะ ผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกปวดอยากปัสสาวะอย่างรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลัน และไม่สามารถกลั้นไว้ได้ จึงอาจจะมีปัสสาวะเล็ด/ราด ปัสสาวะบ่อย (ในช่วงกลางวันมากกว่า 7 ครั้งต่อวัน) และต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนหลังจากหลับ (มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้ง) แต่ไม่มีการติดเชื้อหรือพยาธิสภาพอื่น ภาวะดังกล่าวนี้ในทางการแพทย์ เรียกว่า ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ โดยสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทซึ่งควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อยและบีบตัวไวกว่า ปกติ โดยที่ยังมีปริมาณปัสสาวะไม่มากพอที่จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเกิดได้มากขึ้น และพบบ่อยกว่าในสตรีเพศ นอกจากนี้ ภาวะต่อมลูกหมากโต หรือ การมีเลือดไปเลี้ยงที่กระเพาะปัสสาวะไม่เพียงพอจนเกิดภาวะขาดเลือดและนำไปสู่ความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะบกพร่อง การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะบ่อยๆก็เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติได้ และมีข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยทางจิตเวช เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวิตกกังวล สมาธิสั้น สมองเสื่อม มีอัตราการเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน สูงกว่าคนปกติซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นผลจากความบกพร่องในการทำงานของสารสื่อประสาท

เมื่อเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน แพทย์จะทำการซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อให้แน่ใจว่า ภาวะดังกล่าวมิได้มีสาเหตุจากโรคหรือความผิดปกติอื่น และแพทย์จะให้ผู้ป่วยจดบันทึกการปัสสาวะ เช่นถ่ายปัสสาวะเวลาใด เกิดปัสสาวะเล็ดหรือไม่ ดื่มน้ำ/ของเหลวเวลาใดและปริมาตรเท่าไร เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ

ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

แนวทางในการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
เริ่มจาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการค่อยๆลดปริมาณนํ้า/ของเหลวที่ดื่ม และ รับประทานผักผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบแทน และงดการรับประทานสารที่กระตุ้นให้ปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ด้วย

การฝึกกลั้นปัสสาวะ การฝึกกลั้นปัสสาวะ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ให้ฝึกเพิ่มช่วงเวลาของการไปถ่ายปัสสาวะ โดยค่อยๆยืดระยะเวลาระหว่างการไปถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้ง ร่วมกับการให้ยาที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ คือ ยากลุ่ม Antimuscarinic เช่น darifenacin, hyoscyamine, oxybutynin, tolterodine, solifenacin, trospium, fesoterodine ซึ่งควรให้ยาเม็ดชนิดค่อยๆปลดปล่อยตัวยา เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในปัจจุบันนี้ยา oxybutynin ยังมีรูปแบบพลาสเตอร์ปิดบนผิวหนังหรือรูปแบบเจลทาผิว เพื่อให้ยาค่อยๆถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ยากลุ่มนี้บรรเทาอาการด้วยการไปต้านผลของระบบประสาทอัตโนมัติชนิดพาราซิมพาเตติก เพราะเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินนั้น เป็นผลจากการที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะตอบสนองต่อสารสื่อจากระบบประสาทพาราซิมพาเตติกมากเกินไป ผลของการใช้ ยากลุ่ม Antimuscarinic คือ ยาจะไปลดการบีบตัวที่ไวเกินปกติของกระเพาะปัสสาวะ แต่จะก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก นอกจากนี้ยังมี ยากลุ่ม ß3-adrenoceptor agonist เช่น Mirabegron ซึ่งลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ลดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ แต่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปวดศีรษะ ท้องผูก


อย่างไรก็ดี ยาบรรเทาอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินมีประสิทธิผลปานกลาง ช่วยลดจำนวนครั้งของการปวดปัสสาวะลงบ้าง แต่ไม่สามารถหยุดยั้งอาการทั้งหมด

การบริหารกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรง เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายๆ และให้ผลดีในการบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดได้ เพียงขมิบกล้ามเนื้อหูรูดอย่างแรงเหมือนกำลังกลั้นปัสสาวะ และขมิบทำเช่นนั้นนานประมาณ 5 วินาที หยุดขมิบ 10 วินาที แล้วทำซ้ำ ให้ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง ในตอนเช้า กลางวัน และเย็น ทุกวัน ค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งของการขมิบเป็น 15 ทีวันละ3 ครั้ง 20 ทีวันละ3 ครั้ง 20 ทีวันละ4 ครั้ง และทำเพิ่มอีก 20 ที บริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาเมื่อเข้าห้องน้ำถ่ายปัสสาวะลองถ่ายเพียงครึ่งหนึ่งแล้วหยุดด้วยการขมิบอย่างแรงลองดูว่าสามารถกลั้นปัสสาวะได้หรือยังที่สำคัญคือ ต้องบริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ และสามารถบริหารได้ทุกที่ เช่น ขณะนั่งทำงาน ขณะนั่งรถ ฟังเพลง ดูรายงานข่าว และใช้ผลการบริหารนี้เมื่อจำเป็นต้องกลั้นมิให้ปัสสาวะเล็ด/ราด เช่น ไอ จาม หัวเราะ

ที่สำคัญคือ ต้องบริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ และสามารถบริหารได้ทุกที่ เช่น ขณะนั่งทำงาน ขณะนั่งรถ ฟังเพลง ดูรายงานข่าว และใช้ผลการบริหารนี้เมื่อจำเป็นต้องกลั้นมิให้ปัสสาวะเล็ด/ราด เช่น ไอ จาม หัวเราะ

ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยยาที่กล่าวข้างต้น หรือการรักษาด้วยยาไม่บรรลุเป้าหมายในการรักษา แพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาแบบอื่น เช่น การฉีดสาร Botulinum toxin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารสื่อจากระบบประสาทพาราซิมพาเตติก ทำการการกระตุ้นเส้นประสาท Sacral หรือ tibial ด้วย ไฟฟ้า และทำการผ่าตัด เป็นต้น




ข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดย
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อมูลรูปจาก
www.health2click.com www.4life4good.com


25 เม.ย. 2559 เวลา 17:23 | อ่าน 8,751


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
59 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
108 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
101 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
312 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
322 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
640 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,354 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
718 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน