ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus, HCV) ติดต่อได้อย่างไร และจะป้องกันอย่างไร ?

21 มิ.ย. 2559 เวลา 13:27 | อ่าน 7,916
 
ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร
ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus: HCV) พบประมาณ 130-150 ล้านคนทั่วโลก และพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านคนในแต่ละปี เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นไวรัสตัวเดียวในจีนัส Hepacivirus โดยเป็นอาร์เอนเอไวรัสสายบวก (positive stranded RNA virus) ไวรัสตับอักเสบซีมี 6 สายพันธุ์ ได้แก่ 1 (โดยแบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ย่อยได้แก่ 1a และ 1b), 2, 3, 4, 5 และ 6 โดยสายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลก คือสายพันธุ์ 1 และสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยคือสายพันธุ์ 1 และ 3 การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแต่ละสายพันธุ์นั้นใช้สูตรยา ขนาดและระยะเวลาในการรักษาต่างกัน และผลสำเร็จในการรักษาก็ต่างกันด้วย

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus, HCV) ติดต่อได้อย่างไร และจะป้องกันอย่างไร

ไวรัสตับอักเสบซีติดต่ออย่างไร
โรคไวรัสตับอักเสบซีติดต่อจากเลือดสู่เลือด (blood to blood contact) เท่านั้น เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับเลือดของผู้ที่ติดเชื้อ การสักร่างกาย เป็นต้น สำหรับการติดเชื้อโดยวิธีอื่น เช่น ทางเพศสัมพันธ์ การถ่ายทอดจากมารดาไปสู่ทารกพบได้น้อยมาก ส่วนการดื่มน้ำโดยใช้แก้วร่วมกัน การจูบกอด การสัมผัสร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ

เมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแล้วจะมีอาการอย่างไร ?
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบฉับพลัน (acute infection) ส่วนมากไม่แสดงอาการทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจพบอาการไข้คล้ายเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลืองตาเหลือง โดย15%ของผู้ติดเชื้อจะสามารถหายได้เอง โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี จะมีการโอกาสพัฒนาของโรคน้อยและร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้เอง แต่ 85%ของผู้ป่วยจะกลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง (chronic infection) ซึ่ง 20% ของผู้ป่วยจะมีการอักเสบของตับ ซึ่งการดำเนินอาการของโรคค่อยๆรุนแรงขึ้น และภายในเวลา 10-30 ปี จะเกิดเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ ต้องเปลี่ยนถ่ายตับ และบางรายเสียชีวิตได้ โดยผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ติดเหล้า และผู้สูงอายุ จะมีความเสี่ยงที่โรคจะเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น จะเห็นว่าไวรัสตับอักเสบซีเหมือนเป็นภัยเงียบเพราะกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าติดเชื้อก็เมื่อมีการดำเนินของโรครุนแรงแล้ว ซึ่งทำให้ยากต่อการรักษา

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซีหรือไม่
จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี


จะรู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
การตรวจเลือดเป็นวิธีเดียวในการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ โดยตรวจหาแอนตี้บอดี้ของไวรัสตับอักเสบซี (antibody-HCV) และตรวจหาปริมาณอาร์เอนเอของไวรัส (HCV-RNA) เพื่อดูระดับความรุนแรงของการติดเชื้อ นอกจากนี้ ก่อนเริ่มให้การรักษาต้องตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อเพื่อใช้วางแผนการรักษาให้เหมาะสม รวมทั้งประเมินระดับการทำงานของตับ ความรุนแรงของอาการอักเสบและการเกิดพังผืดที่ตับเพื่อตรวจดูความรุนแรงของโรค โดยวัดปริมาณเอมไซม์ตับ เช่น AST, ALT METAVIR score เป็นต้น


ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี

เมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแล้วจะรักษาอย่างไร
เป้าหมายการรักษาในปัจจุบัน คือ การกำจัดเชื้อให้หายขาดอย่างถาวร โดยประเมินจากจำนวนเชื้อไวรัสในเลือดหลังการรักษาด้วยยา การทำให้พยาธิสภาพของตับดีขึ้น ทำให้ตับอักเสบหายไป ป้องกันตับแข็งและมะเร็งตับ

ยามาตรฐานที่มีในประเทศไทยในปัจจุบันได้แก่
1. Pegylated interferon alfa-2a และ alfa-2b ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

2. Ribavirin รับประทาน ขนาด 800-1200 มิลลิกรัม/วัน

3. Boceprevir รับประทาน ขนาด 800 มิลลิกรัม/วัน วันละ 3 ครั้ง

4. Sofosbuvir รับประทานขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

5. Daclatasvir รับประทานขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

6. Ledipasvir รับประทานขนาด 90 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง


เนื่องจากเชื้อไวรัสเกิดการดื้อยาได้ง่าย การใช้ยารักษาต้องใช้ยาหลายชนิดที่มีกลไกการออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัสในแตกต่างกันร่วมกัน ซึ่งการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแต่ละสายพันธุ์จะมีสูตรยาที่ใช้รักษาและเวลาการรักษาแตกต่างกันด้วย โดยทั่วไปใช้เวลารักษานาน 12-48 เดือน แต่ในระหว่างการรักษา แพทย์จะประเมินผลการรักษาเป็นระยะ เพื่อปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และปัจจุบันมียาใหม่ๆซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบซีโดยตรง ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้เวลาในการรักษาสั้นกว่าเดิม



บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ
(สอบทานความสมบูรณ์และถูกต้อง : รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์)
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://i.huffpost.com/gen/1387878/images/o-LIVER-facebook.jpg www.yaandyou.net


21 มิ.ย. 2559 เวลา 13:27 | อ่าน 7,916
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
57 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
11 23 พ.ย. 2567
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยถูก
71 22 พ.ย. 2567
สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครทุนพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2568
95 21 พ.ย. 2567
นายกฯ แพทองธารนั่งหัวโต้ะ คกก.ศก.ชุดใหญ่ เคาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตใหญ่ครบวงจรเน้น “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย แก้หนี้ปชช. กระตุ้นลงทุน” มั่นใจปีหน้าศก. ไทยกลับคึกคัก
33 19 พ.ย. 2567
มติยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เปลี่ยนเป็นช่วยชาวนาไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ พร้อมชง 2 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการผลิต เสนอ นบข.
34 19 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2567
64 17 พ.ย. 2567
มติคณะรัฐมนตรี การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 และภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2568
218 12 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2567
46 10 พ.ย. 2567
ไทยแลนด์ น่าท่องเที่ยวหลังเว็บดังยกขึ้นเบอร์หนึ่งที่มีการจองบินมาในระดับโลก
42 9 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...