ข้อสอบ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496

Untitled Document ข้อสอบ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496
(แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 12 พ.ศ. 2546)
1. การยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล ต้องตราเป็น
ก. พระราชกฤษฎีกา ข. พระราชกำหนด
ค. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ง. ข้อ ก. หรือ ค.
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นที่มีราษฎรตั้งแต่กี่คนขึ้นไป
ก. หนึ่งหมื่นคน ข. สองหมื่นคน
ค. สองหมื่นห้าพันคน ง. สามหมื่นคน
3. เทศบาลแบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 5
4. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่กี่คนขึ้นไป
ก. หนึ่งหมื่นคน ข. สองหมื่นคน
ค. สี่หมื่นคน ง. ห้าหมื่นคน
5. การเปลี่ยนแปลงชื่อหรือการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล ให้กระทำโดย
ก. พระราชกฤษฎีกา ข. พระราชบัญญัติ
ค. พระราชกำหนด ง. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
6. องค์การเทศบาลประกอบด้วย
ก. สภาเทศบาล ข. นายกเทศมนตรี
ค. คณะเทศมนตรี ง. ข้อ ก. และ ข.
7. สมาชิกสภาเทศบาลอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 6
8. ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมไม่เกินกี่สมัย
ก. 3 สมัย ข. 4 สมัย
ค. 5 สมัย ง. 6 สมัย
9. ใครเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภา และรองประธานสภา
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. นายอำเภอ
ค. นายกเทศมนตรี ง. ประกาศจังหวัด
10. การประชุมสภาเทศบาลครั้งแรก ต้องกำหนดให้สมาชิกได้มาประชุมภายในกี่วัน นับแต่วันประกาศการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครบตามจำนวน
ก. 15 ข. 30
ค. 45 ง. 60
11. สมัยประชุมสภาวิสามัญให้มีกำหนดไม่เกินกี่วัน
ก. 7 ข. 15
ค. 30 ง. 45
12. เทศบาลตำบลมีสมาชิกสภากี่คน
ก. 10 ข. 12
ค. 15 ง. 18
13. เทศบาลตำบลมีรองนายกเทศมนตรีกี่คน
ก. 5 ข. 3
ค. 2 ง. 1
14. สภาเทศบาลเมืองมีกี่คน
ก. 12 ข. 15
ค. 18 ง. 20
15. เทศบาลเมืองมีรองนายกเทศมนตรีกี่คน
ก. 1 ข. 2
ค. 3 ง. 4
16. ใครเป็นผู้เรียกประชุมวิสามัญ
ก. เลขานุการสภา ข. ประธานสภา
ค. นายกเทศมนตรี ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
17. เทศบาลนครมีสมาชิกสภากี่คน
ก. 24 ข. 20
ค. 18 ง. 15
18. เทศบาลนครมีรองนายกเทศมนตรีกี่คน
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 5
19. เทศบัญญัติห้ามกำหนดโทษปรับเกินกว่าเท่าใด
ก. 500 บาท ข. 1,000 บาท
ค. 6,000 บาท ง. 10,000 บาท
20. ถ้ามีกิจการใดอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปที่จะร่วมกันทำเพื่อให้เกิดประโยชน์
อย่างยิ่ง ก็ให้จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การ เรียกว่า
ก. บรรษัท ข. สหบรรษัท
ค. สหการบริหาร ง. สหการ
21. ผู้ใดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาล ให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย
ก. นายกเทศมนตรี ข. นายอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ปลัดจังหวัด
22. ผู้ใดมีอำนาจในการยุบสภาเทศบาล
ก. นายอำเภอ ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
23. ผู้ใดเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496
ก. อธิบดีกรมการปกครอง ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
24. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล
ก. เทศบาลตำบล 15 คน ข. เทศบาลเมือง 18 คน
ค. เทศบาลนคร 20 คน ง. ผิดทั้งข้อ ก. และ ค.
25. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนรองนายกเทศมนตรี
ก. เทศบาลตำบลมี 3 คน ข. เทศบาลเมืองมี 4 คน
ค. เทศบาลนครมี 4 คน ง. ถูกทุกข้อ
26. การจัดตั้งสหการจะทำได้โดย
ก. มติคณะรัฐมนตรี ข. ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. ตราเป็นพระราชบัญญัติ ง. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
27. สมาชิกสภาเทศบาลลาออกจากตำแหน่ง จะต้องยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ใด
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. นายกเทศมนตรี
ค. ประธานสภาเทศบาล ง. นายอำเภอ
28. รองประธานสภาเทศบาลลาออก ต้องยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ใด
ก. ประธานสภาเทศบาล ข. นายกเทศมนตรี
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
29. รองนายกเทศมนตรีลาออกจากตำแหน่ง จะต้องยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ใด
ก. ประธานสภาเทศบาล ข. นายกเทศมนตรี
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
30. กรณีที่เทศบาล ตั้งแต่ 2 เทศบาลขึ้นไป ร่วมกันทำกิจการและมีการจัดตั้งองค์การขึ้น องค์การนั้นเรียกว่า
ก. สหกรณ์ ข. สหการ
ค. สันนิบาต ง. กิจการร่วม

เฉลยข้อสอบ พ.ร.บ. เทศบาล
1. ค.
2. ก.
3. ข.
4. ง.
5. ง.
6. ง.
7. ค.
8. ข.
9. ก.
10. ก.
11. ข.
12. ข.
13. ค.
14. ค.
15. ค.
16. ง.
17. ก.
18. ค.
19. ข.
20. ง.
21. ค.
22. ข.
23. ง.
24. ง.
25. ค.
26. ง.
27. ก.
28. ง.
29. ข.
30. ข.
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

ถ้าสภาเทศบาลยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล
ทั้งหมด ให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อลงชื่ออนุมัติ
*[มาตรา 62 ทวิ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2519]

มาตรา 63 นอกจากที่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นเทศบัญญัตินั้นให้ใช้
บังคับได้ เมื่อประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้วเจ็ดวัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน
ถ้ามีความระบุไว้ในเทศบัญญัตินั้นว่าให้ใช้บังคับทันที ก็ให้ใช้บังคับในวันที่ได้ประกาศนั้น

มาตรา 64 ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีมิได้ คณะ
เทศมนตรีอาจออกเทศบัญญัติชั่วคราวได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด และเมื่อได้
ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้ว ก็ให้ใช้บังคับได้
ในการประชุมสภาเทศบาลคราวต่อไป ให้นำเทศบัญญัติชั่วคราวนั้นเสนอต่อสภา
เทศบาลเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาเทศบาลอนุมัติแล้ว เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นเทศบัญญัติต่อไป ถ้าสภา
เทศบาลไม่อนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกิจการที่ได้เป็นไปใน
ระหว่างที่ใช้เทศบัญญัติชั่วคราวนั้น
คำอนุมัติและไม่อนุมัติของสภาเทศบาลที่กล่าวนี้ ให้ทำเป็นเทศบัญญัติ

ส่วนที่ 5
การคลังและทรัพย์สินของเทศบาล
---------------

มาตรา 65 งบประมาณประจำปีของเทศบาลต้องตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติ ถ้าเทศบัญญัติ
งบประมาณออกไม่ทันปีใหม่ ให้ใช้เทศบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง
ถ้าในปีใดจำนวนเงินซึ่งได้อนุญาตไว้ตามงบประมาณปรากฏว่าไม่พอสำหรับการ
ใช้จ่ายประจำปีก็ดี หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งรายรับหรือรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี
ให้ตราขึ้นเป็นเทศบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม

มาตรา 66* เทศบาลอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
(1) ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
(2) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้



(3) รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
(4) รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์
(5) พันธบัตร หรือเงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
(6) เงินกู้จากกระทรวงทบวงกรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ
(7) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(8) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(9) รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
การกู้เงินตาม (6) เทศบาลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสภาเทศบาล
และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว
*[มาตรา 66 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2498]

มาตรา 67* เทศบาลอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้
(1) เงินเดือน
(2) ค่าจ้าง
(3) เงินตอบแทนอื่น ๆ
(4) ค่าใช้สอย
(5) ค่าวัสดุ
(6) ค่าครุภัณฑ์
(7) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่น ๆ
(8) เงินอุดหนุน
(9) รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามที่มีกฎหมาย หรือระเบียบของ
กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้

*[มาตรา 67 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2505]

มาตรา 67 ทวิ* การจ่ายเงินตามมาตรา 67 (8) และการจ่ายเงินเพื่อการลงทุน
เทศบาลจะกระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติแล้ว

*[มาตรา 67 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2505]

มาตรา 67 ตรี* การจ่ายเงินตามมาตรา 67 (9) ถ้าเป็นการชำระเงินกู้เมื่อถึง
กำหนดชำระ เทศบาลจะต้องชำระเงินกู้นั้นจากทรัพย์สินของเทศบาลไม่ว่าจะตั้งงบประมาณ
รายจ่ายประเภทนี้ไว้หรือไม่
*[มาตรา 67 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2505]

มาตรา 68 การจ่ายเงินค่าป่วยการให้แก่นายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ให้เป็นไป
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล
การจ่ายเงินค่าป่วยการแก่ประธานสภา รองประธานสภา สมาชิกสภาเทศบาล และ
การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมให้แก่กรรมการที่สภาเทศบาลแต่งตั้งขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยกำหนดตามฐานะของเทศบาล

มาตรา 69 ให้กระทรวงมหาดไทยตราระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการคลังรวม
ตลอดถึงวิธีการงบประมาณ การรักษาทรัพย์สิน การจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สิน การจัดหา
พัสดุและการจ้างเหมาขึ้นไว้

มาตรา 70 โดยปกติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจัดให้มีการตรวจสอบ
การคลัง การบัญชี หรือการเงินอื่น ๆ ของเทศบาลปีละครั้ง

ส่วนที่ 6
การควบคุมเทศบาล
---------------

มาตรา 71 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัด
นั้นให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำ
ตักเตือนเทศบาล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใด ๆ จากเทศบาลมา
ตรวจตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้
ให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบลใน
อำเภอนั้น ให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าท
ี่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาลตำบล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใด ๆ
จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวน
ก็ได้

มาตรา 72 เมื่อนายอำเภอ ในกรณีแห่งเทศบาลตำบลในอำเภอนั้น หรือผู้ว่า
ราชการจังหวัด ในกรณีแห่งเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร เห็นว่า คณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรี
ผู้ใดปฏิบัติการของเทศบาลไปในทางที่อาจเป็นการเสียหายแก่เทศบาลหรือเสียหายแก่ราชการ และ
นายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม
นายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติ
ของคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีนั้นไว้ก่อนได้ แล้วให้รีบรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ทราบภายในกำหนดสิบห้าวัน เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยสั่งการ
ตามที่เห็นสมควร
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามความในวรรคก่อนไม่กระทบ
กระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต

มาตรา 73 ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า คณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีผู้ใด
ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือ
ปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์
ตำแหน่งหรือแก่เทศบาลหรือแก่ราชการ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พร้อมด้วยหลักฐานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจสั่งให้คณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีผู้ใด
ออกจากตำแหน่งก็ได้

มาตรา 74* เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตเทศบาลหรือประโยชน์
ของประเทศเป็นส่วนรวม ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยเพื่อยุบสภาเทศบาลก็ได้
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาเทศบาลและให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย
เมื่อมีการยุบสภาเทศบาลหรือถือว่ามีการยุบสภาเทศบาลตามพระราชบัญญัตินี้
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
ภายในสี่สิบห้าวัน
*[มาตรา 74 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542]

มาตรา 75 ในเมื่อเห็นจำเป็นที่จะให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของ
กระทรวงมหาดไทยโดยตรง ก็ให้ทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวง
มหาดไทยตามความในวรรคก่อน บรรดาอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
อันเกี่ยวกับเทศบาลนั้น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย

ส่วนที่ 7*
คณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล
---------------

มาตรา 75 ทวิ* ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน อธิบดีกรมมหาดไทย อธิบดีกรมโยธาเทศบาล อธิบดีกรม
ตำรวจ อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่น กรมมหาดไทย เป็นกรรมการ
โดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน
ให้ผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่นกรมมหาดไทย เป็นเลขานุการ
คณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล
ให้คณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลมีหน้าที่ให้คำปรึกษา และเสนอข้อแนะนำ
แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับกิจการเทศบาลโดยทั่วไป

มาตรา 75 ตรี* กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา 75 จัตวา* นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 75 ตรี
กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่คดีความผิดที่เป็น
ลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
เมื่อกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยอาจแต่งตั้งผู้อื่นแทนได้
กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลผู้ได้รับแต่งตั้งตามความในวรรคก่อน
อยู่ในตำแหน่งตามวาระเท่าผู้ที่ตนแทน

มาตรา 75 เบญจ* ในการประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล ถ้า
ประธานกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ
ที่ปรึกษาการเทศบาลที่มาประชุมเลือกกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคนหนึ่งเป็นประธานใน
ที่ประชุม

มาตรา 75 ฉ* การประชุมทุกคราวต้องมีกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลมาประชุม
ไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการที่ปรึกษาการเทศบาลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนน
เสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
*[ส่วนที่ 7 มาตรา 75 ทวิ มาตรา 75 ตรี มาตรา 75 จัตวา มาตรา 75 เบญจ และ
มาตรา 75 ฉ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2505]

บทเฉพาะกาล
---------------

มาตรา 76 ให้สมาชิกสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีแห่งเทศบาลที่ได้จัดตั้ง
อยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัตินี้พ้นจากตำแหน่ง และให้ดำเนินการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิก
สภาเทศบาลใหม่ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ แต่ให้คณะเทศมนตรี
ที่พ้นจากตำแหน่งดำเนินกิจการในหน้าที่ของคณะเทศมนตรีต่อไปจนกว่าคณะเทศมนตรีที่แต่งตั้ง
ขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่เทศบาลใดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สั่งแต่งตั้ง
เจ้าพนักงานเท่าจำนวนคณะเทศมนตรีแห่งเทศบาลนั้นเข้าดำเนินกิจการแทนก็ให้คณะเทศมนตร
ีนั้นพ้นจากหน้าที่

การรักษาพระราชบัญญัติ
---------------

มาตรา 77 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงหรือระเบียบข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2498
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลานี้บางมาตรายังไม่เหมาะสม เช่นให้เทศบาลกู้เงินได้เฉพาะจาก
กระทรวงทบวงกรมหรือองค์การต่าง ๆ เท่านั้น และบางกรณีก็มิได้กำหนดความรับผิดชอบ
ผูกพันการชำระเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันไว้ให้แน่นอน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อ
ให้เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น
[รก.2498/98/1625/27 ธันวาคม 2498]

--------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499

มาตรา 10 สมาชิกสภาเทศบาลประเภทที่สองแห่งเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่แล้ว
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไปจนถึงคราวออกตามวาระ และ
ถ้าตำแหน่งว่างลงเพราะเหตุอื่นก่อนถึงคราวออกตามวาระจะแต่งตั้งสมาชิกขึ้นแทนต่อไป ตาม
มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรที่จะยกเลิกสมาชิก
สภาเทศบาลประเภทที่สอง เพื่อให้มีแต่สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้งแต่ประเภท
เดียว กับแก้ไขเพิ่มเติมไม่ต้องให้มีการแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติ และวิทยฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
ในฐานะเป็นผู้เริ่มการสำหรับท้องถิ่นที่เป็นสุขาภิบาลอยู่ก่อนแล้วจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาล เพราะ
ท้องถิ่นที่เป็นสุขาภิบาลอยู่ก่อนแล้วนั้นได้มีการปฏิบัติหน้าที่ของท้องถิ่นต่อเนื่องกันมาโดยมี
กรรมการเลือกตั้งจากราษฎรเข้าสมทบเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้มี
สมาชิกสภาเทศบาลในฐานะเป็นผู้เริ่มการอีก นอกจากนี้ การเปลี่ยนชื่อเทศบาลยังไม่มีบทบัญญัต
ิระบุไว้ชัดแจ้งว่าจะกระทำได้โดยวิธีใด เพื่อไม่ให้มีปัญหาจึงสมควรจะได้มีบทบัญญัติไว้เสีย
ให้ชัดว่า การเปลี่ยนชื่อเทศบาลให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 บางมาตรา
[รก.2500/11/345/29 มกราคม 2500]

--------------------------------------------------------------
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 40
โดยที่ปรากฏว่า ในขณะนี้คณะเทศมนตรีหลายคณะต้องออกจากตำแหน่ง และผู้ว่าราชการ
จังหวัดได้แต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราว เพื่อดำเนินกิจการของเทศบาลไปจนกว่าจะได้แต่งตั้ง
คณะเทศมนตรีขึ้นใหม่ และโดยที่ในขณะนี้กฎหมายว่าด้วยเทศบาลฉบับปัจจุบันกำลังอยู่ใน
ระหว่างการปรับปรุงของคณะปฏิวัติ ฉะนั้น เพื่อให้ให้การดำเนินกิจการของเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
ดำเนินไปด้วยดี ในระหว่างการปรับปรุงนี้ คณะปฏิวัติจึงเห็นสมควรให้คณะเทศมนตรีชั่วคราว
อยู่ในตำแหน่งตลอดเวลการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาล
หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดั่งต่อไปนี้
ข้อ 1 ภายใต้บังคับความในข้อ 2 ให้คณะเทศมนตรีชั่วคราวซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่งตั้งตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัต
ิเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 อยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะได้มีกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นใช้แทนกฎหมาย
ว่าด้วยเทศบาลฉบับปัจจุบัน

ข้อ 2 ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะสั่งให้นายกเทศมนตรีหรือ
เทศมนตรีซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 ออกจากตำแหน่ง และใน
กรณีที่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรีซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งนั้นว่างลง ไม่ว่า
เพราะเหตุใด ๆ ก็ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรี
แล้วแต่กรณีซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นได้ ทั้งนี้ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย

ข้อ 3 ความในข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้บังคับแก่คณะเทศมนตรีชั่วคราวซึ่งผู้ว่า
ราชการจังหวัดได้แต่งตั้งไว้แล้วก่อนวันประกาศนี้ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
[รก.2502/3/1/6 มกราคม 2502]

----------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2505

มาตรา 6 ในกรณีที่เห็นสมควรกระทรวงมหาดไทยอาจแต่งตั้งข้าราชการไปดำรง
ตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของเทศบาลใดเป็นการชั่วคราวได้ โดยไม่ขาดจากความเป็นข้าราชการ
และคงได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิม ถ้าแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงอื่น ให้กระทรวงมหาดไทย
ทำความตกลงกับกระทรวงเจ้าสังกัดก่อนแต่งตั้ง
ให้ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งมีฐานะอย่างเดียวกับพนักงานเทศบาลทุกประการ

มาตรา 7 การจัดทำกิจการตามมาตรา 51 มาตรา 54 หรือมาตรา 57 แห่ง
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ของเทศบาลใดให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวง
มหาดไทย
ความในวรรคก่อนไม่กระทบกระทั่งกิจการใด ๆ ที่เทศบาลจัดทำอยู่ในวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องทางปฏิบัต
ิตามพระราชบัญญัติเทศบาล และเพื่อกำหนดรายจ่ายของเทศบาลให้สอดคล้องกับหลักการ
งบประมาณ
[รก.2505/18/200/27 กุมภาพันธ์ 2505]

-------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2510
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการปฏิบัติตามพระราช
บัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยังมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจของคณะเทศมนตรีและ
นายกเทศมนตรีในการปฏิบัติงานประจำทั้งการเปรียบเทียบคดีละเมิดเทศบัญญัติ และอัตราค่าปรับ
คดีละเมิดเทศบัญญัติก็ยังไม่อยู่ในระดับที่สมควร จึงเห็นสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 ดังนี้
1. ให้คณะเทศมนตรีมอบอำนาจให้นายกเทศมนตรี เทศมนตรีหรือพนักงาน
เทศบาลหรือนายกเทศมนตรีจะมอบอำนาจให้เทศมนตรี หรือพนักงานเทศบาล ทำกิจการใด ๆ
ซึ่งมีลักษณะเป็นงานประจำตามปกติ ซึ่งกฎหมายระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรีหรือ
นายกเทศมนตรีได้
2. แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดเทศบัญญัติของนายก
เทศมนตรีและเทศมนตรี เพื่อให้มีอำนาจสั่งเรียกพยานมาเพื่อบันทึกถ้อยคำประกอบการพิจารณา
เปรียบเทียบคดีได้ ถ้าไม่มาให้ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
3. แก้ไขอัตราค่าปรับคดีละเมิดเทศบัญญัติให้สูงขึ้นจากหนึ่งร้อยบาท เป็นหนึ่งพันบาท
[รก.2510/26/148/21 มีนาคม 2510]

----------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เทศบาลยังไม่อาจจัดทำกิจการในหน้าที่บางอย่างนอกเขต
เทศบาล หรือลงทุนร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่นหรือกับบุคคลอื่นได้ ฉะนั้น เพื่อให้เทศบาลดำเนิน
กิจการดังกล่าวให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นยิ่งขึ้น จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย
ว่าด้วยเทศบาลบางมาตราเสียใหม่
[รก.2511/46/266/21 พฤษภาคม 2511]

---------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2517

มาตรา 4 ให้เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งยังไม่มีโรงรับจำนำหรือสถาน
สินเชื่อท้องถิ่น จัดตั้งโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่นขึ้นภายในกำหนดสามปีนับแต่วันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แต่ถ้ามีเหตุอันสมควรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจ
อนุญาตให้ขยายเวลาต่อไปได้อีกไม่เกินสองปี

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัต
ิเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้กำหนดหน้าที่ต่าง ๆ ให้เทศบาลต้องจัดทำภายในเขตเทศบาล
แต่กิจการบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้ยากจน คือกิจการโรงรับจำนำและกิจการ
สถานสินเชื่อเทศบาลยังมิได้มีหน้าที่ที่จำต้องจัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ และโดยที่
พิจารณาเห็นว่ากิจการโรงรับจำนำและกิจการสถานสินเชื่อธนาภิบาลเป็นแหล่งที่อำนวย
ช่วยเหลือประชาชนผู้ยากจนในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการเงินเพื่อยังชีพของครอบครัว
สมควรกำหนดให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือกิจการ
สถานสินเชื่อธนาภิบาลภายในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครทุกแห่งเพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนผู้ยากจนต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
[รก.2517/202/7 พ./30 พฤศจิกายน 2517]

-----------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2519
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 บางมาตรายังไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติ
งบประมาณ ได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องส่งร่างเทศบัญญัติที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการ
และผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการ เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยพิจารณา ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและไม่คล่องตัวในการบริหารงานท้องถิ่น
สมควรแก้ไขให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
[รก.2519/156/37 พ./24 ธันวาคม 2519]

----------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2523
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ กิจการ
งานของเทศบาลเมืองได้เพิ่มภาระและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เนื่องจากการคมนาคม
การเศรษฐกิจ การศึกษา การผังเมือง การสาธารณูปโภค และการบริการแก่สาธารณะ แต่จำนวน
เทศมนตรีของเทศบาลยังมีจำนวน 2 คน เท่ากับเทศบาลตำบลที่กำหนดไว้ในมาตรา 49 ความ
รับผิดชอบในภาระต่าง ๆ ปัจจุบันเท่ากับเทศบาลนครซึ่งมีเทศมนตรีถึง 4 คน ด้วยเหตุดังกล่าว
จึงสมควรแก้ไขเพิ่มจำนวนเทศมนตรีตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลและความ
รับผิดชอบในภาระต่าง ๆ ที่นับวันยิ่งสลับซับซ้อนขึ้น
[รก.2523/131/5 พ./23 สิงหาคม 2523]

---------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542

มาตรา 14 บรรดากิจการทั้งหลายที่สมาชิกสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรี ซึ่ง
พ้นจากตำแหน่งตามผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กระทำไปก่อนวันที่พระราช
บัญญัตินี้ใช้บังคับหรือจนถึงวันที่มีการยุบสภาเทศบาลให้เป็นอันใช้บังคับได้และมีผลผูกพัน
เทศบาล

มาตรา 15 การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลที่ได้กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้ง และ
วันเลือกตั้งไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปตามระยะเวลา
ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยได้กำหนดหลักการในการจัดระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นไป
ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น จึงสมควรปรับปรุง
กฎหมายว่าด้วยเทศบาลในส่วนของวาระการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล ข้อห้ามและการ
สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล การพ้นจากตำแหน่งเทศมนตรีและคณะเทศมนตรี การ
ยุบสภาเทศบาล รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของเทศบาลให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2542/15ก/1/10 มีนาคม 2542]

พะเยา379สรรพากร



รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : ข้อสอบ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496

เตรียมสอบท้องถิ่นกันหรือยังครับ

พะเยา379สรรพากร

29 ก.ย. 2555 10:04:51

#1
1


แสดงความคิดเห็น...