แนวข้อสอบธุรการ - สารบรรณ

Untitled Document จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณที่ใช้ถือปฏิบัติในขณะนี้เป็นฉบับ พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. ๒๕๐๖ ข. พ.ศ. ๒๕๐๗ ค. พ.ศ.๒๕๒๒ ง. พ.ศ. ๒๕๒๖

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ระเบียบ นี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ดังนั้น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ เป็นฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๖ ตามข้อ ง.

2.ส่วน ราชการแห่งหนึ่งมีลักษณะการทำงานเป็นพิเศษจากหน่วยงานอื่นและมีความจำเป็น จะต้องปฏิบัติงาน
สารบรรณนอกเหนือไปจากที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำหนด ไว้ ส่วนราชการนั้นจะกระทำได้หรือไม่
เพียงไร อ.วันนรัตน์ แอ๊คกรุ๊ป
ก.ย่อมกระทำได้ ข.ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ให้ความชอบ
ค.กระทำมิได้ ง.ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ส่วนราชการใดมีความจำเป็ นที่จะต้อง
ปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่กำหนด ไว้ในระเบียบนี้ให้ขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบ
นี้ให้ความชอบ

3.ข้อใดมิใช่เป็นความหมายของ “งานสารบรรณ”
ก.งานบริหารงานเอกสาร ข.การรับ การส่ง การรักษาเอก
ค.การจัดทำร่างระเบียบงานสารบรรณ ง.การยืม การทำลายเอกสาร

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “งานสารบรรณ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสาร เริ่ม
ตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย ดังนั้น การจัดทำร่างระเบียบงานสาร
บรรณ จึงมิใช่ความหมาย “งานสารบรรณ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
ตามข้อ ค. แอ็คกรุ๊ป0814451423

4.งานสารบรรณตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ หมายความว่าอย่างไร
ก.งานหนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงส่วนราชการด้วยกัน
ข.งานหนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ทั้งที่เป็นส่วนราชการ และมิใช่ส่วนราชการ
ค.งานเกี่ยวกับการบริหารเอกสารเริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
ง.ไม่มีข้อถูก

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ 6 ในระเบียบนี้ “งานสารบรรณ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสารเริ่ม
ตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย

5.”บรรณสาร” หมายถึงอะไร
ก.หนังสือราชการ ข.สิ่งขอ ค.บรรณารักษ์ ง.ระเบียบงานสารบรรณ

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “งานสารบรรณ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารเอกสารเริ่ม
ตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย ดังนั้น “บรรณสาร” เป็นหนังสือราชการ

6.ข้อใดที่ไม่เป็นส่วนราชการตามระเบียบงานสารบรรณ
ก.รัฐวิสาหกิจ ข.สุขาภิบาล ค.ทบวง ง.กรม

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือ
หน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และให้
หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วย ดังนั้น รัฐวิสาหกิจไม่เป็นส่วนราชการ ตามระเบียบงานสารบรรณ ตามข้อ
ก.

7.ข้อใดที่เป็นส่วนราชการ ตามความหมายของระเบียบงานสารบรรณ
ก.สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ข.สภาตำบล
ค.สุขาภิบาล ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือ
หน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ
ในประเทศ และให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วย ดังนั้น สถานทูตไทยในสหรัฐอเมริกา สภาตำบล
สุขาภิบาล เป็นส่วนราชการตามความหมายของระเบียบงานสารบรรณ ตามข้อ ง.

8. “หนังสือ” ในความหมายของระเบียบงานสารบรรณหมายความว่าอย่างไร
ก.หนังสือราชการ ข.หนังสือทุกประเภท
ค.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ง.เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “หนังสือ” หมายความว่า หนังสือราชการ ดังนั้น “หนังสือ” ตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ หมายถึงหนังสือราชการ ตามข้อ ก.

9.ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไข
เพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ เพราะอะไร
ก.เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการปฏิบัติงานสารบรรณด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ข.เป็นการสอดคล้องกับการบริหารราชการแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธ์ิ ความคุ้มค่า และการลดขั้นตอนการ
ปฏิบัติงาน
ค.สมควรวางระบบงานสารบรรณให้เป็นการดำเนินงานที่มีระบบ มีความรวดเร็วมีประสิทธิภาพและลดความ
ซ้ำซ้อนในการปฏิบัติราชการ
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ตาม ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๓๒ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓
กันยายน ๒๕๔๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อให้เหมาะสม
กับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการปฏิบัติงานสารบรรณด้วยระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นการ
สอดคล้องกับการบริหารราชการแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธ์ิ ความคุ้มค่า และการลดขั้นตอนการ
ปฏิบัติงาน สมควรวางระบบงานสารบรรณให้เป็นการดำเนินงานที่มีระบบ มีความรวดเร็วมีประสิทธิภาพและ
ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้

10.อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับงานสารบรรณของงานราชการในปัจจุบันนี้ หมายถึงอะไร
ก.หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข.หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน แสงเสียง และคลื่นเสียง
ค.หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน แม่เหล็ก และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ง. หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า และคลื่นแม่เหล็กเสียงไฟฟ้า

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ตาม ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๓๒ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓
กันยายน ๒๕๔๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ อิเล็กทรอนิกส์”
หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กเสียงไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะ
คล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
กับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น

11.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผลบังคับใช้วันที่เท่าใด
ก.วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ ข.วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๘
ค.วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ง.วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
เฉลย ข้อ ข. แนวคิด วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๘ ตาม ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๓๒ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๙๙ ง
ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศ เมื่อ วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสาร
บรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ และข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเป็นต้น ไป

12.ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับงานสารบรรณของงานราชการในปัจจุบันนี้ หมายถึงอะไร
ก.หมายความว่าการรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอินเตอร์เน็ต
ข.หมายความว่าการรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางโทรศัพท์สำนักงาน
ค.หมายความว่าการรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์
ง.หมายความว่าการรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๔ ให้เพิ่มนิยามคำว่า “อิเล็กทรอนิกส์” และคำว่า “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์”
ระหว่างคำนิยามคำว่า “หนังสือ” และ “ส่วนราชการ” ในข้อ ๖ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสาร
บรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า หมายความว่าการรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือ
หนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์

13.ผู้ใดรักษาการระเบียบนี้
ก.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข.นายกรัฐมนตรี
ค.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ง.ไม่มีข้อถูก

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๘ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและ
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกและจัดทำคำอธิบายกับให้มี
หน้าที่ดำเนินการ ฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ

14.ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่
ก.หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือ
ที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
ข.หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการเอกสารที่ทางราชการ
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
ค.เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ข้อมูลข่าวสารหรือ หนังสือที่ได้รับจาก
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ง.เอกสาร ที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ข้อมูลข่าวสารหรือ หนังสือที่ได้รับจาก
ระบบสารบรรณอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ไม่มีคำว่าจากระบบสารบรรณอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตาม ระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๙ หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐาน
ในราชการ ได้แก่ ๙.๑ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ ๙.๒ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใด
ซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีไป ถึงบุคคลภายนอก ๙.๓ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือ
บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ ๙.๔ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ ๙.๕ เอกสาร
ที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ๙.๖ ข้อมูลข่าวสารหรือ หนังสือที่ได้รับจากระบบ
สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

15.หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการมี ๖ ชนิด คือ ข้อใด
ก.หนังสือ ภายใน, หนังสือภายนอก, หนังสือที่มีไปมาระหว่างกระทรวง, ส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก และ
หนังสือที่ส่งออก และหนังสือราชการสำคัญเกี่ยวกับการเงิน
ข.หนังสือภายใน, หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ, หนังสือสั่งการและโฆษณาหนังสือราชการที่ส่งออก และ
หนังสือราชการสำคัญเกี่ยวกับการเงิน
ค.หนังสือ ภายนอก, หนังสือภายใน, หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ, หนังสือสั่งการและโฆษณาหนังสือที่
เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน
ง.ไม่มีข้อใดถูกต้อง

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๑๐ หนังสือมี ๖ ชนิด คือ ๑๐.๑ หนังสือภายนอก ๑๐.๒ หนังสือภายใน ๑๐.๓
หนังสือประทับตรา ๑๐.๔ หนังสือสั่งการ ๑๐.๕ หนังสือประชาสัมพันธ์ 10.6 หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้
เป็นหลักฐาน

16.หนังสือประทับตรา คือ หนังสืออะไร
ก.หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป
ข.หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
ค.หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงขึ้นไป
ง.ไม่มีข้อใดถูกต้อง

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ข้อ ๑๓ หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วน
ราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วน
ราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา

17.หนังสือ ประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการกับ
บุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
ก.การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน
ข.การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
ค.เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนด โดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือประทับตรา
ง.การส่งหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร แอ๊คกรุ๊ป

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๑๓ หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการและระหว่าง
ส่วนราชการกับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่ ๑๓.๑ การขอรายละเอียดเพิ่มเติม ๑๓.๒
การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร ๑๓.๓ การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือ
การเงิน ๑๓.๔ การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ ๑๓.๕ การเตือนเรื่องที่ค้าง

๑๓.๖ เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนด โดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือประทับตรา
18.หนังสือประทับตรา ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๓ ท้ายระเบียบโดยกรอกรายละเอียด ข้อใด
ไม่ถูกต้อง
ก.ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
ข.ตราชื่อส่วนราชการ ให้ประทับตราชื่อส่วนราชการตามข้อ ๗๒ ด้วยหมึกน้ำเงินและให้ผู้รับผิดชอบลงลายมือ
ชื่อย่อกำกับตรา
ค.ถึง ให้ลงชื่อส่วนราชการ หน่วยงาน หรือบุคคลที่หนังสือนั้นมีถึง
ง.ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ตราชื่อส่วนราชการ ให้ประทับตราชื่อส่วนราชการ ข้อ ๗๒ ด้วยหมึกแดง และ ให้
ผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ข้อ
๑๔ หนังสือประทับตรา ใช้กระดาษครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๓ ท้ายระเบียบโดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๑๔.๑ ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่องตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ ทับเลขทะเบียน
หนังสือส่ง ๑๔.๒ ถึง ให้ลงชื่อส่วนราชการ หน่วยงาน หรือบุคคลที่หนังสือนั้นมีถึง ๑๔.๓ ข้อความ ให้ลง
สาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ๑๔.๔ ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ส่ง
หนังสือออก ๑๔.๕ ตราชื่อส่วนราชการ ให้ประทับตราชื่อส่วนราชการตามข้อ ๗๒ ด้วยหมึกแดงและให้
ผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา

19.ข้อใดคือหนังสือสั่งการ
ก.คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ข.คำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติ
ค. คำสั่ง ระเบียบ ข้อกฎหมาย ง. คำสั่ง ระเบียบ ข้อกำหนด

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๑๕ หนังสือสั่งการ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนด
แบบไว้โดยเฉพาะ หนังสือสั่งการมี ๓ ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ

20.หนังสือประชาสัมพันธ์มี ๓ ชนิด ได้แก่
ก.ประกาศ แถลงการณ์ และคำสั่ง ข. ประกาศ แถลงการณ์ และข้อบังคับ
ค.อ่านประกาศ แถลงการณ์ และข่าว ง.ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๑๙ หนังสือประชาสัมพันธ์ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย
กำหนดแบบไว้โดยเฉพาะ หนังสือประชาสัมพันธ์มี ๓ ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว

21.ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษ
ตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๗ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
ก.ประกาศ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ประกาศ
ข.ข้อ ความ ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศและข้อความที่ประกาศ ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อ
เต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกประกาศ
ค.ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ประกาศ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ ตำแหน่ง ให้ลง
ตำแหน่งของผู้ออกประกาศ
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๒๐ ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะ
แนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๗ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๒๐.๑ ประกาศ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ ๒๐.๒ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ประกาศ ๒๐.๓ ข้อความ ให้
อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศและข้อความที่ประกาศ ๒๐.๔ ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของ
เดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกประกาศ ๒๐.๕ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ประกาศ และพิมพ์ชื่อเต็มของ
เจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ ๒๐.๖ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกประกาศ ในกรณีที่กฎหมาย
กำหนดให้ทำเป็นแจ้งความ ให้เปลี่ยนคำว่า ประกาศ เป็น แจ้งความ

22.แถลงการณ์ คืออะไร
ก.บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ
ข.เหตุการณ์หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน อ.วรรณรัตน์
ค.ใช้กระดาษครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๘ ท้ายระเบียบ
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๒๑ แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของ
ทางราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ใช้กระดาษครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๘
ท้ายระเบียบ

23.ข่าว คือ อะไร
ก.ข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกข่าว
ข.ฉบับ ที่ ใช้ในกรณีที่จะต้องออกข่าวหลายฉบับในเรื่องเดียวกันที่ต่อเนื่องกันให้ลง ฉบับที่เรียงตามลำดับไว้
ด้วย ข้อความ ให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของข่าว
ค.ส่วน ราชการที่ออกข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน
และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข่าว
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๒๒ ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบให้จัดทำตาม
แบบที่ ๙ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้ ๒๒.๑ ข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว ๒๒.๒ เรื่อง ให้ลง
ชื่อเรื่องที่ออกข่าว ๒๒.๓ ฉบับที่ ใช้ในกรณีที่จะต้องออกข่าวหลายฉบับในเรื่องเดียวกันที่ต่อเนื่องกันให้ลง
ฉบับที่เรียงตามลำดับไว้ด้วย ๒๒.๔ ข้อความ ให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของข่าว ๒๒.๕ ส่วนราชการที่ออก
ข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว ๒๒.๖ วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของ
ปีพุทธศักราชที่ออกข่าว อ.วันนรัตน์

24.หนังสือ อะไรที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคลหรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่าง
หนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไป ไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
ก.หนังสือรับรอง ข.รายงานการประชุม ค.บันทึก ง.หนังสืออื่น

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๒๔ หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคล
หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไป ไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษ
ตราครุฑ

25.การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐานเรียกว่าอะไร
ก.หนังสือรับรอง ข.รายงานการประชุม ค.บันทึก ง.หนังสืออื่น

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ข้อ ๒๕ รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม
และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน

26.ข้อ ความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือ
ข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติ
ให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ คือหนังสืออะไร อ.กษิระ
ก.หนังสือรับรอง ข.รายงานการประชุม ค.บันทึก ง.หนังสืออื่น

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๒๖ บันทึก คือ ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชา
สั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกัน
ในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

27.หนังสืออื่นตามราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ ในข้อ ๒๗ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย
งาสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ คือ อะไร
ก.หนังสือ หรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็น หลักฐานในราชการ ซึ่ง
รวมถึงภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกภาพ และสื่อกลางบันทึกข้อมูลด้วย
ข.หนังสือของบุคคลภายนอก เจ้าหน้าที่จัดทำและเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้ว
ค.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้ว มีรูปแบบตามที่บุคคลภายนอกจัดทำขึ้น
เอง
ง.ไม่มีข้อใดถูกต้อง

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๒๗ หนังสืออื่น คือ หนังสือ หรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่เพื่อเป็น หลักฐานในราชการ ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกภาพ และสื่อกลางบันทึกข้อมูลด้วย
หรือหนังสือของบุคคลภายนอก เจ้าหน้าที่จัดทำและเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการ แล้ว
มีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรม จะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสมเว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่อง
ให้ทำตามแบบ เช่น โฉนด แผนที่ แบบ แผนผัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน เป็นต้นแอ๊คกรุ๊ป

28.สื่อ กลางบันทึกข้อมูลตามวรรคหนึ่งของราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ ในข้อ ๒๗ แห่งระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ หมายถึงอะไร
ก.สื่อใดๆ ที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ
ข.สื่อใดๆ ที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ
ค.สื่อใดๆ ที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์
ง.สื่อใดๆ ที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ แถบบันทึกเสียง ภาพถ่าย ฟิล์ม

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๒๗ สื่อกลางบันทึกข้อมูลตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง สื่อใดๆ ทอี่ าจใช้บันทึกข้อมูลได้
ด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี-อ่านอย่างเดียว หรือ
แผ่นดิจิทัล อเนกประสงค์ เป็นต้น

29.การติดต่อราชการนอกจากการจะดำเนินการ โดยหนังสือที่เป็นเอกสารสามารถดำเนินการด้วยระบบสาร
บรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไร
ก.ใน กรณีที่ติดต่อราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ส่งตรวจสอบผลการส่งทุกครั้งแลให้ผู้รับแจ้ง
ตอบรับ เพื่อยืนยันว่าหนังสือได้จัดส่งไปยังผู้รับเรียบร้อยแล้ว และส่วนราชการผู้ส่งไม่ต้องจัดส่งหนังสือเป็น
เอกสาร เว้นแต่กรณีเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นต้องยืนยันเป็นเอกสาร
ข.ให้ ทำเอกสารยืนยันตามไปทันทีการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์
โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ผู้รับต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำหนังสือยืนยันตาม
ไปทันโดยการส่งข้อความทาง เครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์ โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร
วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกัน ได้รับหนังสือ
ค.ใน กรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำหนังสือยืนยันตามไปทันทีการส่งข้อ ความทางเครื่องมือสื่อสาร
ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่น ทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้
ผู้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน แอ็คกรุ๊ป
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๒๙ การติดต่อราชการนอกจากการจะดำเนินการ โดยหนังสือที่เป็นเอกสารสามารถ
ดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ใน กรณีทิ่ติดต่อราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ให้ ผู้ ส่งตรวจสอบผลการส่งทุกครั้งและให้ผู้แจ้งตอบรับ เพื่อยืนยันว่าหนังสือได้จัดส่งไปยังผู้รับเรียบร้อย
แล้ว และส่วนราชการผู้ส่งไม่ต้องจัดส่งหนังสือเป็นเอกสาร เว้นแต่กรณีเป็นกรณีสำคัญจำเป็นต้องยืนยันเป็น
เอกสาร ให้ทำเอกสารยืนยันตามไปทันที การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทร
พิมพ์ โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับ
หนังสือ ในกรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำหนังสือยืนยันตามไปทันที การส่งข้อความทางเครื่องมือ
สื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่น ทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็น
ต้น ให้ผู้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน

30.การรับหนังสือที่มีชั้นความลับ ในชั้นลับหรือลับมาก ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จะต้องปฏิบัติ
อย่างไร
ก.ผู้ ปฏิบัติงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับแต่ละระดับ เป็นผู้รับผ่านระบบงานสารบรรณ โดยให้
เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณของทางราชการ
ข.ผู้ ใช้งานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับแต่ละระดับ เป็นผู้รับผ่านระบบงานสารบรรณ โดยให้เป็นไป
ตามระเบียบว่าด้วยงานส่วนราชการของทางราชการ
ค.ผู้ ปฏิบัติงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับแต่ละระดับ เป็นผู้รับผ่านระบบการรักษาความปลอดภัย
โดยให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
ง.ไม่มีข้อใดถูกต้อง

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๓๕ หนังสือรับ คือ หนังสือที่ได้รับเข้ามาจากภายนอก ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
สารบรรณ กลางปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้การรับหนังสือที่มีชั้นความลับ ในชั้นลับหรือลับมาก ด้วย
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้งานหรือผู้ ปฏิบัติงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับแต่ละระดับ
เป็ นผู้รับผ่านระบบการรักษาความปลอดภัย โดยให้เป็ นไปตามระเบียบว่าด้วยงานส่วนราชการของทางราชการ

31.หนังสือส่งคืออะไร
ก.หนังสือส่งก่อนดำเนินการ ควรผ่านหัวหน้าฝ่ายทะเบียนส่ง หรือผู้ได้รับมอบหมาย
ข.หนังสือส่งเป็นหนังสือภายนอกที่ทำเสร็จเรียบร้อยและมีการเซ็นตามระเบียบและจะส่งไปให้ผู้รับ
ค.หนังสือส่งด่วน ด่วนมาก และมีกำหนดเวลานั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ชั้นหัวหน้า ผู้เป็นเจ้าของเรื่องจะเป็นผู้
กำหนด
ง.หนังสือ ที่ส่งออกไปภายนอกให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในส่วนการส่งหนังสือที่มีชั้น ความลับในชั้นลับหรือ
ลับมาก ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้งานหรือผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับ
แต่ ละระดับ เป็นผู้ส่งผ่านระบบการรักษาความปลอดภัย โดยให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับ
ของทางราชการ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๔๑ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ หนังสือส่ง คือ
หนังสือ ที่ส่งออกไปภายนอกให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในส่วนการส่งหนังสือที่มีชั้น ความลับในชั้นลับหรือลับ
มาก ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้งานหรือผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับแต่
ละระดับ เป็ นผู้ส่งผ่านระบบการรักษาความปลอดภัย โดยให้เป็ นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของ
ทางราชการ

32.อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. ๕ ปี ข. ๑๐ ปี ค.๑๕ ปี ง.๒๐ ปี

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ข้อ ๕๗ อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี เว้นแต่หนังสือ ให้ใช้ได้
ในกรณีใด

33.หนังสือ หรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่ไม่เป็นหลักฐานแห่ง
การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินรวมถึงหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน
การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่หมดความจำเป็ นในการใช้เป็ นหลักฐานแห่งการ ก่อ
เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินเพราะได้มีหนังสือหรือเอกสารอื่นที่สามารถนำ มาใช้
อ้างอิงหรือทดแทนหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวแล้วเมื่อสำนักงานตรวจเงิน แผ่นดินตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา
และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบหรือเพื่อการใดๆ อีก ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ปี หนังสือ
เกี่ยวกับการเงิน ซึ่งเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ถึง ๑๐ ปี หรือ ๕ ปี แล้วแต่กรณีให้ทำความตกลงกับใคร
ก.สำนักนายกรัฐมนตรี ข.กระทรวงมหาดไทย ค.กระทรวงการคลัง ง.รัฐสภา

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๕๗.๖ เล่ม ๑๒๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ หนังสือหรือเอกสาร
เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง
โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินเพราะได้มีหนังสือหรือเอกสารอื่นที่สามารถนำ มาใช้อ้างอิงหรือ
ทดแทนหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวแล้วเมื่อสำนักงานการตรวจ เงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา และไม่
มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบหรือเพื่อการใดๆ อีก ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ปี หนังสือเกี่ยวกับ
การเงิน ซึ่งเห็นว่าไม่มีความจำเป็ นต้องเก็บไว้ถึง ๑๐ ปี หรือ ๕ ปี แล้วแต่กรณีให้ทำความตกลงกับ
กระทรวงการคลัง

34.หนังสือที่ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องเก็บไว้ที่ส่วนราช

โกโก้



รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : แนวข้อสอบธุรการ - สารบรรณ

34.หนังสือที่ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องเก็บไว้ที่ส่วนราชการนั้นให้จัดทำบัญชีหนังสือครบ ๒๐ ปี ที่ขอเก็บ
เอง ส่งมอบให้ใคร
ก.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ข.มหาวิทยาลัยศิลปากร
ค.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ง.ไม่มีข้อใดถูก

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๕๘.๓ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ หนังสือที่
ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องเก็บไว้ที่ส่วนราชการนั้นให้จัดทำ บัญชีหนังสือครบ ๒๐ ปี ที่ขอเก็บเอง ส่งมอบให้
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

35.หนังสือใดให้เก็บไว้เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติตลอดไป
ก.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ
ข.หนังสือที่เป็นหลักฐานทางอรรถคดี สำนวนของศาล
ค.หนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทุกสาขาวิชา และมีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย
ง.ไม่มีข้อใดถูก

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๕๗.๓ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘ หนังสือที่
มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทุกสาขาวิชา และมีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานสำคัญทาง
ประวัติศาสตร์ของชาติตลอดไป หรือตามที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กำหนด

36.ทุก ปี ปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบ ๒๕ ปี นับจากวันที่ได้จัดทำขึ้นที่เก็บไว้ ณ ส่วน
ราชการใด พร้อมทั้งบัญชีส่งมอบหนังสือครบ ๒๕ ปี ให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรภายในเวลาใด
ก.ภายในวันที่ ๑ มกราคม ของปี ถัดไป ข.ภายในวันที่ ๑๐ มกราคม ของปี ถัดไป
ค.ภายในวันที่ ๑๕ มกราคม ของปี ถัดไป ง.ภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ของปี ถัดไป

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ทุก ปีปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบ ๒๕ ปี นับจากวันที่ได้จัดทำขึ้นที่เก็บ
ไว้ ณ ส่วนราชการใด พร้อมทั้งส่งมอบหนังสือครบ ๒๕ ปี ให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ภายใน
วันที่ ๓๑ มกราคม ของปีถัดไป

37.บัญชี ส่งมอบหนังสือครบ ๒๕ ปี และบัญชีหนังสือครบ ๒๕ ปีที่ขอเก็บเองอย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนา
คู่ฉบับ เพื่อให้ส่วนราชการผู้มอบและให้ใครเป็นผู้รับมอบ
ก.กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ข.สำนักนายกรัฐมนตรี
ค.หอสมุดแห่งชาติ ง.ไม่มีข้อถูก

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๕๙ บัญชีส่งมอบหนังสือครบ ๒๕ ปีที่ขอเก็บเองอย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่
ฉบับ เพื่อให้ส่วนราชการผู้มอบและให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรเป็นผู้รับมอบ

38.หนังสือ ที่ยังไม่ถึงกำหนดทำลาย ซึ่งส่วนราชการเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีความสำคัญและประสงค์จะฝากให้
กอง จดหมายเหตุแหงชาติ กรมศิลปากร เก็บไว้ ดังนี้
ก.จัดทำบัญชีฝากหนังสือตามแบบที่ ๒๓ ท้ายระเบียบ อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับ
ข.ส่งต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับบัญชีฝากหนังสือพร้อมกับหนังสือที่จะฝากให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรม
ศิลปากร
ค.เมื่อ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ตรวจหนังสือและรับฝากหนังสือแล้วให้ลงนามในบัญชีฝาก
หนังสือ แล้วคืนต้นฉบับให้ส่วนราชการผู้ฝากเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๖๐ หนังสือที่ยังไม่ถึงกำหนดทำลาย ซึ่งส่วนราชการเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีความสำคัญ
และประสงค์จะฝากให้กอง จดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เก็บไว้ ให้ปฏิบัติดังนี้ ๖๐.๑ จัดทำบัญชีฝาก
หนังสือตามแบบที่ ๒๓ ท้ายระเบียบ อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับ ๖๐.๒ ส่งต้นฉบับและสำเนาคู่
ฉบับบัญชีฝากหนังสือพร้อมกับหนังสือที่จะฝากให้กอง จดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ๖๐.๓ เมื่อกอง
จดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ตรวจหนังสือและรับฝากหนังสือแล้วให้ลงนามในบัญชีฝากหนังสือ แล้วคืน
ต้นฉบับให้ส่วนราชการผู้ฝากเก็บไว้เป็นหลักฐาน

39.การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้วระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นใคร
ก.หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ข.หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ค.หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ง.ไม่มีข้อถูก

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ข้อ ๖๒ การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้ ๖๒.๓ การยืมหนังสือระหว่างส่วน
ราชการ ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ทไี่ ด้รับมอบหมาย

40.ภาย ในกี่วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่ครบกำหนด
อายุการ เก็บในปีนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เก็บไว้เองหรือที่ฝากเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่ง ชาติ กรมศิลปากร
แล้วจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการทำลาย
หนังสือ
ก.ภายใน ๓๐ วัน ข.ภายใน ๔๐ วัน ค.ภายใน ๕๐ วัน ง.ภายใน ๖๐ วัน

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๖๖ ภายใน ๖๐ หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ
สำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการ เก็บในปี นั้น ไม่ว่าจะเป็ นหนังสือที่เก็บไว้เองหรือที่ฝากเก็บไว้ที่กอง
จดหมายเหตุแห่ง ชาติ กรมศิลปากร แล้วจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อ
พิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ

41.หัว หน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วยประธาน กรรมการและ
กรรมการอีกอย่างน้อยสองคน โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับใด
ก.ตั้งแต่ระดับ ๑ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ข.ตั้งแต่ระดับ ๒ หรือเทียบเท่าขึ้นไป
ค.ตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ง.ไม่มีข้อถูก

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๖๗ ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยสองคน โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๓ หรือ
เทียบเท่าขึ้นไป

42.คณะกรรมการทำลายหนังสือ มีหน้าที่ดังนี้
ก.พิจารณา หนังสือที่จะขอทำลายตามบัญชีหนังสือขอทำลายในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็น ว่าหนังสือ
ฉบับใดไม่ควรทำลาย และควรจะขยายเวลาการเก็บไว้ ให้ลงความเห็นว่าจะขยายเวลาการเก็บไว้ถึงเมื่อใด ใน
ช่องการพิจารณาตามข้อ ๖๖.๑๑ ของบัญชีหนังสือขอทำลาย แล้วให้แก้ไขยุการเก็บหนังสือในตรากำหนดเก็บ
หนังสือโดยให้ประธานกรรมการ ทำลายหนังสือลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข
ข.ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรให้ทำลาย ให้กรอกเครื่องหมายกากบาท (x) ลงใน
ช่องการพิจารณาตามข้อ ๖๖.๑๑ ของบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอรายงานผลการพิจารณาพร้อมทั้งบันทึก
ความเห็นแย้ง ของคณะกรรมการ (ถ้ามี) ต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณาสั่งการตามข้อ ๖๙
ค.ควบ คุมการทำลายหนังสือซึ่งผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายได้แล้ว โดยการเผาหรือวิธีอื่นใดที่จะไม่ให้หนังสือ
นั้นอ่านเป็นเรื่องได้ และเมื่อทำลายเรียบร้อยแล้ว ให้ทำบันทึกลงนามร่วมกันเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติทราบ
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๖๘ คณะกรรมการทำลายหนังสือ มีหน้าที่ดังนี้ ๖๘.๑ พิจารณาหนังสือที่จะขอทำลาย
ตามบัญชีหนังสือขอทำลาย ๖๘.๒ ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าหนังสือฉบับใดไม่ควรทำลาย และควร
จะขยายเวลาการเก็บไว้ ให้ลงความเห็นว่าจะขยายเวลาการเก็บไว้ถึงเมื่อใด ในช่องการพิจารณาตามข้อ ๖๖.๑๑
ของบัญชีหนังสือขอทำลาย แล้วให้แก้ไขยุการเก็บหนังสือในตรากำหนดเก็บหนังสือโดยให้ประธานกรรมการ
ทำลายหนังสือลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข ๖๘.๓ ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรให้
ทำลาย ให้กรอกเครื่องหมายกากบาท (x) ลงในช่องการพิจารณาตามข้อ ๖๖.๑๑ ของบัญชีหนังสือขอทำลาย
๖๘.๔ เสนอรายงานผลการพิจารณาพร้อมทั้งบันทึกความเห็นแย้งของคณะกรรมการ (ถ้ามี) ต่อหัวหน้าส่วน
ราชการระดับกรมเพื่อพิจารณาสั่งการตามข้อ ๖๙ ๖๘.๕ ควบคุมการทำลายหนังสือซึ่งผู้มีอำนาจอนุมัติให้
ทำลายได้แล้ว โดยการเผาหรือวิธีอื่นใดที่จะไม่ให้หนังสือนั้นอ่านเป็นเรื่องได้ และเมื่อทำลายเรียบร้อยแล้ว ให้
ทำบันทึกลงนามร่วมกันเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติทราบ

43.ถ้า กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เห็นชอบด้วย ให้แจ้งให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการทำลายหนังสือ
ต่อไปได้ หากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ไม่แจ้งให้ทราบอย่างใดภายในกำหนดกี่วัน นับแต่วันที่
ส่วนราชการนั้นได้ส่งเรื่องให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้ถือว่า กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรม
ศิลปากร ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และให้ส่วนราชการทำลายหนังสือได้
ก. ๓๐ วัน ข.๔๐ วัน ค.๕๐ วัน ง.๖๐ วัน

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๗๐ ให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณารายการในบัญชีหนังสือขอ
ทำลายแล้วแจ้งให้ส่วนราชการที่ส่งบัญชี หนังสือทำลายทราบดังนี้ ๗๐.๑ ถ้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรม
ศิลปากร เห็นชอบด้วย ให้แจ้งให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการทำลายหนังสือต่อไปได้ หากกองจดหมายเหตุ
แห่งชาติ กรมศิลปากร ไม่แจ้งให้ทราบอย่างใดภายในกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันที่ส่วนราชการนั้นได้ส่งเรื่องให้
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้ถือว่า กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ให้ความเห็นชอบ
แล้ว และให้ส่วนราชการทำลายหนังสือได้

44.ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ ให้ใช้ตามแบบที่ ๒๖ ท้ายระเบียบ มี ๒ ขนาด คือ
ก.ขนาดตัวครุฑ ๓ เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง ๑.๕ เซนติเมตร
ข.ขนาดตัวครุฑ ๓ เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง ๑ เซนติเมตร
ค.ขนาดตัวครุฑ ๒ เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง ๑.๕ เซนติเมตร
ง.ขนาดตัวครุฑ ๒ เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง ๑ เซนติเมตร

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ ให้ใช้ตามแบบที่ ๒๖ ท้ายระเบียบ มี ๒ ขนาด คือ ๗๑.๑ ขนาด
ตัวครุฑ ๓ เซนติเมตร และขนาดตัวครุฑสูง ๑.๕ เซนติเมตร

45.ตรา ชื่อส่วนราชการให้ใช้ตามแบบที่ ๒๗ ท้ายระเบียบ มีลักษณะเป็นรูปวงกลมสองวงซ้อนกัน
เส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกเท่าใดในวงใน ๓.๕ เซนติเมตร ล้อมครุฑตามข้อ ๗๑.๑ ระหว่างวงนอกและวงในมี
อักษรไทยชื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมหรือจังหวัดอยู่ขอบ
ล่างของตรา
ก.๒.๕เซนติเมตร ข.๓.๕ เซนติเมตร ค.๔.๕ เซนติเมตร ง . ๕ . ๕
เซนติเมตร

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๗๒ ตราชื่อส่วนราชการให้ใช้ตามแบบที่ ๒๗ ท้ายระเบียบ มีลักษณะเป็นรูปวงกลม
สองวงซ้อนกันเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอก ๔.๕ เซนติเมตร ในวงใน ๓.๕ เซนติเมตร ล้อมครุฑตามข้อ ๗๑.๑
ระหว่างวงนอกและวงในมีอักษรไทยชื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็น
กรมหรือจังหวัดอยู่ขอบ ล่างของตรา

46.มาตรฐานกระดาษโดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว น้ำหนัก ๖๐ กรัมต่อตารางเมตร มีขนาดเอ ๔ หมายความ
ว่าอย่างใด
ก.ขนาด ๒๑๐ มิลลิเมตร x ๒๙๗ มิลลิเมตร ข.ขนาด ๑๔๘ มิลลิเมตร x ๒๑๐ มิลลิเมตร
ค.ขนาด ๕๒ มิลลิเมตร x ๗๔ มิลลิเมตร ง.ขนาด ๑๑๐ มิลลิเมตร x ๒๒๐ มิลลิเมตร

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๗๔.๑ มาตรฐานกระดาษโดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว น้ำหนัก ๖๐ กรัมต่อตาราง
เมตร มี ๓ ขนาด คือ ๗๔.๑.๑ ขนาดเอ ๔ หมายความว่า ขนาด ๒๑๐ มิลลิเมตร x ๒๙๗ มิลลิเมตร
47.มาตรา ฐานซอง โดยปกติให้ใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนัก ๘๐ กรัมต่อตารางเมตร เว้นแต่ซองขนาด
ซี ๔ ให้ใช้กระดาษน้ำหนัก ๑๒๐ กรัมต่อตารางเมตร ขนาดดีแอล หมายความว่าอย่างใด
ก.ขนาด ๒๒๙ มิลลิเมตร x ๓๒๔ มิลลิเมตร ข.ขนาด ๑๖๒ มิลลิเมตร x ๒๒๙ มิลลิเมตร
ค.ขนาด ๑๑๔ มิลลิเมตร x ๑๖๒ มิลลิเมตร ง.ขนาด ๑๑๐ มิลลิเมตร x ๒๒๐ มิลลิเมตร

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ๗๔.๒ มาตรฐานซอง โดยปกติให้ใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนัก ๘๐ กรัมต่อตาราง
เมตร เว้นแต่ซองขนาดซี ๔ ให้ใช้กระดาษน้ำหนัก ๑๒๐ กรัมต่อตารางเมตร มี ๔ ขนาด คือ ๗๔.๒.๔ ขนาดดี
แอล หมายความว่า ขนาด ๑๑๐ มิลลิเมตร x ๒๒๐ มิลลิเมตร

48.กระดาษบันทึกข้อความ ให้ใช้ขนาดเอ ๔ หรือขนาดเอ ๕ พิมพ์ครุฑตามข้อ ๗๑.๒ ด้วยหมึกสีอะไรที่มุมบน
ด้านซ้าย ตามแบบที่ ๒๙ ท้ายระเบียบ
ก.สีแดง ข.สีน้ำเงิน ค.สีดำ ง.สีเขียว

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ข้อ ๗๕ กระดาษตราครุฑให้ใช้กระดาษขนาดเอ ๔ พิมพ์ครุฑตามข้อ ๗๑.๑ ด้วยหมึกสีดำ
หรือทำเป็นครุฑดุน ที่มุมบนด้านซ้าย ตามแบบที่ ๒๘ ท้ายระเบียบ

49.ซอง หนังสือให้พิมพ์ครุฑตามข้อ ๗๑.๒ ด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้ายของซอง ๗๗.๑ ขนาดใด ให้สำหรับ
บรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑ โดยไม่ต้องพับ มีชนิดธรรมดาและขยายข้าง
ก.ขนาดซี ๔ ข.ขนาดซี ๕ ค.ขนาดซี ๖ ง.ขนาดดีแอล

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ซองหนังสือให้พิมพ์ครุฑตามข้อ ๗๑.๒ ด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้ายของซอง ๗๗.๑
ขนาดซี ๔ ให้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑ โดยไม่ต้องพับ มีชนิดธรรมดาและขยายข้าง

50.ตรา รับหนังสือ คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือ เพื่อลงเลขทะเบียนรับหนังสือตามแบบที่ ๑๒ ท้ายระเบียบ มี
ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดเท่าใดมีชื่อส่วนราชการอยู่ตอนบน
ก.ขนาด ๒.๐ เซนติเมตร x ๕ เซนติเมตร ข.ขนาด ๒.๕ เซนติเมตร x ๕ เซนติเมตร
ค.ขนาด ๒.๐ เซนติเมตร x ๔.๕ เซนติเมตร ง.ขนาด ๒.๕ เซนติเมตร x ๔.๕ เซนติเมตร

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ข้อ๗๘ ตรารับหนังสือ คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือ เพื่อลงเลขทะเบียนรับหนังสือตาม
แบบที่ ๑๒ ท้ายระเบียบ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒.๕ เซนติเมตร x ๕ เซนติเมตร มีชื่อส่วน
ราชการอยู่ตอนบน

51.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก.ทะเบียน หนังสือรับ ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้รับเข้าเป็นประจำวัน โดยเรียงลำดับลงมาตามเวลาที่
ได้รับหนังสือ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์หนึ่งหน้า มีสองชนิด คือ ชนิดเป็นเล่มและชนิดเป็นแผ่นตามแบบที่ ๑๓ ท้าย
ระเบียบ
ข.ทะเบียน หนังสือส่ง ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้ส่งออกเป็นประจำวัน โดยเรียงลำดับลงมาตามเวลาที่ได้
ส่งหนังสือ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า มีสองชนิด คือ ชนิดเป็นเล่มและชนิดเป็นแผ่นตามที่แบบที่ ๑๔ ท้าย
ระเบียบ
ค.สมุด ส่งหนังสือและใบรับหนังสือ ใช้สำหรับลงรายการละเอียดเกี่ยวกับการส่งหนังสือโดยให้ผู้นำส่งถือกำกับ
ไป กับหนังสือเพื่อให้ผู้รับเซ็นรับแล้วรับกลับคืนมา
ง.สมุดส่งหนังสือ เป็นสมุดสำหรับใช้ลงรายการส่งหนังสือ มีขนาดเอ ๕ พิมพ์สองหน้า ตามแบบที่ ๑๖ ท้าย
ระเบียบ

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด ข้อ ๗๙ ทะเบียนหนังสือรับ ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้รับเข้าเป็นประจำวัน โดย
เรียงลำดับลงมาตามเวลาที่ได้รับหนังสือ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า มีสองชนิด คือ ชนิดเป็นเล่มและชนิดเป็น
แผ่นตามแบบที่ ๑๓ ท้ายระเบียบ

52.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก.ใบ รับหนังสือ ใช้สำหรับกำกับไปกับหนังสือที่นำส่งโดยให้ผู้รับเซ็นชื่อรับแล้วรับกลับคืน มา มีขนาดเอ ๘
พิมพ์หน้าเดียว ตามแบบที่ ๑๗ ท้ายระเบียบ
ข.บัญชีหนังสือส่งเก็บ ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่จะส่งเก็บ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์หน้าเดียวตามแบบที่ ๑๙ ท้าย
ระเบียบ
ค.ทะเบียน หนังสือเก็บ เป็นทะเบียนที่ใช้ลงรายการหนังสือเก็บ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้ามีสองชนิด คือ ชนิด
เป็นเล่ม และชนิดเป็นแผ่น ตามแบบที่ ๒๐ ท้ายระเบียบ
ง.บัญชี ส่งมอบหนังสือครบ ๒๐ ปี เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่มีอายุครบ ๒๐ ปี ส่งมอบเก็บไว้ที่กอง
จดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์หน้าเดียวตามแบบที่ ๒๑ ท้ายระเบียบ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ข้อ ๘๕ บัญชีส่งมอบหนังสือครบ ๒๐ ปี เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่มีอายุครบ ๒๐ ปี
ส่งมอบเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้าตามแบบที่
๒๑ ท้ายระเบียบ

53.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก.บัญชี หนังสือครบ ๒๕ ปี ที่ขอเก็บเอง เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่มีอายุครบ ๒๕ ปี ซึ่งส่วนราชการนั้น
มีความประสงค์จะเก็บไว้เอง มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้าตามแบบที่ ๒๒ ท้ายระเบียบ
ข.บัญชี ฝากหนังสือ เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่ส่วนราชการนำฝากไว้กับกองจดหมายเหตุแห่ง ชาติ กรม
ศิลปากร มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า ตามแบบที่ ๒๓ ท้ายระเบียบ
ค.บัตรยืมหนังสือ ใช้สำหรับเป็นหลักฐานแทนหนังสือที่ให้ยืมไป มีขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า ตามแบบที่ ๒๔
ท้ายระเบียบ
ง.บัญชี หนังสือขอทำลาย เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่ครบกำหนดเวลาการเก็บมีลักษณะเป็นแผ่นขนาด เอ
๔ พิมพ์สองหน้า ตามแบบที่ ๑๒๕ ท้ายระเบียบ

54.รหัสพยัญชนะประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ
ก.กส ข.กก ค.กษ ง.กร

เฉลย ข้อ ค. แนวคิด ภาค ผนวก 1 การกำหนดเลขที่หนังสือออกข้อ 1.1 รหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวง ทบวง
และส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ให้กำหนดไว้ดังนี้ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ กษ ดังนั้น รหัสพยัญชนะประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

55.รหัสตัวพยัญชนะประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ
ก.นร ข.นธ ค.นม ง.นศ

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ภาคผนวก 1 การกำหนดเลขที่หนังสือออกข้อ 1.2 รหัสพยัญชนะประจำจังหวัดและ
กรุงเทพมหานคร ให้กำหนดไว้ ดังนี้ นครศรีธรรมราช นศ.
56.Aide – Memoire คืออะไร
ก.หนังสือกลาง ข.บันทึกช่วยจำ
ค.บันทึก ง.งานสารบรรณของโรงพยาบาล

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ภาคผนวก 4 ข้อ 2.2.2 บันทึกช่วยจำ (Aide – Memoire) ดังนั้น Aide – Memoire

57.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
ก.๑ มกราคม ๒๕๒๖ ข.๑ มิถุนายน ๒๕๒๖
ค.๑ ตุลาคม ๒๕๒๖ ง.๑ ธันวาคม ๒๕๒๖

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๖ เป็นต้นไป ดังนั้น ระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๖


ข้อมูลจาก ตลาดงานออนไลน์ www.mk-job.com

โกโก้

16 พ.ย. 2555 23:58:06

#1
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : แนวข้อสอบธุรการ - สารบรรณ

ขอบคุณค่ะพี่โกโก้

ทรา

20 พ.ย. 2555 09:34:57

#2
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : แนวข้อสอบธุรการ - สารบรรณ

ขอขอบคุณค่ะ

เตเต้

21 พ.ย. 2555 16:05:44

#3
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : แนวข้อสอบธุรการ - สารบรรณ


นู๋เหมียว

1 ธ.ค. 2555 11:43:54

#4
1


แสดงความคิดเห็น...