ความรู้ทั่วไป

Untitled Document แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป

1. ประทศไทยมีการปฏิรูปการปกครอง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
2. การปฏิรูปการปกครอง ยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ คือ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
4. การปฏิรูปการปกครองได้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เป็นฉบับที่ 17 มีทั้งหมด 39 มาตรา ให้ไว้ ณ วันที่
1 ตุลาคม 2549 เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน
6. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกิน 250 คน อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ฯ
โดยทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
7. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิ์เข้าชื่อเสนอประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียพ้นจากสมาชิกภาพ โดยมติที่ประชุม 2 ใน 3
8. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน เข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายซักถามคณะรัฐมนตรีได้
แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจไม่ได้
9. ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) คณะองคมนตรี ประกอบด้วยประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี ประธานองคมนตรี
เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี การพ้นจากตำแหน่งเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
10. คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีก จำนวนไม่เกิน 35 คน
11. การแต่งตั้งและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ประธาน คมช.เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
12. สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ภายใน
เวลา 2 ปี ก่อนวันได้รับการคัดเลือก และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติในขณะเดียวกัน
13. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
14. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีสิทธิเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้คนละไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุด
เรียงลำดับจนครบ 200 คน และเสนอ คมช.คัดเลือกให้เหลือ 100 คน นำทูลเกล้าแต่งตั้ง
15. ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ได้แก่ นายนรนิติ เศรษฐบุตร
รองประธาน สสร. คนที่ 1 ได้แก่ นายเสรี สุวรรณภานนท์
รองประธาน สสร. คนที่ 2 ได้แก่ นายเดโช สวนานนท์
16. ในการร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญคณะหนึ่ง จำนวน 25 คน จาก
ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภา
ร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา และผู้ทรงคุณวุฒิตามลักษณะดังกล่าว ตามคำแนะนำของ คมช. อีก 10 คน รวม 35 คน
17. ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ นายประสงค์ สุ่มศิริ

-2-
18. การสรรหาสภาร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มโดย
18.1 การสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในแต่ละจังหวัด รวม 3 ประเภท 6 กลุ่ม ได้แก่ (จำนวน 2,000 คน)
18.1.1 ประเภทผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม รวม 4 กลุ่ม
1) ผู้แทนองค์กรด้านการเกษตร 2) ผู้แทนองค์กรด้านการอุตสาหกรรม
3) ผู้แทนองค์กรด้านการบริการ 4) ผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิจดทะเบียน
18.1.2 ประเภทผู้แทนภาครัฐ ได้แก่ กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
18.1.3 ประเภทผู้แทนภาคการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
18.2 การสรรหาสมาชิกแห่งชาติ โดยผู้แทน ให้เหลือ 200 คน
18.3 เสนอ คมช. พิจารณาแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน
19. สภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องจัดทำและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน
20.สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับจากคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
21.ร่างรัฐธรรมนูญต้องผ่านประชามติของประชาชน ไม่เร็วกว่า 15 วันและไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันเผยแพร่
22.หากสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือประชาชนเสียงข้างมากไม่เห็นชอบ ให้ คมช.ร่วมกับคณะรัฐมนตรี พิจารณารัฐธรรมนูญฯ
ฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แล้วนำทูลเกล้าประกาศใช้
23.บรรดากฎหมายใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นผู้พิจารณาตัดสิน
24.คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา จำนวน 5 คน เป็นตุลาการ
25.คมช. ย่อมาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ
26.คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย 1) ประพันธ์ 2) สุเมธ 3) อภิชาต 4) สมชัย 5) สดศรี
โดยมีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นประธาน กกต.
27. คมช. แต่งตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
28.รัฐบาลประกาศวาระแห่งชาติ 2 เรื่อง คือ
1) การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
2) การตรวจสอบทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ
29. นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่เป็นภารกิจสำคัญให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ 4 เรื่อง ดังนี้
1) ประชาธิปไตย 2) เศรษฐกิจพอเพียง 3) อยู่ดีมีสุข 4) สมานฉันท์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
30. ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด 5 เรื่อง
1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น 3) การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส
4) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5) การบริการประชาชน
31. รัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี คนที่ 24 มีทั้งหมด 27 คน รวม นายกฯ 28 คน
32. รัฐบาลชุดนี้ ยึดแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบาย



- 3 -

33. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ได้แก่ สะพานเชื่อมมุกดาหาร-สวรรค์ณเขต เปิดสะพานวันที่ 20 ธันวาคม 2549
ถนนหมายเลข 9
34. กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 จัดที่ประเทศกาต้า ใช้ชื่อ DOHA 2006 เกมส์
35. เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดที่เมืองกวางเจา ประเทศจีน ปี 2010
36. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน
37. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คือ นายอารีย์ วงษ์อาริยะ
38. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คือ นายบัญญัติ จันทน์เสนะ
39. ปลัดกระทรวงมหาดไทย คือ นายพงศ์โพยม วาสุภูติ
40. กระทรวงมหาดไทย แบ่งกลุ่มภารกิจงานให้รองปลัดกระทรวงรับผิดชอบ ดังนี้
1.กลุ่มภารกิจบริหาร 2. กลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคง 3.กลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง
4.กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
5.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)
41. ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คือ นายพระนาย สุวรรณรัฐ
42. รัฐบาลกำหนดให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษได้แก่ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล สงขลา
43. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คือ
นายสมชาย ชุ่มรัตน์
44. ประเทศไทย เกิดภัยน้ำท่วมทั้งสิ้น 47 จังหวัด
45. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ใช้ระหว่าง พ.ศ.2550-2554 (ครม.เห็นชอบเมื่อวันอังคารที่ 15 ส.ค.49)
46. วิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีสาระ ดังนี้
มุ่งพัฒนาสู่ “ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชน
เข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพและเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้
ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและอยู่ใน
ประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี ”
47. พันธกิจ ในการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ” ภายใต้แนวปฏิบัติของ
“ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ” ดังนี้
1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน
2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม
3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
4) พัฒนาระบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข
48. เป้าหมาย ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มี 5 ด้าน คือ
1) ด้านการพัฒนาคุณภาพคน 2) ด้านการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน 3) ด้านเศรษฐกิจ
4) ด้านการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 5) ด้านธรรมาภิบาล
-4-
49. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มี ดังนี้
1) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
3) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
4) การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
5) การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
50. วัตถุประสงค์ ของการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ
4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและระบบบริหารความเสี่ยง
5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม
6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
51. นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ฯ) ยึดหลัก 4 ป ในการบริหารประเทศ คือ โปร่งใส ประหยัด เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ
52. แนวทางการบริหารงานของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คือ 3 ส
: เสมอภาค สุจริต สามัคคี
53. แนวทางการบริหารงานของ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) คือ 5 มุ่ง 3 ต้อง 2 ไม่
5 มุ่ง คือ 1. มุ่งบริหารงาน 2. มุ่งบริหารบุคลากร 3. มุ่งบริการ
4. มุ่งบรรษัทภิบาล 5. มุ่งบูรณาการ
3 ต้อง คือ 1. ต้องโปร่งใส 2. ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน
3. ต้องรักษาเกียรติชื่อเสียงของสถาบัน
2 ไม่ คือ 1. ไม่ก่อปัญหา 2. ไม่ทำให้หมู่คณะแตกแยก
54. นโยบายกระทรวงมหาดไทย มีดังนี้
1) สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
2) ส่งเสริมการใช้แนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนา
3) สร้างความสมานฉันท์ในสังคม
55. แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงมหาดไทย “ ใช้หลักคุณธรรมนำการพัฒนา ”
56. ยุทธศาสตร์ของระบบคุณธรรมนำการพัฒนาเพื่อ “ 5 มุ่ง 3 ต้อง 2 ไม่ (บัญญัติ 10 ประการ )” คือ (ของท่านบัญญัติ
จันทน์เสนะ รมช.มท.)
1) มีแผนงานที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันที
2) การสานต่อในสิ่งที่ดีมีประโยชน์
3) การพัฒนางานให้เป็นระบบ พัฒนาความคิดให้ทันสมัย
4) กล้าคิดริเริ่ม กล้าทำและกล้ารับผิดชอบ
-5-
5) ทำงานเชิงรุก มองภาพอย่างองค์รวม กว้างไกล
6) ใช้หลักการแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา
7) ทำหน้าที่ต้องไม่รีรอ
8) ทำงานด้วยความโปร่งใส
9) มีความสมัครสมานสามัคคี
10) การทำงานใด ๆ ต้องได้ทั้งงานและน้ำใจ
57. หลักการมีส่วนร่วม 5 ร่วม ได้แก่ ร่วมอยู่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุกข์ และร่วมสุข
58. การดำเนินงานของกรมฯ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
1) เศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ดำเนินไปใน “ ทางสายกลาง ”
- ความพอประมาณ - ความพอประมาณ - การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ยึดหลัก “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” ทั้งนี้ต้องอาศัย “ ความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวัง ”
หลักการพัฒนาชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ปฏิบัติ และติดตามผล
วิธีการ สร้างชุดปฏิบัติการ (พัฒนากร และผู้นำ อช./อช.)
ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6 ด้านคือ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ ประหยัด การเรียนรู้ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การเอื้ออารีย์
2) การแก้ไขปัญหาความายากจน โดยใช้โครงการปฏิบัติการแก้จนแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน
หลักการ - ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง - ประชาชนมีส่วนร่วม
วิธีการ 1. สร้างชุดปฏิบัติการแก้จน (พัฒนากร ผู้นำ อช./อช./ผู้นำสตรี/ผู้นำอาชีพก้าวหน้า)
2. ใช้กระบวนการชุมชนเพื่อจำแนกกลุ่มเป้าหมาย
2.1 คนจนที่มีสมรรถภาพ 2.2 คนจนไร้สมรรถภาพ
3. ปฏิบัติการเคาะประตูบ้านคนจนที่มีสมรรถภาพ เพื่อปฏิบัติการ 4 ท คือ ทัศนะ ทักษะ ทรัพยากร ทางออก
4. ปรับแผนชุมชน
ตัวชี้วัด 1. ครัวเรือนยากจนมีรายได้มากกว่า 1,230 บาท/คน/เดือน
2. ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 19 ครัวเรือนมีความอบอุ่น
3. ผ่านเกณฑ์ จปฐ. อย่างน้อย 70 % ของตัวชี้วัดทั้งหมดอย่างน้อย 26 ข้อ จากทั้งหมด 37 ข้อ
4. ครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน
5. ครัวเรือนยากจนยากจนมีความพึงพอใจในการดำรงชีวิตตามแนวคิด 3 พ คือ เศรษฐกิจพอเพียง
ความสุขพอเพียง ครอบครัวอบอุ่นพอเพียง
6. ใช้กระบวนการแผนชุมชนในการแก้ปัญหาความยากจน
3) การพัฒนาประชาธิปไตย หลักการ ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง
วิธีการ 1. พัฒนาทีมวิทยากรจังหวัด ๆ ละ 5 คน
2. จัดทำกรณีศึกษา แล้วใช้ประกอบการส่งเสริมการเรียนรู้
4) การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม
หลักการ 1. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 2. ยึดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
-6-
วิธีการ 1. จัดทีมตำบลสานสัมพันธ์
2. จัดทำแผนชุมชน สอดคล้องกับสถานการณ์
3. จัดกิจกรรมทางเลือกด้านเศรษฐกิจชุมชนและทรัพยากรมนุษย์
59. จริยธรรมนักพัฒนา
ทุติยปาปริกสูตร หลักคุณลักษณะ 3 ประการ
1. จักขุมา การมีปัญญามองการณ์ไกล
2. วิชูโร การจัดการธุระได้ดี มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
3. วิสสุกรรมปันโน การพึ่งพาอาศัยคนอื่นได้
หลักพละ 4 ประการ ที่นักพัฒนาควรนำไปใช้มาก คือ
1. ปัญญาพละ กำลังความรู้หรือความฉลาด
2. วิริยพละ กำลังแห่งความเพียร
3. อนวัชชพละ กำลังการทำงานที่ไม่มีโทษหรือความสุจริต
4. สังคหพละ กำลังการสังเคราะห์หรือมนุษย์สัมพันธ์
อคติ 4 ประการ คือ
1. ฉันทาคติ ความลำเอียงเพราะชอบ
2. โทสาคติ ความลำเอียงเพราะชั่ว
3. โมหะคติ ความลำเอียงเพราะหลง
4. ภยาคติ ความลำเอียงเพราะกลัว
สังคหวัตถุ 4 ประการ คือ
1. ทาน คือ การให้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา คือ ทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตตา คือ การปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย วางตัวสม่ำเสมอ
พรหมวิหาร 4 ประการ คือ
1. เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
2. กรุณา ความสงสารช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
4. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง การวางเฉย
60. HR Scorecard เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสมรรถนะระบบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการที่สำนักงาน ก.พ. ได้นำมา
ประยุกต์ใช้ในการติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ
61. Fix it Center คือศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ระหว่าง 15 ส.ค. - 14 ต.ค.48 จำนวน 2,000 หมู่บ้าน
ระยะที่ 2 ระหว่าง 15 ต.ค.48 - 14 ก.พ.49 จำนวน 18,000 หมู่บ้าน
เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การ
-7-
มหาชน), กรมการพัฒนาชุมชน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ โดยยึดข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค.)
62. ระบบธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วย
1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักการมีส่วนร่วม 4. หลักความโปร่งใส
5. หลักความคุ้มค่า 6. หลักความรับผิดชอบ
63. Best Practice คือ การปรับปรุงงาน โดยวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง แล้วผลจากการศึกษาเปรียบเทียบดีเด่น
สามารถนำเผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์ก่อองค์การต่าง ๆ ในการนำไปเปรียบเทียบและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง
ได้ หรือ “ การศึกษาจากวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ”
64. Benchmarking คือ “ การเปรียบเทียบกระบวนการ หรือวิธีการปฏิบัติกับผู้ที่ทำได้ดีกว่า ” ซึ่งเป็นเครื่องมือของผู้บริหาร
ที่จะช่วยกำกับการปรับปรุงหรือพัฒนาผลการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการทำงานแก้ปัญหาขององค์การ
มี 10 ขั้นตอน ดังนี้
1. การคัดเลือกกระบวนการ 2. การเตรียมความพร้อมของทีม
3. การแยกแยะ/กำหนดองค์การหรือผู้ที่จะมาเป็น Partner 4. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
5. การวิเคราะห์ช่องว่างและจุดแข็งขององค์การ 6. ศึกษาสิ่งที่ค้นพบให้ลึกและกว้าง
7. การสื่อสารสิ่งที่ค้นพบและพร้อมรับฟัง 8. กำหนดเป้าหมาย
9. การพัฒนาและจัดทำแผนปฏิบัติการ 10. การพัฒนาและทบทวนอย่างต่อเนื่อง
65. ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้แก่ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ โดยมี
นายศราวุธ เมนะเศวต เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ ปปช.
กรรมการประกอบด้วย นายกล้าณรงค์ จันทึก นายใจเด็ด พรไชยา นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ศจ.ภักดี โพธิศิริ
นายวิชัย วิวิตเสรี นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล
66. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 30 ลง
วันที่ 30 ก.ย.49 มีนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นประธานกรรมการ นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นเลขาธิการ คตส.
นายสัก กอแสงเรือง เป็นโฆษก คตส.
67. คตส. ได้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนการทุจริตใน 3 เรื่อง คือ
1. การจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000
2. การทุจริตงานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายไฟฟ้า โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3. การทุจริตการจัดซื้อกล้ายาง 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตร
68. เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้แก่
นายสุริยะใส กตะศิลา.
69. HR Scorecard คือการพัฒนาสมรรถนะระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
70. Competency คือ สมรรถนะของบุคคล
71. CSFs ย่อมาจาก Critical Success Factors คือปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของการบริหารงาน
72. Result Based Management คือการบริหารงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

-8-
73. Knowledge Worker คือ องค์ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดย คน พช. ต้องมีภูมิสาม คือ ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน
โดย 1. ลุ่มลึกในหลักการ 2. ยืดหยุ่นในวิธีการ 3. อ่อนตัวตามเหตุการณ์
4. สนองตอบสถานการณ์ 5. มุ่งมั่นสู่จุดหมาย 6. จุดประกายพัฒนาชุมชน
74. โปรแกรม Skype (สไคพ์) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สามารถสนทนาแบบ Online ที่สามารถมองเห็นและได้ยิน
คู่สนทนาเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน
75. กษัตริย์ภูฎาน ทรงประกาศสละราชสมบัติ เจ้าชายจิกมี ขึ้นครองราชย์แทน
76. กรมการพัฒนาชุมชน จะย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการ ไปอยู่ที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งวัฒนะ กลางปี 2551
77. ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมสำหรับพระราชา มีดังนี้
1. ทานัง.....การให้ 2. สีลัง......การปฏิบัติเพื่อให้เกิดภาวะปกติ
3. ปะริจจาคัง.....การให้ทางจิตใจ 4. อาชชะวัง.....ความซื่อตรง
5. มัททะวัง.....อ่อนโยน 6. กะปัง.....ความวิริยะ
7. อักโกธัง.....ไม่โกรธ 8. อะวิหิงสา......ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
9. ขันติ.....อดทน 10. อะวิโรธะนัง.....ความถูกต้อง
78. วินัย 4 ประการ สู่ความสำเร็จ
วินัยที่ 1 มุ่งเน้นกับสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด
วินัยที่ 2 สร้างตารางคะแนนที่ทรงพลัง
วินัยที่ 3 เปลี่ยนเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นการกระทำที่ชัดเจน
วินัยที่ 4 สร้างความรับผิดชอบต่อผลงานตลอดเวลา
79. ปี 2549 กรมการพัฒนาชุมชน มีอายุครบ 44 ปี (1 ต.ค.49)
80. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีจำนวน 5 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี (เพียงวาระเดียว)
คุณสมบัติ 1. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันเสนอชื่อ 2. การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
81. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตรงกับแผนมหาดไทยแม่บท ฉบับที่ 8
82. สุขาภิบาล ไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
83. ก.พ.ร. ย่อมาจาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
84. อำเภอ เป็นหน่วยงานที่ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
85. ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ปฏิบัติงานแทน ในลักษณะปฏิบัติราชการแทน
(กรณีผู้ว่าราชการจังหวัด ยังปฏิบัติงานอยู่)
86. พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผลใช้บังคับปี พ.ศ.2542
87. คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวน 36 คน ประกอบด้วย
1. ภาคราชการ 12 คน 2. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 คน 3. ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน
คุณสมบัติ อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
88. ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้ ปี 2544
รัฐฯต้องจัดสรรงบประมาณให้กับท้องถิ่น มีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ปี 2549 รัฐฯต้องจัดสรรงบประมาณให้กับ
ท้องถิ่น มีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35
-9-
89. ปี 2549 ประเทศไทยพบปัญหาวิกฤตสำคัญที่ต้องรีบแก้ไขเร่งด่วน คือเรื่อง สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
90. ระบบ Call Center คือ ระบบโทรศัพท์ตอบ-รับ อัตโนมัติ
91. ระบบบริหารราชการปัจจุบัน มุ่งการบริหารรูปแบบ บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
92. ตามระเบียบฯ งานสารบรรณ การลงรับหนังสือถือปฏิบัติคือประทับตราลงรับมุมบนด้านขวา 93. E-mail หมายถึง การส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์
94. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ใช้ KPI ป็นตัวชี้วัด
95. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ใช้ในช่วง พ.ศ. 2545-2549
96. ต้นไม้ประจำชาติ คือ ต้นราชพฤกษ์
97. วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
98. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546-2550 ประกอบด้วย
1. ปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
2. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหาราชการแผ่นดิน
3. รื้อปรับระบบการเงินและงบประมาณ
4. สร้างระบบการบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
5. ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมใหม่
6. เสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย
7. เปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
99. การบริหารงานราชการยุคใหม่ ยึด
1. นำนโยบายสู่การปฏิบัติ (Policy Needs)
2. ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Needs)
3. มาตรฐานการดำเนินงานเทียบเท่าสากล (Bussiness Needs)
100. กระบวนการบริหารงานราชการยุคใหม่ ประกอบด้วย
1. ศึกษา วิเคราะห์ ในนโยบาย/ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/มาตรฐานการดำเนินงาน
2. หาความต้องการ
3. จัดทำ SWOT
101. การดำเนินงานการบริหารงานราชการยุคใหม่ ประกอบด้วย
1. กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) 2. พันธกิจ (Mission) 3. เป้าหมาย (Goals)
4. ยุทธศาสตร์ ( Strategy) 5. สมรรถนะ (Competency) 6. การประเมินผล (Evaluation)
102.สมรรถนะ(Competency) คือ การพัฒนาศักยภาพข้าราชการ ให้มีขีดความสามารถเหมาะสมตามสายงาน ประกอบด้วย
1. ความรู้ความสามารถ (Knowledge) 2. ทักษะ (Skill) 3. พฤติกรรม ( Behavior)
103. สมรรถนะ ประกอบด้วย 1. สมรรถนะหลัก ( Core Competency )
2. สมรรถนะตามสายงาน ( Function Competency)
2.1 สมรรถนะกลุ่มงาน ( Common Competency)
2.2 สมรรถนะเฉพาะ ( specific Competency )
-10-
104. สมรรถนะหลัก คือ สมรรถนะที่เจ้าหน้าที่ทุกคนในกรมการพัฒนาชุมชน ต้องมีเหมือนกัน ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใดก็ตาม
ประกอบด้วย
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2. การบริการที่ดี 3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ 4. จริยธรรม
5. ความร่วมแรงร่วมใจ 6. การพัฒนาชุมชน 7. การพัฒนาศักยภาพชุมชนตามหลักการพัฒนาชุมชน 8. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักการพัฒนาชุมชน
105. สมรรถนะกลุ่มงาน คือ สมรรถนะที่เป็นความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่จำเป็นในแต่ละกลุ่มงานซึ่งทุกสายงานในกลุ่มงาน
นั้นต้องมี ประกอบด้วย

สายงาน สมรรถนะกลุ่มงาน
1. กลุ่มงานเสริมสร้างความรู้
1.1 เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
1.2 นักพัฒนาชุมชน
1.3 เจ้าหน้าที่บริหารงานพัฒนาชุมชน 6-8
1. ความเข้าใจผู้อื่น
2. ศิลปการสื่อสารจูงใจ
1. กลุ่มงานนโยบายและวางแผน
2.1 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
2.2 นักวิชาการพัฒนาชุมชน
2.3 นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล
1. ศิลปการสื่อสารจูงใจ
2. การคิดวิเคราะห์
3. การมองภาพองค์รวม
2. กลุ่มงานสนับสนุนงานหลักทางเทคนิคเฉพาะด้าน
3.1 เจ้าหน้าที่/เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
3.2 เจ้าหน้าที่บริหาร/นักวิชาการการเงินและบัญชี
3.3 นิติกร / นายช่างโยธา
3.4 เจ้าหน้าที่ระบบงาน/นักวิชาการคอมพิวเตอร์
1. ความยืดหยุ่นผ่อนปรน
2. ความถูกต้องของงาน
3. การคิดวิเคราะห์
4. กลุ่มงานสนับสนุนงานหลักทั่วไป
4.1 บุคลากร/เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน
4.2 เจ้าหน้าที่/เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา
4.3 เจ้าหน้าที่/เจ้าพนักงาน/นักวิชาการพัสดุ
4.4 เจ้าหน้าที่/เจ้าพนักงาน/เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ
4.5 เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์/เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
3. ความยืดหยุ่นผ่อนปรน
4. ความถูกต้องของงาน
5. การคิดวิเคราะห์
5. กลุ่มงานสื่อสารและเผยแพร่
-นักประชาสัมพันธ์ 3-5,6ว,7 1. ศิลปการสื่อสารจูงใจ
2. ความมั่นใจในตนเอง
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



-11-
106. สมรรถนะเฉพาะ คือ สมรรถนะที่เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะ ที่จำเป็นต้องมีสำหรับสายงานนั้นๆ ประกอบด้วย
4 สายงาน 5 สมรรถนะ ดังนี้
สายงาน สมรรถนะ
พัฒนากร การเสริมสร้างพลังชุมชน
นักวิชาการพัฒนาชุมชน ความเชี่ยวชาญในงานบริหารจัดการองค์ความรู้
นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ผู้บริหารระดับ 7 ขึ้นไป 1.ความเป็นผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง
2.การพัฒนาทีมงานเพื่อบริหารจัดการเชิงบูรณา
การแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
107. สมรรถนะ มีระดับความรู้ความสามารถ 5 ระดับ คือ
1. Knowledge รู้ เข้าใจ ทำได้ในเบื้องต้น
2. Comprehension เข้าใจลึกซึ้ง จับหลักการสรุปประเด็นสำคัญได้
3. Application ประยุกต์ใช้ได้
4. Analysis & Synthesis วิเคราะห์ สังเคราะห์ได้
5. Evaluation ประเมินคุณค่า ประเมินทางเลือกจัดทำนโยบายเชิงป้องกันได้
108. กรมการพัฒนาชุมชน นำสมรรถนะมาใช้ในการบริหารงาน ในด้าน
1. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 2. การสรรหาและคัดเลือกบุคคล
3. การวางแผนก้าวหน้าทางอาชีพ 4. การให้ผลตอบแทน 5. การประเมินผล
109. ระบบบริหารจัดการงบประมาณ มีดังนี้ 1. ระบบ GFMIS 2. ระบบ PART
110. ระบบ GFMIS (Government Fiscal Management Information System) คือ โครงการเปลี่ยนระบบการบริหารงานการเงิน
การคลังภาครัฐให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับการดำเนินงาน
ด้านงบการบัญชี การพัสดุและการบริหารทรัพยากรบุคคล
111. ระบบ GFMIS มีประโยชน์ ดังนี้
1. เป็นเครื่องมือสำหรับ CFO ในการบริหารข้อมูลด้านการเงิน การคลัง
2. ลดเวลาในการจัดทำรายงานฯ การปิดบัญชีประจำวัน/เดือน/ปี
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผน บริหารและติดตามการรับจ่ายเงิน
4. รองรับการปฏิบัติงานในระบบบัญชีแบบเกณฑ์คงค้างและการบริหารต้นทุนการผลิต
5. เกิดความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
6. ลดเอกสารและระยะเวลาในการรับจ่ายเงิน
7. มีข้อมูลการเงิน การคลัง เพื่อติดตามตรวจสอบทั้งลักษณะและข้อมูลสะสมย้อนหลัง
112. ระบบ PART ( Performance Assessment Rating Tool) คือ เครื่องมือการวิเคราะห์และประเมินความสำเร็จในการใช้
งบประมาณ
113. กรมฯกำหนดให้พัฒนาการอำเภอ มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับ ใช้ internet และสามารถส่ง E-mail ได้
114. วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ของทุกปี
-12-
115. สัปดาห์ต่อต้านยาเสพติดแห่งชาติ ตรงกับวันที่26 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม
116. สัปดาห์รณรงค์ซ่อมสร้างภาชนะเก็บน้ำสะอาด ตรงกับวันที่ 7 – 14 มกราคม ของทุกปี
117. วันเทคโนโลยีไทย ตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
118. ชื่อเว็บไซด์ ของกรมพัฒนาชุมชนคือ WWW. Cdd.go.th.
119. E – mail หมายถึง การส่งจดหมายอีเลคโทรนิคส์ ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
120. Thailand International P.S.O. คือ ระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ
121. Thailand International P.S.O. มี 10 ระบบ คือ 1. ระบบข้อมูล 2. ระบบการสื่อสาร
3. ระบบการตัดสินใจ 4. ระบบการพัฒนาบุคลากร 5. ระบบการตรวจสอบถ่วงดุล
6. ระบบการมีส่วนร่วม 7. ระบบการบริการภาคเอกชน ประชาชน 8. ระบบการประเมินผล
9. ระบบการคาดคะเนและแก้ไขวิกฤติ 10.ระบบวัฒนธรรมและจรรยาวิชาชีพ
122. P.S.O. และ I,S.O. แตกต่างกัน ดังนี้ P.S.O. เน้นสัมฤทธิ์ผลของภาคราชการทั้งระบบ I.S.O. เน้นองค์กรภาคเอกชนเฉพาะ
องค์การ
123. ครม. มีมติเห็นชอบให้ ก.พ. ดำเนินการระบบ P.S.O. เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2541
124. กรมฯ ได้ทำข้อตกลงกับสถาบันพัฒนามาตรฐานสากลภาครัฐแห่งประเทศไทย ในเรื่อง P.S.O.1101:ระบบข้อมูล และ
P.S.O.1106 :ระบบการมีส่วนร่วม
125. กรมฯ มอบให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ดำเนินกิจกรรมตามระบบ P.S.O. คือ ระบบ 5 ส. ได้แก่ สะสาง :สะดวก :
สะอาด :สุขลักษณะ :สร้างนิสัย
126. แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 มุ่งเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมเข้มแข็ง มีดุลยภาพ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความอยู่ดีมีสุข
127. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แบ่งส่วนราชก

โกโก้



รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : ความรู้ทั่วไป

ขอบคุณมากๆเลยครับ จะนำไปอ่าน

oh

21 ก.พ. 2555 11:15:45

#1
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : ความรู้ทั่วไป


ปุ้ย

15 ส.ค. 2555 17:16:01

#2
1


แสดงความคิดเห็น...