โกงข้อสอบ Reading Comprehension ตอนที่ 1

Untitled Document ขอพักเรื่อง Error ไว้ซักกะติ้ดเนื่องจากมี request จากแฟนๆต้องการอยากรู้เทคนิค Reading แบบด่วนมากถึงมากที่สุด ก็เลยจะขอลัดคิวออกตอนพิเศษมา 3-4 ตอน เพื่อแก้โง่ reading แบบเร่งด่วนกันปายยยยยย

สิ่งที่เขียนเป็นการกลั่นมาจากการไปติวเปบทีนที่ Acadesia ไปแสล่นอยู่บนเวที ในวันเสาร์ที่ 13 สิงหา ที่ผ่านมา

จากประสบการณ์การสอนบรรดาผู้ป่วยการอ่านในแต่ละปี จริงๆแล้วปัญหาเกี่ยวกับการทำข้อสอบในส่วนการอ่านมีอยู่ไม่กี่เรื่องหรอก มาลองดูกันว่าน้องๆก็มีปัญหาแบบเดียวกับพวกรุ่นพี่หลายๆรุ่นที่สอนหรือเปล่า ปัญหาที่ได้รับการโหวตสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่

ปัญหาอันดับที่ 1: ทำข้อสอบอ่านไม่ทัน อ่านช้า เอาเวลาไปทำข้อสอบส่วนอื่นหมดแล้ว ขี้เกียจอ่าน อ่านแล้วง่วง ที่บ้านมีฐานะเลยดูแต่ทีวีไม่เคยต้องอ่านหนังสือ ไม่ค่อยมีเวลาซ้อมทำข้อสอบอ่าน ในชีวิต ปีๆนึงอ่านหนังสือไม่เกินเจ็ดบรรทัด (แต่ดูละครหลังข่าวประเทืองปัญญาเกินกว่า 20 เรื่องต่อปี) เป็นไข้ จุก เสียด แน่นเฟ้อ เรอ เหม็นเปรี้ยว ปวดตา และอีกหลายเหตุผลที่สรุปได้ว่าทำข้อสอบไม่ทัน ใครมีเหตุผลที่เด็ดกว่านี้กรุณาส่งไปรษณีย์มาบอกด้วย

ปัญหาอันดับที่ 2: ไม่เก่งศัพท์ แปลไม่ออก ศัพท์อะไรเนี่ย ภาษาอังกฤษเหรอ ที่โรงเรียนไม่เคยสอนเลย บ้า….ใครจะรู้ศัพท์คำนี้ รู้ก็เทพแล้ว มีศัพท์ที่ไม่รู้ไม่เกิน 20 คำ บ่นเหมือนให้แกะอักษรขอมโบราณ

ปัญหาอันดับที่ 3: อ่านไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจคำถาม หรือทางวิชาการเรียกว่างงนั้นเอง รู้ศัพท์ทุกคำ เก่งศัพท์มาก แต่….ตกลงมันพูดเรื่องอะไรอะ ยิ่งพอมาดูคำถาม ยิ่งงงหนักไปกว่าเดิม ข้อไหนเห็นว่าน่าจะถูกมักจะกลายมาเป็นข้อผิด ข้อไหนคิดว่าผิด ก็ผิดจริงๆ เหมือนมีใครเสกควายเข้าสมองก่อนสอบ

ถ้าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่น้องๆก็มีเหมือนกัน ไม่ต้องตกใจ อย่าเพิ่งตีโพยตีพายว่าเรามันโง่ ความจริงแล้วปัญหาเหล่านี้นี่เป็นปัญหาระดับประเทศของชนชาติที่ไม่ค่อยอ่านหนังสือ เพราะเข้าใจว่าดูทีวีก็ทำให้ฉลาดได้เหมือนกับการอ่านหนังสือ ดังนั้นพฤติกรรมต่างหากที่เป็นปัญหา อย่าได้โทษใครเลย

ข้อสอบ Reading Comprehension ถือเป็นข้อสอบที่ออกเยอะมากไม่ว่าจะเป็นการสอบในสนามใดๆก็ตาม เพราะมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศต้องการผู้เรียนที่มีความสามารถในการอ่านที่ดี รู้จักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจับประเด็นของเรื่องได้ เพราะตอนเรียนที่มหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องค้นงานซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ บางทีอ่านเป็นร้อยๆหน้า นั่นเลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเค้าจึงชอบทดสอบข้อสอบ Reading Comprehension ในเปอร์เซ็นที่เยอะกว่าข้อสอบแบบอื่น

อยากเก่งภาษาอังกฤษ รู้ศัพท์อย่างเดียวไม่พอ และเป็นเรื่องเข้าใจผิดมากด้วยว่าการเก่งภาษาอังกฤษ คือจะต้องท่องศัพท์เยอะ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจริงซื้อ Dict เล่มเดียวมาท่องไปเลย จะมาเรียนภาษาอังกฤษให้เมื่อยตุ้มทำไม ความจริงก็คือต้องรู้หลักของการทำข้อสอบในแต่ละแบบและหมั่นฝึกฝน พร้อมกับจับเวลาเพื่อให้เกิดความเคยชิน คราวนี้ถ้าอยากอ่านภาษาอังกฤษเก่งจะต้องรู้อะไรบ้างล่ะ?
สิ่งที่ต้องรู้เพื่อที่จะอ่านได้เก่งคือ
1 รู้โครงสร้างของการเขียนบทความ – ถ้ารู้ว่าคนเขียนเค้าเขียนประโยคแต่ละประโยคมีโครงสร้างเป็นอย่างไร และวางเรื่องอย่างไร เราจะอ่านจับประเด็น และตีความได้ง่าย

2 รู้คำถาม – คนส่วนใหญ่ทำข้อสอบอ่านโดยไม่เคยมานั่งคิดว่าจริงๆแล้วข้อสอบการอ่านมันมีกี่แบบกันแน่ แล้วเรามีความรู้ความเข้าใจในการหาคำตอบในคำถามแต่ละแบบดีแค่ไหน ไม่ใช่ว่าสักแต่อ่านๆ แล้วก็ตอบๆแบบไม่มีหลักการ

3 รู้วิธีซักซ้อม – ก่อนไปสอบจริง ต้องรู้ว่าต้องซักซ้อมอย่างไร จึงจะทำให้อ่านในวันสอบได้ดี
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

รู้โครงสร้างของการเขียนบทความ
บทความ (Passage) ประกอบด้วยอะไร?
องค์ประกอบของบทความประกอบไปด้วยหลายๆย่อหน้าซึ่งแต่ละย่อหน้าจะทำหน้าที่ที่แตกต่างกันไป นั่นคือ
1. ย่อหน้าเกริ่นนำ (Introduction) – Introduction มีหน้าที่เพื่อบอกความเป็นมาเป็นไปของเรื่อง และมีข้อความสำคัญ (Topic Statement) ซึ่งจะกลายมาเป็นใจความสำคัญของเรื่องนั่นเอง (Main Idea)

2. ย่อหน้านื้อหา (Body) – Body มีหน้าที่อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้ข้อความสำคัญนั้นดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ย่อหน้าที่เป็น Body อาจมีหลายๆย่อหน้าขึ้นอยู่กับเนื้อหาของผู้เขียนว่ามีประเด็นมากน้อยเพียงใด

3. ย่อหน้าสรุป (Conclusion) – Conclusion มีหน้าที่บอกความสำคัญ และจุดประสงค์ของผู้เขียนว่าเขียนเรื่องนี้ทำไม นอกจากนั้นผู้เขียนยังย้ำข้อความสำคัญ (Topic Statement) เพื่อกันผู้อ่านลืมอีกรอบด้วย

จากแผนผังการเริ่ม Introduction จะเริ่มจากเรื่องทั่วๆไป (General) แล้วก็จะเข้าเรื่องที่เฉพาะเจาะจง (Specific) เพื่อนำเข้า Topic Statement ของผู้เขียน

ในส่วนของเนื้อหา (Body) ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับผู้เขียนว่าจะอธิบายรายละเอียดด้วยวิธีใด ที่นิยมใช้กันก็มีอธิบายแบบลำดับเวลา (Chronological Development) แบบให้คำจำกัดความ (Definition Development) แบบให้ตัวอย่าง (Exemplification Development) แบบเทียบความเหมือน-ความต่าง (Compare/Contrast Development) แบบแสดงเหตุ-ผล (Cause/ Effect Development)

ในส่วนสุดท้ายผู้เขียนจะเริ่มต้นที่เรื่องที่เฉพาะเจาะจง (Specific) แล้วค่อยๆออกไปสู่เรื่องทั่วไปอีกครั้ง (General) การเขียนในทุกๆเรื่องมันก็ใช้วิธีเล่าเรื่องแบบนี้เสมอ

เวลาไปเขียนเรียงสามารถใช้เทคนิคนี้ได้ รับประกันคะแนนกระฉูด

ย่อหน้า (Paragraph) ประกอบด้วยอะไร?
ย่อหน้าก็ประกอบไปด้วยประโยค โดยหลักการสำคัญของย่อหน้าคือ 1 ย่อหน้าแทน 1 ประเด็นของเรื่องดังกล่าว และประโยคแรกของแต่ย่อหน้า คือใจความสำคัญของย่อหน้านั้นๆ ส่วนที่เหลือทำหน้าที่สนับสนุนประโยคแรกของย่อหน้านั้น

แล้วประโยค (Sentence) คืออะไร
ประโยคเนี่ยแหละ เรื่องใหญ่เลย เพราะจะอ่านรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องนั้นขึ้นอยู่กับว่าความเข้าใจในโครงสร้างของประโยคดีมากน้อยแค่ไหน และหาประธาน กริยา กรรมของแต่ละประโยคได้หรือไม่

ประโยค 1 ประโยคต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1. ภาคประธาน (Subject) คือเจ้าของเรื่องนั้นๆ ประธานอาจจะเป็นผู้กระทำเอง หรือเป็นผู้ถูกกระทำก็ได้ ประธานจะต้องเป็นคำ วลี อนุประโยค ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม (Noun) หรือเป็นสรรพนาม (Pronoun) ก็ได้ เช่น
Economics – Noun
Foundation of Thai economy – Noun Phrase
How important economics is – Noun Clause
2. ภาคแสดง (Predicate) แบ่งเป็น
2.1 Verb (Object) – สิ่งซึ่งภาคประธานได้กระทำ (กับใคร) หรือถูกกระทำ (โดยใคร) เช่น
provides the method of optimal resource allocation – Verb (Active) Object
has been changed – Verb (Passive)
was emphasized – Verb (Passive)
2.2 Verb Subject Complement – สิ่งที่บอกคุณสมบัติ (Characteristic) หรือสถานะ (Status) ของภาคประธาน เช่น
is the subject of national wealth – Verb Subject Complement
remains fragile – Verb Subject Complement
becomes the popular topic – Verb Subject Complement
3. ส่วนเติมเต็มประโยค (Modifiers) เป็นส่วนที่มีก็ได้ไม่มีก็ได้ มีทั้ง word modifier, phrase modifier และ clause modifier เช่น
considerably – Word Modifier
over the past 2 decades – Phrase Modifier
which is being discussed among educators – Clause Modifier

ประเภทของประโยค (Sentence Type)
1. ประโยคความเดียว (Simple Sentence) คือประโยคที่มีเหตุการณ์เพียงหนึ่งเหตุการณ์ เช่น

Ex: Economics is the subject of national wealth.

2. ประโยคความรวม (Compound Sentence) คือประโยคที่มีเหตุการณ์มากกว่าหนึ่งเหตุการณ์ และทุกๆเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์หลัก โดยเหตุการณ์ทุกๆเหตุการณ์จะถูกเชื่อมด้วยคำสันธาน (Conjunction) 7 ตัวคือ for, and, nor, but, or, yet, so
Ex: Foundation of Thai economy has been changed, so private sectors must adjust accordingly.

3. ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) คือประโยคที่มีเหตุการณ์มากกว่าหนึ่งเหตุการณ์ แต่จะประกอบด้วยเหตุการณ์หลัก 1 เหตุการณ์ และเหตุการณ์รอง1 เหตุการณ์ โดยเหตุการณ์รองจะอยู่หลังคำสันธาน (Conjunction) ตัวอื่นที่ไม่ใช่ for, and, nor, but, or, yet, so หรือหลัง Relative Pronoun

Ex: Foundation of Thai economy remains fragile even though new government has been formed.

How important economics is becomes the popular topic which is being discussed among educators.

หลักการของการอ่านแบบวิเคราะห์โครงสร้าง

เมื่ออ่านจบ 1 ประโยคจะต้องแยกประโยคให้ได้ว่า Subject Verb Object/ Subject Complement และ Modifier อยู่ตรงไหน เมื่อหาเจอสิ่งที่ต้องแปลออกคือ Subject Verb Object/ Subject Complement ส่วน Modifier หากแปลไม่ได้ก็ไม่ต้องแปล

หากแยกออกว่าส่วนใดเป็น Subject ส่วนใดเป็น Verb และส่วนใดเป็น Object จะช่วยให้เราอ่านและแปลได้เข้าใจมากมายมหาศาล

รู้คำถาม
เวลาทำข้อสอบอ่าน ข้อสอบมันถามอะไรเราบ้าง

วันนี้มาเริ่มเรียนรู้เทคนิค Main Idea กัน

เทคนิคการลดเวลาเพื่อหาคำตอบใจความสำคัญ

วิธีการ Skim เพื่อหาใจความสำคัญในแบบโกงๆ
1. ในย่อหน้าแรกให้อ่าน 1-2 ประโยคแรกของย่อหน้าแรก ถ้าอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง หรือจับความไม่ได้ ให้อ่าน 1 ประโยคสุดท้ายของย่อหน้าแรกด้วย

2. ในย่อหน้าถัดไปให้อ่าน 1 ประโยคแรกของแต่ละย่อหน้าไปเรื่อยๆ

3. ในย่อหน้าสุดท้ายนอกจากอ่าน 1 ประโยคแรก จากนั้นในอ่าน 1-2 ประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้ายด้วย

4. เอาใจความของประโยคแรกของย่อหน้าถัดไป มาพิจารณาว่าความเหล่านั้นสนับสนุนใจความตรงไหนมากสุดระหว่างประโยคแรกของย่อหน้าแรก ประโยคสุดท้ายของย่อหน้าแรก หรือประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้าย

ตำแหน่งไหนมีถูกสนับสนุน ประโยคนั้นเป็นใจความสำคัญ (Main Idea)

Tips: ถ้าคำถามถามชื่อเรื่อง (Title) ให้หาคำสำคัญของบทความมาตอบ ส่วนใหญ่คำสำคัญจะถูกกล่าวซ้ำๆกันในบทความ ดังนั้นจำสั้นๆว่าคำไหนซ้ำบ่อยๆ คำนั้นมักจะเป็นส่วนหนึ่งของ Title เสมอ นอกจากนั้น Choice ข้อไหนมีคำที่ไม่ครอบคลุมทุกย่อหน้าแสดงว่าไม่ใช่ Main Idea

คำถามที่ต้องใช้เทคนิคนี้

The main idea/ thought of the passage is that…….
What is the main idea of the passage?
The passage mainly discusses/ focused on …….
The passage is mainly/ chiefly about …….
The passage mainly describes …….
It is likely that this passage is taken from ……………
The passage would most likely be found in a textbook on ……………
The passage most probably appeared in ……………

มาลองของกันกับแบบฝึก 2 ข้อ ตอนทำจับเวลา 5 นาที
Jupiter is the largest of the planets. Its equatorial diameter is 88,000 miles, which is eleven times the diameter of the earth. A Jupiter day is only ten earth hours long. For a planet this size, this rotational speed is amazing, and it moves a point on Jupiter’s equator at a speed of 22,000 miles an hour, as compared with 1,000 miles an hour for a point on the Earth’s equator. Jupiter is at an average distance of 480 million miles from the sun and takes almost twelve of our years to make one complete circuit of the sun.

The only directly observable chemical constituents of Jupiter’s atmosphere are methane and ammonia. The temperature at the tops of Jupiter’s clouds may be about minus 260 degrees F. The clouds are probably ammonia ice crystals, becoming ammonia droplets lower down. Perhaps Jupiter has no surface-no real interface between the gaseous atmosphere and the body of Jupiter. Jupiter’s cloudy atmosphere is a fairly good reflector of sunlight and makes it appear far brighter than any of the stars.

Fourteen of Jupiter’s seventeen or more satellites have been found through earth based observations. Four of the moons are large and bright, rivaling our own moon and the planet Mercury in diameter and may be seen through a field glass. They move rapidly around Jupiter and their change of position from night to night is extremely interesting to watch. The other satellites are much smaller, and in all but one instance, they are much further from Jupiter and cannot be seen except through powerful telescopes. Jupiter’s mass is more than twice the mass of all the other planets put together, and accounts for Jupiter’s tremendous gravitational field and so, probably, for its numerous satellites and its dense atmosphere.

Photographs of Jupiter were taken by the Voyager and Galileo spacecrafts. Thousands of high resolution multi-color pictures show rapid variations of features both large and small. The Great Red Spot exhibits internal counter-clockwise rotation. The moons Amalthea, Io, Europa, Ganymede, and Callisto were photographed, some in great detail. Each is individual and unique, with no similarities to other known planets or satellites. Io has active volcanoes that probably have ejected material into a doughnut-shaped ring enveloping its orbit about Jupiter. This is not to be confused with the thin, flat, disk-like ring closer to Jupiter’s surface. Now that such a ring has been seen by Voyager, older uncertain observations from Earth can be reinterpreted as early sightings of this structure.
1. What does the passage mainly discuss?
a) Characteristics of Jupiter and its moons
b) Observations of Jupiter by Voyager and Galileo
c) Jupiter’s many satellites
d) Jupiter’s position in the solar system

In the history of technology, computers and calculators were innovative developments. They are essentially different from all other machines because they have a memory. This memory stores instructions and information. In a calculator, the instructions are the various functions of arithmetic, which are permanently remembered by the machine and cannot be altered or added to. The information consists of the numbers keyed in.
An electronic pocket calculator can perform almost instant arithmetic. A calculator requires an input unit to feed in numbers, a processing unit to make the calculation, a memory unit, and an output unit to display the result. The calculator is powered by a small battery or by a panel of solar cells. Inside is a microchip that contains the memory and processing units and also controls the input unit, which is the keyboard, and the output unit, which is the display.

The input unit has keys for numbers and operations. Beneath the keys is a printed circuit board containing a set of contents for each key. Pressing a key closes the contacts and sends a signal along a pair of lines in the circuit board to the processing unit, in which the binary code for that key is stored in the memory. The processing unit also sends the code to the display. Each key is connected by a different pair of lines to the processing unit, which repeatedly checks the lines to find out when a pair is linked by a key.

The memory unit stores the arithmetic instructions for the processing unit and holds the temporary results that occur during calculation. Storage cells in the memory unit hold the binary codes for the keys that have been pressed. The number codes, together with the operation code for the plus key, are held in temporary cells until the processing unit requires them.
When the equals key is pressed, it sends a signal to the processing unit. This takes the operation code-for example, addition-and the two numbers being held in the memory unit and performs the operation on two numbers. A full adder does the addition, and the result goes to the decoder in the calculator’s microchip. This code is then sent to the liquid crystal display unit, which shows the result, or output, of the calculation.
2. What is the main purpose of the passage?
a) To summarize the history of technology
b) To discuss innovative developments in technology
c) To explain how a calculator works
d) To compare computers and calculators with other machines

แล้วติดตามเฉลยตอนหน้า พร้อมเทคนิคต่อไป

ที่มา https://www.facebook.com/notes/acadesia/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%97-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A-reading-comprehension-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/252282401468984?ref=nf

โกโก้



รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : โกงข้อสอบ Reading Comprehension ตอนที่ 1

ขอบคุณค่ะ

Bowing

18 ก.พ. 2557 09:12:11

#1
1


แสดงความคิดเห็น...