ข้อสอบ

Untitled Document 1.อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการคำนวณจุดคุ้มทุน
2.ต้นทุนจมคืออะไร
3.ใครมีหน้าที่เบิกจ่ายและเรียกรายงานในระบบ

แบมแบม



รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : ข้อสอบ

2.ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

จิ๊บโส

8 ก.พ. 2555 16:11:43

#1
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : ข้อสอบ

ใช่ๆ คุณแบมแบม ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้จริงๆด้วย เราคิดว่าเราอ่านข้อสอบผิดซะอีก เพราะใครๆก็บอกว่า ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ว่าเราอ่านตั้งหลายครั้งมันก็เป็นต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้นะ

421

9 ก.พ. 2555 08:29:35

#2
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : ข้อสอบ

การบัญชีต้นทุน

การบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีของกิจการ การบัญชีต้นทุนเป็นการบันทึกการวัดผลและการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับ ต้นทุน แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ
ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ(Job Order Cost System)
เป็นการคิดต้นทุนของงานแต่ละงาน ทำให้ทราบต้นทุนทั้งหมดของงานนั้นๆ จึงมีประโยชน์ในการตั้งราคาขายเป็นสำคัญ
ระบบบัญชีต้นทุนช่วง(Process Cost System)
คิดต้นทุนของงานในแต่ละแผนก หรือเป็นช่วงๆของงาน ดังนั้นจะต้องมีการโอนย้ายต้นทุนระหว่างแผนก ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการควบคุมต้นทุนและการประเมินผลงาน
การจัดแบ่งประเภทต้นทุน
การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามหน้าที่การผลิต
สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ วัตถุทางตรง (Direct Materials) หมายถึง วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสินค้าสำเร็จรูป ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour) หมายถึง แรงงานที่ใช้โดยตรงในการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปและ ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ต้นทุนในการผลิตทั้งหมดยกเว้นวัตถุทางตรงและค่าแรงงาน ทางตรง

การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน
โดยพิจารณาว่าต้นทุนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรมหรือหน่วยผลิตหรือไม่ ซึ่งจะแบ่งเป็น
ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) ต้นทุนชนิดนี้เป็นต้นทุนต่อหน่วยจะมีค่าเท่าเดิม แต่ต้นทุนรวมจะเปลี่ยนแปลงตาม จำนวนการผลิต
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เช่น เงินเดือนผู้จัดการ ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น ซึ่งต้นทุนต่อหน่วยจะเปลี่ยนแปลงไปตาม จำนวนการผลิต ยิ่งผลิตมากต้นทุนต่อหน่วยยิ่งน้อย ในขณะที่ต้นทุนรวมจะคงที่เสมอ
ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi Variable Cost) เป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนผันแปรในอัตราของการเพิ่มที่ไม่คงที่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนผสม (Mixed Cost) และ ต้นทุนขั้น (Step Cost)
การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์ของต้นทุนกับเหตุแห่งต้นทุน โดยพิจารณาที่ความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ แบ่งได้เป็น
ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ใช้ในการก่อให้เกิดกิจกรรมนั้นๆ โดยตรง หรือระบุให้ชัดเจนว่า เป็นของผลิตภัณฑ์นั้น
ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) หมายถึง ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถคิดเข้าโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ หรือกับแผนกนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน เพราะมีการใช้ร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการปันส่วน
การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามงวดเวลาที่ก่อประโยชน์ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์โดยตรง เป็นต้นทุนที่ก่อ ประโยชน์ในอนาคต ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยเรียกชื่อตามสถานะของ ผลิตภัณฑ์ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแต่ยังไม่ขาย เรียกว่า สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่เสร็จ เรียกว่า สินค้าระหว่างผลิตหรืองานระหว่างทำ
ต้นทุนงวดเวลา (Period cost) เป็นต้นทุนที่เกิดประโยชน์ในปัจจุบัน โดยแบ่งย่อยเป็น ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานการแบ่งประเภทต้นทุนเพื่อการควบคุม โดยพิจารณาจากการที่ผู้จัดการหรือหัวหน้าแผนกหรือศูนย์มีอำนาจในการตัดสินใจ ในการเกิดขึ้นของต้นทุนนั้นหรือไม่

ต้นทุนที่ควบคุมได้ (Controllable Cost) เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรง เป็นต้น
ต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable Cost) ต้นทุนที่รับการปันส่วนมาจากแผนกอื่น

การแบ่งประเภทต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ
โดยพิจารณาว่าต้นทุนนั้นมีความเี่กี่ยวข้องกับการตัดสินใจหรือไม่ แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
ต้นทุนที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ (Relevant cost) แบ่งย่อยเป็น
ต้นทุนหลีกเลี่ยงได้ (Avoidable Cost) หมายถึงต้นทุนที่กิจการใช้ในการดำเนินงานตามแบบที่เคยปฏิบัติ อยู่ก่อนและไม่ต้องจ่ายเมื่อยกเลิกกิจกรรมนั้น
ต้นทุนที่แตกต่าง (Differential Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้
ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) หมายถึง การไม่นำทรัพยากรไปใข้ประโยชน์อย่างหนึ่งเพื่อให้ เกิดรายได้ แต่กลับนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน
ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจ (Irrelevant Cost)
ต้นทุนจม (Sunk Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ไม่ว่าการตัดสินใจจะกระทำในปัจจุบันหรืออนาคต
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Unaoidable Cost) หมายความว่าถึงแม้จะยกเลิกกิจกรรมไปแล้ว แต่ต้นทุน ประเภทนี้ยังคงเกิดขึ้นเหมือนเดิม
การจัดแบ่งประเภทต้นุทนตามเวลาที่ต้นุทนปรากฎ
พิจารณาจากว่าต้นทุนนั้นได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ต้นทุนจริง (Actual cost) หรือต้นทุนที่เป็นอดีต (Historical Cost)
ต้นทุนมาตรฐาน (Standard cost) หรือต้นทุนประมาณการ (Budgeted Cost)
การโอนต้นทุนการผลิตไปเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์นั้น ในช่วงที่ผลิตภัณฑ์ยังผลิตไ่ม่เสร็จ ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่กำลังอยูใน กระบวนการผลิตจะโอนไปบัญชีงานระหว่างทำ เมื่อผลิตภัณฑ์สำเร็จจะโอนต้นทุนหน่วยที่ผลิตสำเร็จไปบัญชีต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป และเมื่อมีการขายสิน ค้าต้นทุนของสินค้าส่วนที่ขายจะถูกโอนจากบัญชีสินค้าสำเร็จรูปเขาบัญชีต้นทุนของสินค้าที่ขาย

ปูลม

9 ก.พ. 2555 10:49:43

#3
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : ข้อสอบ

รับ add ด้วยนะค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ

ปา

11 ก.พ. 2555 21:15:45

#4
1


แสดงความคิดเห็น...