นับว่าเป็นระบบการศึกษาที่ได้รับความนิยมมาซักพักใหญ่ๆแล้ว สำหรับการสอบเทียบ GED (General Education Development) ซึ่งถ้าใครสอบผ่านก็จะได้วุฒิเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปเลย นึกภาพง่ายๆเหมือนเป็นการเรียน กศน. บ้านเรา ที่ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มวุฒิเทียบเท่าเหมือนกัน เพียงแต่ GED เป็นระบบการศึกษาของอเมริกา ไม่ใช่ระบบการศึกษาของไทย และมีแนวโน้มว่านักเรียนส่วนใหญ่จะหันมาสอบ GED กันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าบ้านเราจะมีวุฒิ กศน. ที่ดูเหมือนจะเรียนง่ายกว่าก็ตาม
ความจริงแล้วหากเราพูดถึงวุฒิต่างประเทศที่เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 เหมือน กศน. นอกจาก GED แล้ว ยังมีอีกหลายตัวไม่ว่าจะเป็น IGCSE, GCE O-Level, A-Level, International Baccalaureate (IB) และวุฒิ High School จากประเทศอื่นๆ แต่วุฒิที่เหมือนจะได้รับความนิยมอย่างไม่ขาดสายก็ต้องยกให้ GED เลยล่ะค่ะ
GED หรือ General Education Development เกิดจากความร่วมมือของ Pearson และ the American Council on Education (ACE) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชากรในประเทศสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หลักๆจะเน้นเป็นการศึกษาของผู้ใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในประเทศนั้นดีขึ้นนั่นเองค่ะ และก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนหลักสูตรนี้ได้รับความนิยมในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย แต่สำหรับประเทศเรากลับไม่ใช่กลุ่มผู้ใหญ่ที่สอบวุฒินี้กันเนื่องจากข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด กลุ่มที่นิยมสอบจริงๆกลับเป็นเด็กวัยเรียนที่มีเหตุผลต่างๆอันไม่สามารถเรียนในระบบโรงเรียนปกติได้ เช่น อยากเข้ามหาวิทยาลัยเร็วๆ, มีปัญหาสุขภาพ, ต้องเรียนซ้ำชั้นหลังจากกลับมาจากโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน, วุฒิ High school ที่เรียนมาจากต่างประเทศบางประเทศไม่สามารถเทียบวุฒิของประเทศไทยได้ หรือเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ พร้อมทั้งมีเป้าหมายต้องการจะเรียนต่อปริญญาตรี หลักสูตรนานาขาติ ต่อต่างประเทศ หรือมหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มนี้นี่ล่ะค่ะที่หันมาสอบ GED กันเยอะมากๆ หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักใช่ไหมคะว่า GED ที่จริงแล้วมันต้องสอบอะไรบ้างแล้วระบบเขาเป็นอย่างไร อย่ารอช้าค่ะ เรื่องแบบนี้มันต้องขยาย!!!
การสอบ GED ผู้เรียนจะต้องสอบทั้งหมด 5 วิชา ได้แก่ ged math , ged science ,ged reading , ged writing และ ged social ซึ่งเป็น Social ของอเมริกา แต่ละวิชามีคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน คะแนนที่ถือว่าสอบผ่านนั้นจะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน ถือว่าเกณฑ์นี้ไม่โหดเท่าไหร่นะคะ ก็ครึ่งๆเหมือนข้อสอบอื่นๆทั่วไป ปกติแล้วเราจะทราบผลคะแนนได้ทันทีหลังจากทำข้อสอบเสร็จค่ะ เพราะข้อสอบเป็นแบบตัวเลือก (Multiple Choice) ทั้งหมด ระบบก็จะคิดคะแนนให้อัตโนมัติ ยกเว้นวิชา Writing ที่ต้องรอผลสอบประมาณ 3 – 5 วัน เนื่องจากมีส่วนที่ต้องเขียน essay ด้วย ซึ่งต้องให้คณะกรรมการเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนค่ะ โดยคะแนนสอบ Writing ดังกล่าวจะแจ้งในระบบที่เราใช้สมัครสอบนั่นเอง สำหรับสถานที่สอบนั้น ในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ที่ ได้แก่ อาคารชาญอิสระ 2 กรุงเทพฯ , Thabyay Education Foundation อ.แม่สอด จ. ตาก, Phuket Academic Language School จ.ภูเก็ต, Bangkok Business Building อโศก กรุงเทพฯ, Movaci Technology จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้เราสามารถเลือกที่เราสะดวกได้เลย อยู่ใกล้ที่ไหน ก็เลือกสอบที่นั่น ข้อสอบเป็นข้อสอบเดียวกันทั้งหมดค่ะ หากถามว่า GED มีการจัดสอบบ่อยหรือไม่ ตอบได้เลยว่าบ่อยมาก บ่อยที่สุดในบรรดาการสอบทั้งหลายเลยจริงๆ โดยมีสอบทุกวันจันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ บางศูนย์สอบอาจจะมีเปิดสอบวันเสาร์บ้างแล้วแต่ความเหมาะสมค่ะ เพราะฉะนั้นหมดห่วงเรื่องวันสอบได้เลย และหลังจากที่เราสอบผ่านหมดทุกรายวิชาแล้ว เราสามารถทำเรื่องขอวุฒิและทรานสคริปได้เป็นขั้นตอนถัดไปค่ะ ที่เหลือก็รอแค่เพียงให้เอกสารวุฒิและทรานสคริปนั้นส่งมาให้เรา สังเกตได้เลยนะคะว่าระบบไม่ซับซ้อน สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก
จากข้อมูลดังกล่าว หลายๆคนคงจะได้คำตอบกันบ้างแล้วนะคะว่าทำไมวุฒิ GED ถึงได้รับความนิยมจากเด็กไทยค่อนข้างเยอะ เพราะวุฒิ GED สามารถนำไปต่อยอดเรียนในมหาวิทยาลัยได้หลากหลายพอๆกับวุฒิ กศน. บ้านเรา ไม่แน่ว่าจะมีโอกาสมากกว่าด้วยซ้ำเพราะสามารถนำไปยื่นมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ สำหรับในประเทศไทยแม้ส่วนใหญ่จะใช้ได้ในหลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยรัฐบาล หรือมหาวิทยาลัยเอกชนได้ทุกหลักสูตร แต่หากจะเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลในหลักสูตรภาคปกติ ภาคภาษาไทยจริงๆ บางมหาวิทยาลัยก็สามารถทำได้ เพียงแต่อาจจะต้องสอบข้อสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด นอกจากนี้การสอบ GED รวมถึงการเตรียมตัวสอบก็สามารถทำได้อย่างอิสระ พร้อมเมื่อไหร่ก็สมัครสอบ ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องถูกประเมินเวลาเรียน หรือต้องเก็บหน่วยกิต ทั้งนี้จะจบช้าจบเร็วคนที่สอบ
GED ก็จะแตกต่างกัน ใครฟิต ใครขยันเตรียม ขยันสอบก็จบเร็ว ใครไม่รีบมากก็ไปเรื่อยๆ เพราะ GED นั้นมีรอบสอบบ่อยมากๆ ต่างกับ กศน. ที่ต้องมีการลงทะเบียนเรียนตามระยะเวลาให้ครบถ้วน ระบบการเรียนจะค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร และที่สำคัญการสอบ GED เราสามารถสอบใหม่เพื่ออัพคะแนนให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วย หรือถ้าสอบไม่ผ่านในรายวิชาใดก็สามารถสอบแก้ตัวได้อีกวิชาละ 2 ครั้ง (ถ้าสอบตกติดกันครบ 3 ครั้งต่อรายวิชาจะต้องรอ 60 วันจึงจะสมัครสอบใหม่ได้อีกครั้ง) การวางแผนการเรียนและการสอบ GED ก็ทำได้ง่าย เนื่องด้วยเราสามารถรู้คะแนนได้เลย เราจึงสามารถจัดการเวลาสำหรับการสอบวิชาถัดไปหรือการสอบแก้ตัวรายวิชาเดิมได้ไม่ยาก ต่างกับการเรียน กศน. บ้านเราที่ต้องมาดำเนินเรื่องในเวลาราชการเท่านั้น และนี่เองจึงอาจจะทำให้น้องๆนักเรียนเทใจมาสอบ GED กันค่อนข้างเยอะ เพราะรู้สึกว่าการสอบ GED นั้นมีระบบที่ง่ายกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า แม้จะมีความยากตรงที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่บ้าง แต่นั่นก็ไม่น่าจะใช่ปัญหาใหญ่โตเกินความสามารถของเด็กไทยเรา เนื่องจากทุกวันนี้มีสถาบันกวดวิชา GED ต่างๆ เช่น สถาบันกวดวิชา
จุฬาติวเตอร์ (
chulatutor ) คอยเป็นตัวช่วยให้น้องๆสามารถผ่านได้ง่ายขึ้นอยู่แล้ว สำหรับน้องๆ คนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาเรื่องระบบสอบเทียบสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.chulatutor.com/ged/